รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
30 มกราคม 2568
ข่าวเด่น, ความเป็นนานาชาติ
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับ Uzbekistan State Institute of Arts and Culture เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2568 โดยมี Mr. Fakhriddin Sultanov, Consul-General of the Republic of Uzbekistan เป็นประธานในพิธีลงนามความร่วมมือระหว่าง ศ.ดร.ขำคม พรประสิทธิ์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กับ Mr. Shohbek Ergashev, First Vice-Rector for Youth Affairs and Spiritual and Educational Affairs, Uzbekistan State Institute of Arts and Culture ประสานงานโดย รศ.ดร.พรประพิตร์ เผ่าสวัสดิ์ รองคณบดีฝ่ายวิรัชกิจ และ ผศ.ดร.ประพล คำจิ่ม ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิรัชกิจ บันทึกภาพความประทับใจโดย อ.ดร.พรรัก เชาวนโยธิน ภาควิชาทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และ ผศ.ดร.อรรถพล พงศ์เลาหพันธุ์ ความร่วมมือทั้งสองสถาบันจะนำไปสู่ความสัมพันธ์ที่แนบแน่น และการทำวิจัยของนิสิตและคณาจารย์ต่อไป
การแสดงจัดที่ ณ หอแสดงดนตรี อาคารศิลปวัฒนธรรม จุฬาฯ ผศ.ดร.อรรถพนธ์ พงษ์เลาหพันธุ์ หัวหน้าภาควิชานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เป็นผู้อำนวยการจัดนิทรรศการ มีการจัดบรรเลงดนตรีและการแสดงนาฏยศิลป์ของทั้งสองสถาบัน โดยศิลปินจากสาธารณรัฐอุซเบกิสถาน ประกอบด้วยอาจารย์ที่ดำรงตำแหน่งศิลปินแห่งชาติ คณาจารย์ และนักศึกษา 12 คนร่วมเดินทางมาจัดแสดง ในส่วนของคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ โดยภาควิชาดุริยางคศิลป์และภาควิชานาฏยศิลป์ นำโดย รศ.ดร.ภัทระ คมขำ หัวหน้าภาควิชาดุริยางคศิลป์ ผศ.ดร.สุพรรณี บุญเพ็ง หัวหน้าภาควิชานาฏยศิลป์ กำกับเวที แสงและเสียงโดย ผศ.ดร.สิริธร ศรีชลาคม รองคณบดีฝ่ายวิชาการ ร่วมจัดการแสดง 4 ภาคในช่วงท้ายของการแสดง
การแสดงในครั้งนี้นับเป็นก้าวแรกในการเริ่มต้นความสัมพันธ์ทางด้านศิลปวัฒนธรรมของทั้งสองสถาบัน มีผู้แทนจากสถานเอกอัครราชทูตอิตาลี สถานเอกอัครราชทูตคาซัคสถาน สถานเอกอัครราชทูตรัสเซีย สถานเอกอัครราชทูตบังกลาเทศ ผู้แทนจาก Russian Dance Academy ผู้แทนสมาคมสถาบันอุดมศึกษาแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และกงสุลกิตติมศักดิ์สาธารณรัฐอุซเบกิสถาน พร้อมด้วยผู้เข้าชมทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติประมาณ 200 คน
จุฬาฯ ผนึกความร่วมมือการบินไทย “จุฬาฯ – การบินไทย: ความรู้คู่ฟ้า Chula-TG: Be the Star in the Sky of Knowledge”
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนาวิชาการ “ผลกระทบของแผ่นดินไหวต่อเขื่อนภูมิพล (ยันฮี)” แลกเปลี่ยนองค์ความรู้เพื่อการป้องกันและรับมือภัยพิบัติในอนาคต
6 พ.ค. 2568 เวลา 10.00 – 12.00 น.
ห้องประชุมชั้น 2 ตึก 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
นิเทศศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนาวิชาการและงานเปิดตัว “เรื่องของเรา” ภาพยนตร์จากงานวิจัย สู่สันติภาพชายแดนใต้
6 พฤษภาคม 2568 เวลา 16.30 - 19.30 น. โรงภาพยนตร์ลิโด้
จุฬาฯ ร่วมมือ UOB เปิดตัวระบบ Virtual Account สนับสนุนงานวิจัย
จุฬาฯ เปิดเวทีปาฐกถาเกียรติยศ “เวฬา ณ จุฬาลงกรณ์ฯ” ครั้งที่ 3 รับฟังวิสัยทัศน์ “การพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อฝ่าวิกฤติภัยพิบัติทางธรรมชาติ”
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ เชิญร่วมฟังเสวนา “ธุรกิจไทยหลังนโยบาย Trump”
2 พฤษภาคม 2568 เวลา 15.00 - 16.30 น. CBS Cinema อาคารไชยยศสมบัติ 1 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้