รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
6 เมษายน 2568
ข่าวเด่น
เครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิชาชีพ สายปฏิบัติการ วิชาชีพประชาสัมพันธ์ จุฬาฯ จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “กลยุทธ์การวางแผนประชาสัมพันธ์สู่ความสำเร็จในงาน PR ยุคใหม่” เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2568 ณ ห้อง 701 อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (อาคารจามจุรี 10) โดยคุณสราวุธ บูรพาพัธ ที่ปรึกษาด้านการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ บริษัท มาร์เก็ต-คอมส์ จำกัด เป็นวิทยากร เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องหลักการวางแผนงานเพื่อการประชาสัมพันธ์ตอบสนองทิศทางการสื่อสารในยุค AI และภูมิทัศน์สื่อในปัจจุบันซึ่งเปลี่ยนแปลงไป ตลอดจนหลักการสื่อสารประชาสัมพันธ์ในภาวะวิกฤต โดยมีคุณธาริณี ไชยประพาฬ ผู้อำนวยการศูนย์สื่อสารองค์กร จุฬาฯ ประธานเครือข่ายฯ วิชาชีพประชาสัมพันธ์ เป็นผู้กล่าวเปิดการอบรม มีกรรมการเครือข่ายฯ วิชาชีพประชาสัมพันธ์และผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องจากคณะและหน่วยงานต่าง ๆ เข้าร่วมโครงการอบรมจำนวน 55 คน
คุณสราวุธ บูรพาพัธ ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับโลกการสื่อสารยุคใหม่ บทบาทของนักประชาสัมพันธ์ในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป นักประชาสัมพันธ์ไม่ได้ทำหน้าที่ “แจ้งข่าว” เพียงอย่างเดียว แต่เป็น “ผู้จัดการความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับสังคมในทุกมิติ” เป็นผู้ประสานประโยชน์ระหว่างคณะ หน่วยงาน นิสิต บุคลากร และสาธารณชน โดยทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนภาพลักษณ์ของสถาบันทั้งในระดับชาติและนานาชาติ การจัดการสื่อสารภายในองค์กร และการสื่อสารเพื่อสนับสนุนงานวิจัย งานบริการวิชาการและกิจกรรมนิสิต ความคาดหวังขององค์กรและผู้รับสารในวันนี้ไม่ใช่เพียงแค่ข้อมูล แต่ต้องการความโปร่งใส เข้าใจง่าย และมีคุณประโยชน์ นักประชาสัมพันธ์ได้รับการคาดหวังจากผู้บริหารในเรื่องการสร้างภาพลักษณ์ที่น่าเชื่อถือขององค์กร การสื่อสารเชิงรุกในระดับมหาวิทยาลัย คณะ และงานวิจัย การป้องกันและการจัดการข่าวลบหรือความเข้าใจผิดในสังคม ในขณะที่ประชาคมจุฬาฯ นิสิตและสาธารณชนมีความคาดหวังในการรับรู้ข้อมูลที่รวดเร็วและน่าเชื่อถือ โดยชื่นชอบ Content ที่สั้น กระชับ ผ่าน Platform ทาง Facebook, Instagram, TikTok, เว็บไซต์ และ LINE
คุณสราวุธให้ข้อมูลว่า 78% ของคนรุ่นใหม่ไม่เชื่อข้อมูลที่ไม่มีแหล่งที่มา ความเร็วในการตอบโต้และการมีปฏิสัมพันธ์คือปัจจัยที่ทำให้เกิดความเชื่อมั่นในองค์กร ทั้งความไวในการสื่อสาร การสื่อสารอย่างต่อเนื่องและไม่หายไปในภาวะวิกฤต นักประชาสัมพันธ์ยุคใหม่ต้องปรับตัวให้ทันในยุค AI เช่น การใช้ ChatGPT และเครื่องมือ AI อื่น ๆ ในการทำงานประชาสัมพันธ์ โดย AI เป็น “ผู้ช่วย” ไม่ใช่ “ผู้แทน” เนื่องจากงานประชาสัมพันธ์ยังต้องใช้ความเข้าใจในบริบท มนุษยสัมพันธ์และวิจารณญาณ การใช้ AI อย่างมีวิจารณญาณเป็นหัวใจสำคัญของผู้ปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์
นอกจากนี้ คุณสราวุธยังได้แนะนำเทคนิคในการทำแผนประชาสัมพันธ์ระยะสั้น แผนประชาสัมพันธ์ที่ดีต้องมีเป้าหมาย ทิศทาง และผลลัพธ์ที่วัดได้ องค์ประกอบแผนประชาสัมพันธ์ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ในการประชาสัมพันธ์ ใครคือกลุ่มเป้าหมายหลัก ข้อความหลัก (Key Message) ที่ต้องการสื่อ ช่องทางการประชาสัมพันธ์ที่เหมาะสม เนื้อหาที่นำเสนอ และวิธีวัดผลสำเร็จของแผนประชาสัมพันธ์ “แผนประชาสัมพันธ์ที่ดีไม่จำเป็นต้องใหญ่โต ขอแค่ชัดเจน ตรงกลุ่ม วัดผลได้ในระยะเวลาอันสั้น อย่าเริ่มที่จะโพสต์อะไร ให้เริ่มที่อยากให้คนคิดหรือทำอะไรหลังจากเห็นโพสต์นั้น”
ในด้านการจัดการสื่อสารในภาวะวิกฤต จะต้องวิเคราะห์วิกฤตที่เกิดขึ้นทั้งในส่วนของปัญหาและผลกระทบ ข้อความหลักในการสื่อสารจะต้องเป็นประโยคที่ไม่ทำให้หลงประเด็น สามารถสื่อความในสิ่งที่องค์กรต้องการและกลุ่มเป้าหมายสามารถจดจำได้ เนื้อหาคำแถลงการณ์ ประกอบด้วยการเปิดเผยข้อเท็จจริง ผลการตรวจสอบหรือความคืบหน้า การสร้างความมั่นใจโดยให้ข้อมูลในสิ่งที่องค์กรดำเนินการไปแล้ว การให้ข้อมูลพื้นฐาน และแสดงความเสียใจหรือแสดงความห่วงใย
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ แถลงข่าวความสำเร็จ “วัคซีนไอกรน (รุ่นใหม่)” นวัตกรรมเพื่อคนไทยและตลาดโลก
นักกีฬาบุคลากรจุฬาฯ ร่วมการแข่งขัน “ตุมปังเกมส์ 2025” ร่วมพิธีสักการะพระบรมสาทิสลักษณ์รัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6
งานแถลงข่าว “จุฬาฯ-การบินไทย: ความรู้คู่ฟ้า Chula-TG: Be the Star in the Sky of Knowledge”
1 พ.ค. 65 เวลา 14.00 16.00 น.
เรือนจุฬานฤมิต
ศูนย์หนังสือ จุฬาฯ จัดเสวนา “SPEED RUN 2025 : จาก 0 สู่ 100 ล้าน โตเร็วกว่าใครในโลกออนไลน์”
2 พ.ค. 68 เวลา 15.30 -17.00 น.
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ สยามสแควร์
เสวนา “eDNA กับความยั่งยืนของทรัพยากรทางน้ำของประเทศไทย” ภายใต้วิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์บูรณาการ 9 สถาบันวิจัยหลักแห่งจุฬาฯ
เชิญร่วมการสัมมนาเรื่อง “ฐานข้อมูลด้านแรงงาน: ที่มีอยู่ การนำไปใช้ และแนวทางต่อไป”
2 พ.ค. 68
Zoom Meeting
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้