รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
29 พฤศจิกายน 2567
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรับการส่งมอบยานยนต์พลังงานสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อม รถยนต์ไฟฟ้า Honda e: N1 เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 ณ บริเวณเสาธง หอประชุมจุฬาฯ โดยมี ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ และ รศ.ดร.มาโนช โลหเตปานนท์ รองอธิการบดี และผู้บริหารมหาวิทยาลัย พร้อมด้วย Mr. Hideo Kawasaka, President and CEO Honda Thailand บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด Mr. Shun Kuroda, Director and Officer in charge of Sales & Services และคุณพิชิต จันทรเสรีกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท กรุงไทยคาร์เร้นท์ แอนด์ลีส จำกัด (มหาชน) เข้าร่วมงาน
ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ เปิดเผยว่า จุฬาฯ ไม่ได้เป็นมหาวิทยาลัยที่ให้ความรู้เท่านั้น แต่เป็นสถาบันที่เป็นต้นแบบทางการศึกษา รวมถึงการจัดการด้านพลังงานและความยั่งยืน จุฬาฯ เลือกใช้รถยนต์ที่แสดงถึงนวัตกรรมในการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ และลดการใช้พลังงานให้ได้มากที่สุด เป็นต้นแบบในการใช้รถอย่างชาญฉลาด โดยมีการประหยัดพลังงานและส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมให้น้อยที่สุด การรับการส่งมอบยานยนต์พลังงานสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อม รถยนต์ไฟฟ้า Honda e: N1 ในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าจุฬาฯ ลงมือทำจริง สอดคล้องยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยด้านสิ่งแวดล้อม สะท้อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 12 รับรองแผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน ทำให้สิ่งแวดล้อมได้ผลกระทบน้อยที่สุด
รศ.ดร.มาโนช โลหเตปานนท์ รองอธิการบดีจุฬาฯ กล่าวว่า จุฬาฯ รับมอบรถยนต์ไฟฟ้า Honda e: N1 จำนวน 39 คัน เป็นรถยนต์แบบใช้ไฟฟ้า 100% สำหรับเป็นรถส่วนกลางเพื่อใช้ในกิจการของมหาวิทยาลัย สามารถรองรับการใช้งานได้อย่างครอบคลุม ซึ่งเป็นการทดลองใช้ในมหาวิทยาลัย หลังจากนั้นจะสำรวจความพึงพอใจและผลของการใช้งาน เพื่อให้ทางฮอนด้าไปพัฒนาต่อไป จุฬาฯ มีเป้าหมายในเรื่องการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีการดำเนินงานในเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง
“การใช้รถยนต์ไฟฟ้าเป็นหนึ่งในตัวจักรสำคัญในการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ รถไฟฟ้าไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับ จุฬาฯ เพราะจุฬาฯ มีการใช้รถไฟฟ้ามาอย่างต่อเนื่อง เช่นรถ Chula Pop Bus ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า 100% ซึ่งมีส่วนช่วยเปลี่ยนพฤติกรรมของนิสิตในมหาวิทยาลัย ซึ่งจะเติบโตออกไปปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอยู่เสมอ” รศ.ดร.มาโนช กล่าว
เป้าหมายของจุฬาฯ ด้านการจัดการพลังงานและความยั่งยืน
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีวิสัยทัศน์และพันธกิจที่จะเป็นมหาวิทยาลัยด้านความยั่งยืนระดับโลก โดยให้ความสำคัญกับการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เพื่อสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน ตามเจตนารมณ์ที่ต้องการลดก๊าซเรือนกระจกในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งเป้าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Greenhouse Gas Emissions) ภายในปี 2593
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เริ่มเก็บข้อมูลการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดภายในมหาวิทยาลัย ในปี 2558 พบว่ามีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยรวมเท่ากับ 54,955.89 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และเมื่อคำนวณความเข้มของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยเทียบกับจำนวนนิสิตและบุคลากรทั้งหมดภายในมหาวิทยาลัยในปีนั้น มีค่าเท่ากับ 1.21 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อคน จากรายงานดังกล่าว จุฬาฯ ได้จัดทำแผนและออกนโยบายมาตรการต่าง ๆ เพื่อลดก๊าซเรือนกระจกอย่างจริงจังและเข้มข้นมากขึ้น หนึ่งในนโยบายที่นำมาใช้คือ Lifestyle Transition โดยรณรงค์ให้นิสิตและบุคลากรใช้ระบบขนส่งสาธารณะ เช่น รถบัสไฟฟ้า จักรยาน และรถตุ๊กๆ ไฟฟ้า ตลอดจนพัฒนาระบบเดินทางที่หลากหลาย ลดรอยต่อกับระบบขนส่งมวลชนหลัก และการเดินทางแบบแบ่งปันกันใช้ (Sharing Vehicles) โดยยานพาหนะทั้งหมดใช้พลังงานสะอาด การที่จุฬาฯ เปลี่ยนจากการใช้รถยนต์พลังงานเชื้อเพลิงมาสู่การใช้รถยนต์ไฟฟ้าที่เน้นการใช้พลังงานสะอาด เพื่อลดการเกิดคาร์บอนฟุตพริ้นท์และลดมลพิษจากฝุ่นที่เกิดจากควันรถยนต์ภายในมหาวิทยาลัย
นิเทศศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนาวิชาการและงานเปิดตัว “เรื่องของเรา” ภาพยนตร์จากงานวิจัย สู่สันติภาพชายแดนใต้
6 พฤษภาคม 2568 เวลา 16.30 - 19.30 น. โรงภาพยนตร์ลิโด้
จุฬาฯ ร่วมมือ UOB เปิดตัวระบบ Virtual Account สนับสนุนงานวิจัย
จุฬาฯ เปิดเวทีปาฐกถาเกียรติยศ “เวฬา ณ จุฬาลงกรณ์ฯ” ครั้งที่ 3 รับฟังวิสัยทัศน์ “การพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อฝ่าวิกฤติภัยพิบัติทางธรรมชาติ”
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ เชิญร่วมฟังเสวนา “ธุรกิจไทยหลังนโยบาย Trump”
2 พฤษภาคม 2568 เวลา 15.00 - 16.30 น. CBS Cinema อาคารไชยยศสมบัติ 1 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
อบรมเชิงปฏิบัติการ “Work Fit By Chula ทำงานก็ต้องฟิต บุคลิกและสุขภาพต้องดี”
งานแถลงข่าว “จุฬาฯ-การบินไทย: ความรู้คู่ฟ้า Chula-TG: Be the Star in the Sky of Knowledge”
1 พ.ค. 68 เวลา 14.00 -16.00 น.
เรือนจุฬานฤมิต
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้