ข่าวสารจุฬาฯ

จุฬาฯ ร่วมกับสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ จัดโครงการพัฒนาหลักสูตรด้านการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ

                  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค และศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาฯ ร่วมกับสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) หรือ สพภ. จัด “โครงการพัฒนาหลักสูตรด้านการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ” สำหรับผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ และประชาชนในท้องถิ่น จังหวัดน่าน เมื่อวันที่ 14 – 16 พฤษภาคม 2568 ณ โรงแรมน้ำทองน่าน และสถานีวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีผาสิงห์ (ศูนย์การเรียนรู้และบริการวิชาการเครือข่ายแห่งจุฬาฯ จังหวัดน่าน) โดยมีนายวสันต์ จารุศังข์ ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดน่าน เป็นประธานกล่าวเปิดงาน รศ.ดร.วิเชฏฐ์ คนซื่อ หัวหน้าภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ และที่ปรึกษาศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค กล่าวรายงาน มีผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 200 คน

                  “โครงการพัฒนาหลักสูตรด้านการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ” จัดขึ้นภายใต้เป้าหมายระดับโลกของกรอบงานคุนหมิง–มอนทรีออล (Kunming-Montreal Global Biodiversity Framework: GBF) และสอดคล้องกับแนวทาง SDGs ของสหประชาชาติ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อหยุดยั้งการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพภายในปี ค.ศ. 2030 พร้อมทั้งสร้างความตระหนัก พัฒนาศักยภาพ และเสริมพลังผู้นำท้องถิ่นและชุมชน ให้สามารถบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่อย่างยั่งยืน การจัดอบรมครั้งนี้ได้แบ่งการอบรมตามกลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกลุ่มประชาชนในท้องถิ่น

                  รูปแบบกิจกรรมเน้นการบรรยายเชิงวิชาการ Workshop ระดมความคิด และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผ่านประเด็นสำคัญ อาทิ ความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ การวางยุทธศาสตร์และนโยบายท้องถิ่นเพื่อการอนุรักษ์ กรณีศึกษาจากชุมชนที่ประสบความสำเร็จ เวทีพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเคลื่อนที่ “จังหวัดน่านมีดีอะไร?”  การสำรวจและจัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรชีวภาพในท้องถิ่น ด้วยแอปพลิเคชัน iNatualist

              นอกจากนี้ยังมีการอภิปรายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และถอดบทเรียนจากกรณีศึกษาต่าง ๆ  และวิเคราะห์แนวทางที่สามารถนำไปปรับใช้กับท้องถิ่นเกี่ยวกับการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพที่ประสบความสำเร็จ

                  โครงการนี้นับเป็นเวทีสำคัญในการสร้าง “ผู้นำท้องถิ่นหัวใจสีเขียว” ที่จะช่วยขับเคลื่อนการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในระดับพื้นที่ สอดคล้องกับเป้าหมายของกรอบงาน GBF 2030 และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของโลก

จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด

คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไอคอน PDPA

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า