รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
10 กุมภาพันธ์ 2568
ข่าวเด่น
ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย นายกสภาจุฬาฯ ได้นำเสนอ 10 ทิศทางอนาคตของไทย ในงาน Chula Thailand Presidents Summit 2025 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2568 ณ หอประชุมจุฬาฯ โดยมีรายละเอียดดังนี้:
1. วางตำแหน่งยุทธศาสตร์และกำหนดกลยุทธ์ที่ชัดเจน
• การกำหนดบทบาทของไทยในระดับโลกและการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาประเทศ
2. เตรียมพร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลง
• ครอบคลุมเทคโนโลยี ประชากรศาสตร์ โรคระบาด และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ไทยสามารถปรับตัวต่อความท้าทายใหม่ ๆ
3. กระตุ้นความยั่งยืน
• ส่งเสริมแนวทางพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในระยะยาว
4. เน้นท่องเที่ยวครบวงจรเป็นกลไกหลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
• ใช้ศักยภาพการท่องเที่ยวของไทยเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างรายได้และพัฒนาเศรษฐกิจ
5. เร่งสร้างความมั่นคงทางอาหารและสุขภาพ
• ส่งเสริมความปลอดภัยทางอาหาร การพึ่งพาตนเอง และพัฒนาระบบสาธารณสุข
6. เสริมความมั่นคงด้านพลังงาน
• พัฒนาแหล่งพลังงานที่ยั่งยืนและลดการพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศ
7. ยกระดับการศึกษาเพื่อเตรียมคนสู่อนาคต
• ปรับปรุงระบบการศึกษาให้ตอบโจทย์ทักษะใหม่ ๆ เพื่อให้คนไทยแข่งขันในเวทีโลกได้
8. ปฏิรูประเบียบ กฎหมาย
• ปรับโครงสร้างกฎระเบียบให้เอื้อต่อการพัฒนาและลดอุปสรรคที่เป็นภาระต่อประชาชนและธุรกิจ
9. ยกเครื่องระบบราชการและปฏิรูปกระทรวง ทบวง กรม
• เพิ่มประสิทธิภาพภาครัฐ ลดความซ้ำซ้อนและเพิ่มความโปร่งใส
10. ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อความสามารถในการแข่งขัน
• สนับสนุนงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อให้ไทยเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีและเศรษฐกิจ
จุฬาฯ จัดประชุมวิชาการนานาชาติ “เสว่ยหลง 2 และอนาคต” เสริมความร่วมมือไทย–จีน ด้านการวิจัยขั้วโลกและการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
จุฬาฯ ต้อนรับผู้บริหาร Durham University สหราชอาณาจักร หารือความร่วมมือทางวิชาการ
แถลงข่าวเปิดตัวโครงการอบรมเฉพาะทางระยะสั้น “World Class Destination Development”
จุฬาฯ ร่วมกับสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ จัดโครงการพัฒนาหลักสูตรด้านการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ
สังคมไทย ‘ตายมากกว่าเกิด’: สิ่งนี้เป็นโอกาสหรือวิกฤตต่อความยั่งยืน
ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาฯ มุ่งขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ Impactful Growth ในพื้นที่ จ.สระบุรี
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้