รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
29 เมษายน 2568
CU News in Pictures, Featured News
เมื่อที่ 29 เมษายน 2568 ณ ห้องประชุมชั้น 7 สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาฯ ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ เป็นประธานเปิดงานเสวนากลุ่ม 9 สถาบันวิจัยภายใต้วิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์บูรณาการ 9 สถาบันวิจัยหลักแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Visionary strategic integration of 9 research institutions) หัวข้อ “eDNA กับความยั่งยืนของทรัพยากรทางน้ำของประเทศไทย” โดยมี ศ.ดร.วรณพ วิยกาญจน์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาฯ เป็นผู้กล่าวต้อนรับ
การเสวนาครั้งนี้จัดขึ้นโดย 9 สถาบันวิจัยในจุฬาฯ นำโดยสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาฯ เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ ตลอดจนแนวทางการประยุกต์ใช้เทคนิค eDNA และความท้าทายในการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ ทางการแพทย์และสัตวแพทย์ โดยเปิดโอกาสให้นักวิจัย คณาจารย์ และผู้กำหนดนโยบายได้หารือร่วมกันเพื่อพัฒนาการใช้เทคนิค eDNA เพื่อตอบโจทย์ปัญหาของประเทศ
ในงานมีการบรรยายในหัวข้อต่าง ๆ โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิหลากหลายสาขา ได้แก่ เทคนิค eDNA กับงานวิจัย : ความเป็นมาและเทคนิควิธีการ โดย ดร.ศิราวุธ กลิ่นบุหงา ทีมวิจัยอนุพันธุศาสตร์และเทคโนโลยีชีวภาพสัตว์น้ำ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ การประยุกต์ใช้ eDNA เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดย ดร.ปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง eDNA กับการผลักดันเชิงนโยบายเพื่อการรักษาผลประโยชน์ชาติทางทะเล โดย ศ.ดร.เผดิมศักดิ์ จารยะพันธุ์ ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานวิจัยและนวัตกรรมด้านเศรษฐกิจสีน้ำเงิน และการเสวนาโดยคณาจารย์และนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญจากจุฬาฯ
ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวเปิดการสัมมนาโดยกล่าวถึง eDNA ว่าเป็นนวัตกรรมสำคัญที่มีบทบาทในหลายสาขาทางวิทยาศาสตร์ อาทิ นิเวศวิทยา ชีววิทยา สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการอนุรักษ์ทรัพยากรด้านความหลากหลายทางชีวภาพ การป้องกันการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต การเฝ้าระวังในระบบนิเวศ การตรวจสอบการปนเปื้อนในสภาพแวดล้อม eDNA จึงมีความสำคัญต่อการอนุรักษ์และบริหารจัดการทรัพยากรทางน้ำเป็นอย่างยิ่ง การสัมมนาครั้งนี้มีการถ่ายทอดความรู้โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งจะนำมาซึ่งแรงบันดาลใจและการสร้างนโยบายในการพัฒนาให้เรื่องสภาวะแวดล้อมเป็น DNA ของประชาชนคนไทยทุกคน การพัฒนาและรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืนไม่สามารถเกิดขึ้นได้หากไม่ได้เกิดจากความรู้สึก ทัศนคติ และจิตสำนึกที่เป็น DNA ของคนไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญกับการสร้างคุณค่าทางทรัพยากรทางน้ำ การสัมมนาเรื่องนี้เป็นการบูรณาการความรู้ทางวิชาการจากหลากหลายสาขาโดย 9 สถาบันวิจัยหลักแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ร่วมงาน
นักวิจัยจุฬาฯ ร่วมคณะสำรวจ “แอนตาร์กติก” บนเรือตัดน้ำแข็ง “เสว่ยหลง” จากจีน ตามรอยไมโครพลาสติก ถอดรหัสผลกระทบโลกร้อน สู่จิ๊กซอว์ความรู้เพื่อโลก
ผู้บริหารจุฬาฯ ต้อนรับอธิการบดี Tohoku University ประเทศญี่ปุ่น หารือความร่วมมือทางวิชาการ
จุฬาฯ เชิญร่วมงาน President’s Distinguished Speaker ครั้งที่ 4 “From Turbulence to Triumph: การบินไทย จากฟื้นฟูสู่พุ่งทะยาน”
29 พฤษภาคม 2568 เวลา 13.00-16.00 น.
Facebook Live
ผู้แทนจาก Ohio University สหรัฐอเมริกาหารือการขยายความร่วมมือกับจุฬาฯ
สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ ร่วมกับ สสส. เปิดตัวนวัตกรรม “น้องเคยมาเท่าไหร่” และ “ตามสั่ง-ตามส่ง” พร้อมให้ใช้งานแล้วทั่วประเทศ
อันตราย! ระวังอย่าหลงเชื่ออีเมล “ปลอม”
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้