รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
2 พฤษภาคม 2568
ข่าวเด่น, ภาพข่าว, หลักสูตรระยะสั้น
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดงานแถลงข่าวเปิดตัวหลักสูตร NEXUS AI หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านปัญญาประดิษฐ์ เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2568 ณ ห้อง CBS Cinema อาคารไชยยศสมบัติ 1 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ และองค์กรพันธมิตรที่มีบทบาทสำคัญทั้งในระดับชาติและระดับโลก 6 พันธมิตร เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านปัญญาประดิษฐ์ให้แก่ผู้บริหารระดับสูง พัฒนาผู้นำในองค์กรต่าง ๆ ให้มีความรู้ความเข้าใจด้าน AI เพิ่มศักยภาพและสร้างเครือข่ายผู้นำยุคใหม่ พร้อมขับเคลื่อนประเทศด้วยปัญญาประดิษฐ์ สู่อนาคตที่ยั่งยืนและแข่งขันได้ โดยมี ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ เป็นผู้กล่าวเปิดงาน และ รศ.ดร.มาโนช โลหเตปานนท์ ประธานอำนวยการหลักสูตร กล่าวรายงาน
องค์กรพันธมิตรเข้าร่วมงานแถลงข่าว ประกอบด้วย
ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวว่า จุฬาฯ ไม่ได้มองว่า AI เป็นเพียงเทคโนโลยีเท่านั้น แต่มองว่า AI คือเครื่องมือที่สามารถยกระดับคุณภาพชีวิต ลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างความยั่งยืนในระยะยาว เราเชื่อว่า AI ที่ดีจะต้องอยู่บนพื้นฐานของ “AI for Good” และต้องสร้างประโยชน์อย่างแท้จริงให้กับสังคมไทย ในครั้งนี้จุฬาฯ ขยายแนวคิดในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงผ่านหลักสูตร NEXUS เพื่อสร้างเครือข่ายผู้นำที่เข้าใจเทคโนโลยี AI อย่างรอบด้าน พร้อมที่จะประยุกต์ใช้ในการบริหารองค์กร การกำหนดนโยบาย และการขับเคลื่อนประเทศสู่อนาคตที่ยั่งยืนและแข่งขันได้ สิ่งที่สำคัญยิ่งไปกว่าการเรียนรู้คือการได้ “เชื่อมต่อ”หลักสูตร NEXUS ไม่ได้เป็นเพียงเวทีอบรม แต่คือการวางรากฐานของ “เครือข่ายผู้นำระดับสูงด้าน AI” ของประเทศไทย เรามุ่งหวังจะสร้าง Network ของผู้นำจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาควิชาการที่จะร่วมกันผลักดันการใช้ AI อย่างมีวิสัยทัศน์ มีธรรมาภิบาล และเป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม ผมเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าหลักสูตร NEXUS จะเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการ “Transition ประเทศไทยเข้าสู่ยุค AI อย่างมีทิศทาง” และทำให้เราก้าวทันประชาคมโลกในยุคเทคโนโลยี
รศ.ดร.มาโนช โลหเตปานนท์ ประธานอำนวยการหลักสูตร กล่าวว่า หลักสูตร NEXUS AI “NEXUS: Network for Executive Xceleration & Unbounded Scale” ออกแบบขึ้นเพื่อตอบโจทย์การพัฒนาผู้นำที่สามารถเข้าใจและใช้ประโยชน์จาก AI อย่างรอบด้าน และมีวิสัยทัศน์ในการขับเคลื่อนองค์กรและประเทศสู่อนาคตอย่างยั่งยืน หลักสูตรนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมวิสัยทัศน์ผู้นำในยุค AI ยกระดับความเข้าใจเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารต่อเทคโนโลยี AI และผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม ขับเคลื่อนองค์กรด้วย AI พัฒนาแนวคิดและเครื่องมือในการทรานส์ฟอร์มองค์กรสู่การเป็น AI-Driven อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างเครือข่ายผู้นำแห่งอนาคต เชื่อมโยงผู้นำจากหลากหลายภาคส่วน สู่การสร้างพลังร่วมเพื่อผลักดันประเทศในยุคปัญญาประดิษฐ์
ความพิเศษของหลักสูตร NEXUS ประกอบด้วย 6 จุดเด่นหลัก
การดำเนินหลักสูตร NEXUS ครั้งนี้เกิดจากความร่วมมือระหว่างจุฬาฯ และและพันธมิตรที่มีบทบาทสำคัญทั้งในระดับชาติและระดับโลก จำนวนทั้งสิ้น 6 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (depa), สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ETDA), ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (NECTEC) บริษัท อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท กูเกิล (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ในส่วนของคณะทำงาน ดำเนินการโดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ศูนย์บริการวิชาการ ศูนย์ปัญญาประดิษฐ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัท ดีกรีพลัส จำกัด
สำหรับผู้ที่สนใจหลักสูตร NEXUS AI สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://lifelong.chula.ac.th/nexus/
เชิญร่วมงาน Chula Dairy Conference and Expo 2025 by AIC Chula Saraburi ที่ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาฯ จ.สระบุรี
18-19 มิ.ย. 68
ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาฯ จ.สระบุรี
นิสิตจุฬาฯ หลักสูตร BAScii แบบอย่างนิสิตที่มีจิตสาธารณะ สนับสนุนภารกิจเพื่อผู้ป่วยต้อกระจกในพื้นที่ห่างไกล
“จุฬาอารี” ขยายเครือข่ายและสร้างพลังช่างชุมชน
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ต้อนรับอธิการบดีมหาวิทยาลัย UCSI สานความร่วมมือทางวิชาการด้านศิลปะและดนตรี
Chula Social Engagement ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จับมือสามย่านมิตรทาวน์ ขยายโอกาสการเรียนรู้ด้านพฤกษศาสตร์ “พรรณไม้ในพระนาม” สู่เด็กและเยาวชน จ.สระบุรี
นายกสภาจุฬาฯ บรรยายพิเศษเรื่องกระบวนทัศน์ต่อเอเชียในอนาคต ในงาน Asia Forward Series ครั้งที่ 3 จัดโดยสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้