รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
15 พฤษภาคม 2568
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ, ความเป็นนานาชาติ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขอแสดงความยินดีเป็นอย่างยิ่งแก่ รศ.ดร.สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล ภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิต คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่ง President of PIMA Network (The PASCAL International Member Association: A global network of adult and lifelong learning educators, activists, and scholars) ซึ่งเป็นเครือข่ายระดับโลกของผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนรู้และการศึกษาของผู้ใหญ่ และนักการศึกษา นักกิจกรรม และนักวิชาการด้านการเรียนรู้ตลอดชีวิต
รศ.ดร.สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล เป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งนี้และเป็นนายกสมาคมที่เป็นผู้หญิงคนที่ 3 ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง 2 ปี (พ.ศ. 2568 – 2570) การประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการมีขึ้นเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2568 ในการประชุมใหญ่ประจำปีของสมาคม (Annual General Meeting: AGM) พร้อมกับการแสดงความยินดีจากสมาชิกทั่วโลก
PIMA Network ก่อตั้งขึ้นจากความร่วมมือกับ PASCAL International Observatory เป็นเครือข่ายระดับโลกที่เปิดกว้างสำหรับนักการศึกษา นักกิจกรรม และนักวิชาการที่มีความหลากหลาย ซึ่งทำงานด้านการเรียนรู้และการศึกษาของผู้ใหญ่และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 300 คน จากทุกทวีปทั่วโลก มีคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยชั้นนำ (Top 100 Universities) อาทิ The University of British Columbia, The University of Glasgow, Seoul National University เป็นต้น และองค์กรชั้นนำด้านการศึกษาผู้ใหญ่และการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต อาทิ International Cooperation of the German Adult Education, UNESCO Institute for Lifelong Learning: UIL, International Council for Adult Education (ICAE), DVV Internation, The Regional Centre for Lifelong Learning (SEAMEO CELLL) เป็นต้น
PIMA มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความยุติธรรมทางสังคม เศรษฐกิจ และนิเวศวิทยา ผ่านการเรียนรู้และการศึกษาของผู้ใหญ่ กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์และการแก้ปัญหาในประเด็นระดับท้องถิ่นและระดับโลก ส่งเสริมความร่วมมือและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันระหว่างสมาชิก เน้นความสำคัญของการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นเครือข่ายที่เปิดกว้าง มีจริยธรรม บริหารจัดการด้วยหลักการประชาธิปไตย และเปิดรับสมาชิกใหม่โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
กิจกรรมต่าง ๆ ที่ดำเนินการโดย PIMA
– การประชุมและสัมมนา: จัดกิจกรรมเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเรียนรู้ร่วมกัน
– การตีพิมพ์วารสาร (PIMA Bulletin): เผยแพร่บทความวิจัย แนวคิด และประสบการณ์
– กลุ่มความสนใจพิเศษ (Special Interest Groups – SIGs): สนับสนุนการรวมกลุ่มเพื่อทำงานในหัวข้อเฉพาะ
– ความร่วมมือกับองค์กรอื่นๆ: ทำงานร่วมกับ PASCAL และองค์กรที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างผลกระทบในวงกว้าง
รศ.ดร.สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล กล่าวว่า ดีใจมากที่ได้รับโอกาสในการทำประโยชน์ให้ศาสตร์และผู้คนในวงกว้าง รวมทั้งการพัฒนาความร่วมมือทางวิชาการและการวิจัยซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อนิสิต คณาจารย์ และประชาชนต่อไป ขอเชิญชวนอาจารย์ นิสิต และผู้สนใจร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่าย PIMA หรือเสนอแนะแนวทางการทำงานร่วมกัน สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ PIMA Network ได้ที่เว็บไซต์: https://www.pimanetwork.com
จุฬาฯ นำวงดนตรีไทยเยาวชนโชว์ศักยภาพที่ญี่ปุ่น กระแสตอบรับแรงจากวัยรุ่นชาวญี่ปุ่น ชื่นชมความงดงามของดนตรีไทย
จุฬาฯ จัดงานเปิดตัวโครงการยุติความรุนแรงและการข่มเหงรังแกในโรงเรียน “International Friends for Peace (IFP)” ครั้งที่ 4
คาร์เทียร์ ประเทศไทย ร่วมกับจุฬาฯ เชิดชูผู้ประกอบการเพื่อสังคม จัดงานฉลองความสำเร็จผู้เข้าอบรมหลักสูตร Cartier Women’s Initiative Entrepreneurial Program
Mini Preschool จุฬาฯ ภาคการศึกษาที่ 2 ปี 2568 สำหรับนักเรียนระดับเตรียมอนุบาล เปิดรับสมัครแล้ว
แนวทางการเสริมศักยภาพพนักงานรุ่นเก๋า ปรับตัวสู่ยุคดิจิทัล รองรับตลาดแรงงาน
จุฬาฯ จัดปฐมนิเทศผู้เข้าอบรมและเปิดการเรียนการสอนหลักสูตรเวฬา รุ่นที่ 3
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้