ข่าวสารจุฬาฯ

จุฬาฯ เปิดเวทีปาฐกถาเกียรติยศ “เวฬา ณ จุฬาลงกรณ์ฯ” ครั้งที่ 3 รับฟังวิสัยทัศน์ “การพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อฝ่าวิกฤติภัยพิบัติทางธรรมชาติ”

               หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านการแพทย์และสุขภาพ หรือหลักสูตรเวฬา (VELA) ภายใต้ความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยบัณฑิตวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์ และวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข ร่วมกับกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และบริษัท ดีกรีพลัส จำกัด จัดปาฐกถาเกียรติยศ “เวฬา ณ จุฬาลงกรณ์ฯ” สำหรับผู้เข้าอบรมหลักสูตรเวฬา รุ่นที่ 3 เมื่อวันพุธที่ 30 เมษายน 2568 ณ หอประชุมจุฬาฯ โดยมี ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน นพ.ปองพล วรปาณิ รองอธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงบทบาทและความร่วมมือในการพัฒนาหลักสูตร .ดร.สถิรกร พงศ์พานิช ประธานอำนวยการหลักสูตรเวฬา กล่าวรายงาน โดยได้รับเกียรติจากคุณฐาปน สิริวัฒนภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “การพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อฝ่าวิกฤติภัยพิบัติทางธรรมชาติ” เพื่อถ่ายทอดวิสัยทัศน์ มุมมองแนวความคิดจากบุคคลชั้นนำของประเทศ สร้างความตระหนักรู้สู่สังคมให้มีความเข้าใจและรับทราบถึงวิทยาการล้ำสมัยด้านสุขภาพ และเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการนำวิทยาการความก้าวหน้าด้านต่าง ๆ มาใช้ในประเทศต่อไป

              ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เล็งเห็นถึงความสำคัญในการเปลี่ยนแปลงของความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านสุขภาพและการแพทย์ ปัจจุบันการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) มีความสำคัญอย่างยิ่ง รวมถึงการต่อยอดองค์ความรู้หรือการ Up-skill และ Re-skill ต้องทำในทุกมิติแห่งการเปลี่ยนแปลง หลักสูตรเวฬาเป็นการสร้างทักษะในทุก ๆ ด้าน ผู้เข้าอบรมในหลักสูตรมาจากหลากหลายศาสตร์และหลากหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนซึ่งมาสร้างเสริมประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ประสบการณ์ที่มีค่าของแต่ละท่านจะช่วยเติมเต็มให้หลักสูตรเวฬารุ่นที่ 3 มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

              “หลักสูตรเวฬาเกี่ยวข้องกับ Longevity เป็นหลักสูตรที่จุฬาฯ มีความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง หลักสูตรนี้จะเป็นต้นแบบในการพัฒนาให้เห็นความสำคัญของคุณภาพชีวิต ขอขอบคุณบัณฑิตวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จุฬาฯ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข บริษัทดีกรีพลัส และผู้เข้าอบรมหลักสูตรเวฬา รุ่นที่ 1 และ 2 ขอชื่นชมยินดีที่หลักสูตรเวฬาได้ก้าวสู่หลักสูตรรุ่นที่ 3 และจะมีหลักสูตรในรุ่นต่อไป” อธิการบดีจุฬาฯ กล่าว                        

              นพ.ปองพล วรปาณิ รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างสมบูรณ์ การผลักดันเพื่อการพัฒนาเสริมสร้างศักยภาพบุคลากรด้านสุขภาพให้มีความรู้และทักษะที่ทันสมัยจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง หลักสูตรเวฬา (VELA) เป็นเวทีสำคัญสำหรับผู้บริหารระดับสูงและผู้นำด้านสุขภาพในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ลงมือปฏิบัติจริง และสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ผ่านการอบรมเชิงลึกด้านสุขภาพและกิจกรรมเพื่อสังคม อาทิ หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ในพื้นที่ห่างไกล สะท้อนบทบาทของการเป็นผู้นำที่ขับเคลื่อนสังคมอย่างแท้จริง และนับเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาสุขภาวะและยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนอย่างยั่งยืนอีกด้วย

              ศ.ดร.สถิรกร พงศ์พานิช ประธานอำนวยการหลักสูตรเวฬา กล่าวว่า ประเทศไทยกำลังก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ (Super-Aged Society) ปัจจุบันมีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปเกิน 14% และคาดว่าจะเพิ่มเป็นกว่า 20% ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ในขณะที่ระบบสาธารณสุขและโครงสร้างสังคมยังอยู่ระหว่างการปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว หลักสูตรเวฬา (VELA) จึงได้รับการพัฒนาขึ้นจากความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เพื่อเสริมศักยภาพผู้บริหารด้านสุขภาพในยุคสังคมสูงวัย มุ่งเน้นแนวคิด “แก่ช้า อายุยืน อย่างมีคุณภาพ” โดยเปิดอบรมต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 แล้ว

              นอกจากนี้ภายในงานยังมีการจัดแสดงบูธนวัตกรรมสุขภาพจากจุฬาฯ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมงานได้สัมผัสกับแนวคิดและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ด้านสุขภาพ ตอกย้ำบทบาทของหลักสูตรเวฬาในการบ่มเพาะผู้นำสุขภาพที่มีวิสัยทัศน์ พร้อมขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็น Medical Hub ของโลกในอนาคต

             งานแถลงข่าวเปิดตัวหลักสูตรเวฬา “Vitality Enhancement and Longevity Academy (VELA)” รุ่นที่ 3 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568 ซึ่งได้รับความสนใจอย่างมากจากผู้สมัครและมีผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าอบรมจำนวน 108 คน ซึ่งเป็นผู้บริหารระดับสูง ผู้ประกอบการ หรือบุคลากรในระดับบริหารขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจและบริการด้านสุขภาพของประเทศไทย หลักสูตรเวฬาจะจัดอบรมทุกวันพุธ เป็นระยะเวลา 4 เดือน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม – กันยายน 2568 โดยผู้เข้าอบรมหลักสูตรเวฬาจะได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้และศาสตร์สมัยใหม่เกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านสุขภาพและการแพทย์ จากวิทยากรทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในมิติต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาและขับเคลื่อนประเทศไทยในการเป็น Medical Hub อย่างยั่งยืน

จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด

คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า