รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
17 พฤษภาคม 2568
งานวิจัยและนวัตกรรม, ข่าวเด่น
คุณธนกฤษณ์ เสริมสุขสัน ผู้ก่อตั้งโครงการ “SEA Bridge NextGen” นิสิตเก่าและประธานรุ่น Sasin EMBA 2023 สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ก่อตั้ง “SEA Bridge NextGen” ซึ่งเป็นโครงการที่มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะผู้ประกอบการ (Entrepreneurial Skills) และนวัตกรรมให้แก่เยาวชน นักศึกษา และผู้ที่กำลังมองหาโอกาสในการทำงานหรือเริ่มต้นธุรกิจ โดยใช้แนวทาง “Learning by Doing” ผ่านการทำงานจริงกับบริษัทและองค์กรในตลาดอาเซียน โดยใช้ประสบการณ์และเครือข่ายจาก SEA Bridge ผู้เชี่ยวชาญด้านการขยายตลาดและพัฒนานวัตกรรมระดับภูมิภาค (Growth Advisory and Regional Venture Studio) และประสบการณ์ของผู้ก่อตั้งและที่ปรึกษามากประสบการณ์
คุณธนกฤษณ์เล่าว่า โครงการเริ่มต้นขึ้นก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 และกลับมาดำเนินการอย่างเต็มรูปแบบอีกครั้งในปี 2566 ที่ผ่านมามีผู้เข้าร่วมอบรมแล้วกว่า 2,000 คน และมีเยาวชนที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการกว่า 100 คนจาก 46 มหาวิทยาลัย 12 สัญชาติ ผู้เข้าร่วมได้รับการปรับพื้นฐานด้านธุรกิจนวัตกรรมด้วย Online Training by SET and NIA, เรียนรู้หลักสูตรด้านการขยายตลาดจาก SEA Bridge, ทำงานร่วมกับผู้ประกอบการ 12 สัปดาห์ รวมถึง Mentorship Feedback จาก SEA Bridge และพันธมิตรผู้เชี่ยวชาญ (Expertise)
เมื่อปีที่ผ่านมา SEA Bridge NextGen ได้นำเสนอผลงานในเวที “ASEAN Future Talent Forum 2024” ณ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ฯ โดยมีเลขานุการรัฐมนตรีกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และผู้อำนวยการใหญ่สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) ร่วมเป็นเกียรติในงาน
ในปี 2568 โครงการ “SEA Bridge NextGen” ได้รับใบสมัครจากนักศึกษากว่า 580 คน จาก 113 มหาวิทยาลัย 24 ประเทศ และ 20 เชื้อชาติ โดยมีมหาวิทยาลัยในประเทศไทยที่เข้าร่วม ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ทั้งนี้ใน Batch 6 ของปี 2025 มีผู้สมัครมาแล้วกว่า 580 คน ในขณะนี้อยู่ระหว่างการเปิดรับสมัคร Case Sponsor 20 องค์กร เพื่อจับคู่ร่วมงานกับผู้เข้าร่วมโครงการจากการคัดเลือก Top 100 ทั้ง 20 ทีม (ทีมละ 5 คน) โดยมีโจทย์ในการสร้างการเติบโตจากสินค้าใหม่ หรือตลาดใหม่ เพื่อเพิ่มยอดขาย 10%
คุณธนกฤษณ์ กล่าวว่า“หากเราต้องการเห็นอาเซียนก้าวสู่การเป็นภูมิภาคแห่งนวัตกรรม หัวใจหลักของการก้าวไปสู่การเป็นภูมิภาคแห่งนวัตกรรมคือคน เราจำเป็นต้องสร้างผู้นำรุ่นใหม่ที่เข้าใจทั้งเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี ผมหวังว่าโครงการ SEA Bridge NextGen จะเป็นสะพานเชื่อมเยาวชนกับโอกาสระดับภูมิภาคและระดับโลก”
ผลลัพธ์ที่จับต้องได้
ที่ผ่านมาโครงการ SEA Bridge NextGen ได้ให้โอกาสและสะท้อนถึงศักยภาพของเยาวชนในการสร้างผลกระทบเชิงธุรกิจและสังคมอย่างแท้จริง โดยหนึ่งในกรณีศึกษาที่น่าภูมิใจคือบริษัท Punpromotion (ปันโปร) บริษัทมีเดียไลฟ์สไตล์ที่มีผู้ติดตามบนโซเชียลกว่า 17 ล้านคน ซึ่งได้รับข้อเสนอจากทีม NextGen ให้ขยายตลาดไปยังประเทศอินโดนีเซีย และสามารถต่อยอดแนวคิดดังกล่าวสู่การดำเนินงานจริง โดยมีการจ้างงานนักศึกษาชาวอินโดนีเซียจากโครงการ NextGen ให้เป็นพนักงานคนแรกของบริษัทในตลาดใหม่นี้
อีกหนึ่งตัวอย่างสำคัญคือแบรนด์แฟชั่นผ้าไทย Yayee ที่ได้นำกลยุทธ์การขยายตลาดและความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศ ซึ่งพัฒนาโดยทีม NextGen ไปใช้จริงในการเจาะตลาดมาเลเซีย โดยเน้นการสร้างเรื่องราวและจุดยืนของแบรนด์ไทยในเวทีอาเซียน
นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมโครงการจำนวนมากยังได้รับโอกาสเข้าทำงานกับองค์กรชั้นนำระดับประเทศและระดับภูมิภาค เช่น KBank, TTB, CPF, CP Group และบริษัทจัดจำหน่ายชั้นนำอย่าง CAC ขณะเดียวกัน ยังมีศิษย์เก่าของโครงการที่สามารถพัฒนาแนวคิดธุรกิจของตนเอง และได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานส่งเสริมนวัตกรรมและทุนวิจัยของภาครัฐ เช่น TED Fund, สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) และ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) ไม่ต่ำกว่า 5 รายอีกด้วย
พันธมิตรและความร่วมมือในระดับภูมิภาค
ปัจจุบัน SEA Bridge NextGen ได้ลงนามความร่วมมือ (MoU) กับมหาวิทยาลัยชั้นนำ ได้แก่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยฯ วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, University of Economics HCMC (เวียดนาม) Soutsaka Institute of Technology (ลาว) และ Universiti Teknologi Brunei (UTB) รวมถึงกำลังเจรจาร่วมมือกับอีกกว่า 10 สถาบันทั่วอาเซียน เพื่อพัฒนาและต่อยอดหลักสูตร
เป้าหมายในอนาคต
โครงการ SEA Bridge NextGen มีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนในการขยายผลและเพิ่ม impactอย่างเป็นระบบ โดยตั้งเป้าหมายในการพัฒนา Future Talents จำนวน 20,000 คนต่อปี ผ่านเครือข่ายการเรียนรู้ที่ผสานภาคธุรกิจ สถาบันการศึกษา และภาครัฐเข้าด้วยกันอย่างเข้มแข็ง นอกจากนี้ โครงการยังมีแผนในการขยายความร่วมมือเชิงลึกกับพันธมิตรระดับภูมิภาค เพื่อสร้างระบบนิเวศแห่งการเรียนรู้และนวัตกรรมร่วมกัน
อีกหนึ่งเป้าหมายสำคัญคือการ พัฒนา Venture Building Platform เพื่อส่งเสริมให้ศิษย์เก่าและเยาวชนที่ผ่านโครงการสามารถต่อยอดแนวคิดไปสู่การดำเนินธุรกิจจริงได้อย่างยั่งยืน โดยอาศัยการให้คำปรึกษา สนับสนุนทรัพยากร และเชื่อมโยงกับแหล่งทุน ขณะเดียวกัน โครงการยังคงยึดมั่นในแนวทางการใช้ นวัตกรรมและ Social Entrepreneurship เป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาสังคม และร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจ New S-Curve ให้กับประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียนในระยะยาว
สำหรับองค์กรที่สนใจเข้าร่วมโครงการสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์บริษัท https://seabridge.space
การประชุมวิชาการโลกมุสลิม ประจำปี 2568 “BRICS โอกาสและความท้าทายต่อโลกมุสลิมและประเทศไทยภายใต้ระเบียบโลกที่เปลี่ยนไป”
29 พฤษภาคม 2568 เวลา 08.00 - 16.30 น.
การประชุมนักวิชาชีพสื่อ New.Now.Next Media Conference (N3Con) ครั้งที่ 15
29 - 31 พ.ค. 68
คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ
อธิการบดีจุฬาฯ บรรยายพิเศษในการประชุมวิชาการระดับชาติ ปขมท. ประจำปี 2568 บุคลากรจุฬาฯ ได้รับรางวัลบุคลากรสายสนับสนุนผู้มีผลงานดีเด่นแห่งชาติ ปขมท.
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ เปิดรับสมัครนิสิตต่างชาติเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโท สาขาภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ (ภาคในเวลาราชการ)
อบรมเชิงปฏิบัติการ “Work Smart with Notion” เรียนรู้การจัดระเบียบงานและชีวิตอย่างมืออาชีพ
23 พ.ค. 68
อาคารจามจุรี 9
จุฬาฯ จัดประชุมวิชาการนานาชาติ “Xue Long 2 and Beyond” เปิดเวทีความร่วมมือไทย–จีน ขับเคลื่อนงานวิจัยขั้วโลกและการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
22 พฤษภาคม 2568 เวลา 09.00 น.
อาคารจามจุรี 10 จุฬาฯ
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้