รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
4 กุมภาพันธ์ 2568
งานวิจัยและนวัตกรรม, ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ, ความเป็นนานาชาติ
ทีมคณะสำรวจไทย ภายใต้โครงการวิจัยขั้วโลกตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ของ มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เดินทางถึงสถานีวิจัยเกรทวอลล์ (Great Wall Station) ที่แอนตาร์กติก และเริ่มเก็บตัวอย่างดินตะกอนเพื่อขยายผลศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อระบบนิเวศแอนตาร์กติก พบว่าปีนี้น้ำแข็งละลายมากกว่าปีก่อนๆ อย่างน่าตกใจ
การสำรวจในปีนี้ ทางโครงการฯ ได้ส่งนักวิจัย 3 คน จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยบูรพา และช่างภาพ 1 คน เพื่อไปร่วมสำรวจกับคณะสำรวจทวีปแอนตาร์กติกแห่งจีน คณะที่ 41 (CHINARE 41) ของสถาบันวิจัยขั้วโลกแห่งจีน (PRIC) โดยเดินทางถึงแอนตาร์กติกเมื่อสิ้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา และเริ่มทำการเก็บตัวอย่างทันที เพื่อศึกษาผลกระทบของขยะทะเล ไมโครพลาสติก และการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มีต่อสัตว์ทะเล และระบบนิเวศทางทะเลโดยช่วงสองวันที่ผ่านมาได้ทำการเก็บตัวอย่างดิน และมูลของแมวน้ำและเพนกวินรวมทั้งวัดมลพิษทางอากาศของที่บริเวณแอนตาร์ติกด้วย
จากการสำรวจเบื้องต้น พบว่าน้ำแข็งในหลายๆ ที่ของบริเวณแอนตาร์ติกได้ละลายและหายไป เมื่อเทียบกับ 11 ปีที่แล้วที่คณะไทยได้เคยมาทำการสำรวจ ส่วนมลพิษทางอากาศค่าที่ตรวจวัดได้พบว่า ที่แอนตาร์ติกอากาศยังบริสุทธิ์มากเมื่อเทียบกับอากาศบริเวณส่วนอื่นๆ ของโลก
ด้าน ศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์ อาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ และรองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ และศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า การเดินทางมาครั้งนี้เป็นไปตามความคาดหมายที่คิดว่าโลกร้อนน่าจะมีพบกระทบอย่างมากต่อน้ำแข็งและหิมะที่นี้ แต่ก็ต้องตกใจเช่นกัน ที่เห็นน้ำแข็งและหิมะหายไปในหลายๆ พื้นที่ นอกจากนี้ช่วงเวลาที่อยู่ที่นี่ ถึงแม้จะมีหิมะตก แต่เมื่อหิมะเหล่านั้นตกถึงพื้นก็จะละลายกลายเป็นน้ำ นั้นแสดงให้เห็นว่าอุณหภูมิบริเวณแอนตาร์กติกสูงขึ้นกว่าปกติ ทำให้หิมะที่ตกมาละลายกลายเป็นน้ำทันที ศ.ดร.สุชนา ยังกล่าวว่า “หลังจากนี้ นักวิจัยก็จะเริ่มทำการเก็บตัวอย่างมูลของเพนกวิน และแมวน้ำ เพื่อมาวัดปริมาณของมลพิษต่างๆ รวมทั้งจุลินทรีย์ในมูล เพื่อดูว่าสัตว์เหล่านั้นได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนหรือไม่”
การเดินทางเข้าร่วมการวิจัยกับคณะสำรวจทวีปแอนตาร์กติกแห่งจีนครั้งนี้ นอกจากจะมี ศ.ดร.สุชนา เป็นหัวหน้าทีมแล้ว ยังมี ผศ.ดร.สุจารี บุรีกุล จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายนิพัธ ปิ่นประดับ จากมหาวิทยาลัยบูรพา และนายภคินัย ยิ้มเจริญ ช่างภาพจากสยามโสภา ได้เดินทางมากับทีมไทยด้วย การมาครั้งนี้นอกจากจะทำการวิจัยแล้ว จะมีการเก็บภาพและวิดิโอ เพื่อใช้ในการจัดทำหนังสือและสารคดีเกี่ยวกับการศึกษาวิจัยขั้วโลกของไทย เนื่องในโอกาสปี 2568 นี้ เป็นปีมหามงคล สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระชนมายุ 70 พรรษา พร้อมทั้งเป็นการครบรอบ 50 ปี ของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน อีกด้วย
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ แถลงข่าวความสำเร็จ “วัคซีนไอกรน (รุ่นใหม่)” นวัตกรรมเพื่อคนไทยและตลาดโลก
นักกีฬาบุคลากรจุฬาฯ ร่วมการแข่งขัน “ตุมปังเกมส์ 2025” ร่วมพิธีสักการะพระบรมสาทิสลักษณ์รัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6
งานแถลงข่าว “จุฬาฯ-การบินไทย: ความรู้คู่ฟ้า Chula-TG: Be the Star in the Sky of Knowledge”
1 พ.ค. 65 เวลา 14.00 16.00 น.
เรือนจุฬานฤมิต
ศูนย์หนังสือ จุฬาฯ จัดเสวนา “SPEED RUN 2025 : จาก 0 สู่ 100 ล้าน โตเร็วกว่าใครในโลกออนไลน์”
2 พ.ค. 68 เวลา 15.30 -17.00 น.
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ สยามสแควร์
เสวนา “eDNA กับความยั่งยืนของทรัพยากรทางน้ำของประเทศไทย” ภายใต้วิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์บูรณาการ 9 สถาบันวิจัยหลักแห่งจุฬาฯ
เชิญร่วมการสัมมนาเรื่อง “ฐานข้อมูลด้านแรงงาน: ที่มีอยู่ การนำไปใช้ และแนวทางต่อไป”
2 พ.ค. 68
Zoom Meeting
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้