รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
26 เมษายน 2568
ข่าวเด่น, งานวิจัยและนวัตกรรม, ภาพข่าว
สถาบันวิชาการเพื่อความยั่งยืนทางสุขภาพจิต (TIMS) ภายใต้โครงการพัฒนากลไกวิชาการสนับสนุนการขับเคลื่อนงานด้านสร้างเสริมสุขภาพจิต โดยคณะจิตวิทยา จุฬาฯ จัดประชุมวิชาการเพื่อความยั่งยืนทางสุขภาพจิต เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ นวัตกรรม และเครือข่ายทางสังคม โดยมีผู้รับทุนและภาคีเครือข่ายของโครงการมานำเสนอผลงาน แลกเปลี่ยนมุมมอง ความคิดเห็น ประสบการณ์ในการทำงาน และผลักดันนโยบายสร้างเสริมสุขภาพจิตอย่างยั่งยืน เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2568 ณ โรงแรมปทุมวันปริ๊นเซส
โดยมี ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ และ ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม รองผู้จัดการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ กล่าวเปิดงาน ผศ.ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์ คณบดีคณะจิตวิทยา จุฬาฯ และผู้อำนวยการสถาบันวิชาการเพื่อความยั่งยืนทางสุขภาพจิต (TIMS) กล่าวถึงวิสัยทัศน์และการทำงานของสถาบันวิชาการเพื่อความยั่งยืนทางสุขภาพจิต (TIMS) ภายในงานมีการเสวนาในหัวข้อ “ระบบนิเวศนโยบายส่งเสริมสุขภาวะทางจิต” “กลไกส่งเสริมสุขภาวะทางจิตในองค์กรและสถานศึกษา” และ “แผนดำเนินงานในอนาคตของสถาบันวิชาการเพื่อความยั่งยืนทางสุขภาพจิต (TIMS)”
ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดี จุฬาฯ กล่าวว่า การประชุมวิชาการครั้งนี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง เป็นความร่วมมือในการขับเคลื่อนสถาบันวิชาการเพื่อความยั่งยืนทางสุขภาพจิต ให้เป็นกลไกหลักของประเทศในการส่งเสริมองค์ความรู้ พัฒนานวัตกรรม และนโยบายสาธารณะด้านสุขภาพจิตอย่างยั่งยืน สุขภาพจิตเป็นสิ่งที่มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าด้านอื่น ๆ และในบางมิติอาจมีความซับซ้อนและท้าทายมากยิ่งกว่า การพัฒนาสุขภาพจิตของประชาชนไทยอย่างยั่งยืนจึงเป็นเป้าหมายร่วมที่ต้องอาศัยความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง รวมถึงการบูรณาการองค์ความรู้จากหลายศาสตร์ และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม ความร่วมมือในครั้งนี้นับเป็นนิมิตหมายที่ดีในการวางรากฐานทางวิชาการที่ไม่เพียงแต่เน้นมิติด้านการศึกษา หากยังครอบคลุมถึงการพัฒนาทั้งทางกายและทางใจ เพื่อให้เกิดสังคมที่มีสุขภาวะที่ดีทั้งในระดับปัจเจกและส่วนรวมอย่างแท้จริง
ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม รองผู้จัดการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เผยว่า สสส. เล็งเห็นถึงความสำคัญของประเด็นด้านสุขภาพจิต ซึ่งเป็นปัญหาที่สะท้อนโครงสร้างทางสังคมและสิ่งแวดล้อม การมีสถาบันวิชาการเพื่อความยั่งยืนทางสุขภาพจิตจะเป็นกลไกสำคัญในการผลักดันนโยบายสาธารณะด้านสุขภาพจิตให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการส่งเสริมองค์ความรู้และแนวทางเชิงปฏิบัติ เช่น การปฐมพยาบาลทางใจที่สามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกในวงกว้างได้ ในสถานการณ์ปัจจุบันที่ภาวะซึมเศร้ามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น การบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาควิชาการ ภาคนโยบาย และภาคสังคม จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนสังคมไทยให้มีสุขภาวะทางจิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน
ผศ.ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์ คณบดีคณะจิตวิทยา จุฬาฯ และผู้อำนวยการสถาบันวิชาการเพื่อความยั่งยืนทางสุขภาพจิต (TIMS) กล่าวว่า “ตลอดระยะเวลากว่าสองปีที่ผ่านมา คณะจิตวิทยา จุฬาฯ ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้ดำเนินโครงการพัฒนากลไกวิชาการเพื่อขับเคลื่อนระบบนิเวศทางสุขภาพจิต โดยมีเป้าหมายสำคัญในการดูแลป้องกันปัญหาสุขภาพจิตตั้งแต่ต้นทาง มิใช่เพียงรอรับเมื่อเกิดโรคหรือภาวะวิกฤต สุขภาพจิตที่ดีไม่สามารถสร้างได้จากการบริการรักษาพยาบาลเท่านั้น แต่ต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างและสภาพแวดล้อมรอบตัวของประชาชน ทั้งในครอบครัว โรงเรียน ชุมชน และสถานที่ทำงาน การสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อสุขภาวะจึงเป็นหัวใจของการดำเนินงานที่เราเชื่อมั่น
ผศ.ดร.ณัฐสุดา ได้ยกตัวอย่างโครงการ “ม้านั่งมีหู” (Bench with Ears) ซึ่งเป็นนวัตกรรมชุมชนที่ออกแบบพื้นที่ปลอดภัยทางใจสำหรับการพูดคุย การรับฟัง และการเยียวยาเบื้องต้น โดยมีอาสาสมัครที่ผ่านการฝึกอบรมด้านการฟังอย่างตั้งใจ (active listening) มานั่งประจำในพื้นที่สาธารณะ เช่น ลานชุมชน โรงเรียน หรือวัด เพื่อให้ผู้คนที่มีความเครียด ความกังวล หรือภาวะทางจิตใจเบื้องต้น ได้รับการรับฟังอย่างอ่อนโยน ไม่ตัดสิน เป็นการเปิดพื้นที่สำหรับความเข้าใจซึ่งกันและกันในสังคมอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งจะเริ่มโครงการในเดือนพฤษภาคมนี้
สรุปโครงการเด่นของสถาบันวิชาการเพื่อความยั่งยืนทางสุขภาพจิต (TIMS)
สถาบันวิชาการเพื่อความยั่งยืนทางสุขภาพจิต (Thailand Institute for Mental Health Sustainability: TIMS) เป็นสถาบันวิชาการเชิงยุทธศาสตร์ที่มุ่งเน้นการประสานพลังทางสังคมเพื่อขับเคลื่อนความรู้ นวัตกรรม และนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาวะทางจิตที่ยั่งยืนของสังคมไทย ก่อตั้งขึ้นด้วยความหวังในการกระตุ้นการเปลี่ยนแปลง “ระบบนิเวศสุขภาวะทางจิต” ในสังคมไทย ภายใต้แผนงาน “พัฒนากลไกวิชาการสนับสนุนการขับเคลื่อนงานด้านสร้างเสริมสุขภาพจิต” โดยมีคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหน่วยงานบริหารจัดการ ภายใต้การสนับสนุนจากสํานักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ (สํานัก 2) สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) TIMS มุ่งมั่นในการสร้างสังคมที่มีสุขภาวะทางจิตที่ยั่งยืน ผ่านเป้าหมายสําคัญ 3 ประการ ได้แก่
1.การสนับสนุนการสร้างและการจัดการความรู้เรื่องการสร้างเสริมสุขภาวะทางจิต
2.การผลักดันและขับเคลื่อนนวัตกรรมและนโยบายการสร้างเสริมสุขภาวะทางจิตบนองค์ความรู้และชุดคุณค่าที่หลากหลาย
3.การประสานและเสริมพลังภาคีเครือข่ายการสร้างเสริมสุขภาวะทางจิตในสังคมไทย
ตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา TIMS ทํางานร่วมกับภาคีเครือข่ายจํานวนมาก เพื่อพัฒนาโครงการในลักษณะของงานวิจัย มาตรการทางสังคม และต้นแบบงานสร้างเสริมสุขภาพจิตที่มีชุมชนเป็นฐาน โดยมีโครงการเด่นจํานวน 9 โครงการที่ได้มีการนำเสนอในการประชุมวิชาการครั้งนี้ ดังนี้
1.ม้านั่งมีหู
2.การพัฒนามาตรฐานวิชาชีพนักจิตวิทยาการปรึกษา
3.การอภิบาลระบบสุขภาพจิตในประเทศไทย
4.ระบบนิเวศนโยบายสาธารณะเพื่อความยั่งยืนทางสุขภาพจิต
5.การพัฒนาระบบและเกณฑ์การคัดเลือกสุดยอดองค์กรสร้างเสริมสุขภาวะทางจิต
6.มาตรวัดความยั่งยืนทางสุขภาพจิต
7.พัฒนานักปฐมพยาบาลทางใจเบื้องต้นในกลุ่มคนพิการ
8.การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลและครอบครัวและปัจจัยเพาะบ่มทางจิตวิทยาที่มีต่อทักษะทางสังคมและอารมณ์ สุขภาวะทางปัญญา และปัญหาทางด้านจิตใจในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
9.พัฒนาเครื่องมือส่งเสริมสุขภาพใจชุมชนด้วยหลักจิตวิทยาเชิงบวกผ่านกระบวนการคิดเชิงออกแบบ
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ แถลงข่าวความสำเร็จ “วัคซีนไอกรน (รุ่นใหม่)” นวัตกรรมเพื่อคนไทยและตลาดโลก
นักกีฬาบุคลากรจุฬาฯ ร่วมการแข่งขัน “ตุมปังเกมส์ 2025” ร่วมพิธีสักการะพระบรมสาทิสลักษณ์รัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6
งานแถลงข่าว “จุฬาฯ-การบินไทย: ความรู้คู่ฟ้า Chula-TG: Be the Star in the Sky of Knowledge”
1 พ.ค. 65 เวลา 14.00 16.00 น.
เรือนจุฬานฤมิต
ศูนย์หนังสือ จุฬาฯ จัดเสวนา “SPEED RUN 2025 : จาก 0 สู่ 100 ล้าน โตเร็วกว่าใครในโลกออนไลน์”
2 พ.ค. 68 เวลา 15.30 -17.00 น.
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ สยามสแควร์
เสวนา “eDNA กับความยั่งยืนของทรัพยากรทางน้ำของประเทศไทย” ภายใต้วิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์บูรณาการ 9 สถาบันวิจัยหลักแห่งจุฬาฯ
เชิญร่วมการสัมมนาเรื่อง “ฐานข้อมูลด้านแรงงาน: ที่มีอยู่ การนำไปใช้ และแนวทางต่อไป”
2 พ.ค. 68
Zoom Meeting
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้