จุฬาฯ เจ้าภาพการประชุม “The 5th APRU Vice Presidents for Research Meeting”

เมื่อวันที่ 29-30 ตุลาคม 2562 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม “The 5th APRU Vice Presidents for Research Meeting” ในหัวข้อ “Strategic Research Partnership for Better and Sustainable Societies” ณ ห้อง 105 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ โดยมี ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี จุฬาฯ เป็นประธานกล่าวต้อนรับคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยพันธมิตรนานาชาติในเครือข่าย The Association of Pacific Rim Universities (APRU)
ในปี 2562 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดงาน “The 5th APRU Vice Presidents for Research Meeting” ในหัวข้อ “Strategic Research Partnership for Better and Sustainable Societies” มุ่งเน้นสร้างความร่วมมือทางการวิจัยเพื่อสังคมที่ยั่งยืน มีการบรรยายพิเศษโดยวิทยากรในหลากหลายประเด็น ได้แก่ “Sustainable Development Challenges for the 21st Century” โดย Dr. Hongjoo Hahm จาก Deputy Executive Secretary, UN-ESCAP, “Green Chemistry” โดย Dr. John C. Warner จาก President and Chief Technology Officer Warner Babcock Institute for Green Chemistry, LLC, “Chula Innovation Hub & Enterprise” โดย รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย รองอธิการบดีด้านการพัฒนางานใหม่และงานนวัตกรรม จุฬาฯ และ “From University to Universality: Sustaining Development Goals Now!” โดย ศ.กิตติคุณวิทิต มันตาภรณ์ จากคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ
The Association of Pacific Rim Universities หรือเครือข่าย APRU ก่อตั้งขึ้นในปี 1997 โดยความร่วมมือของอธิการบดีมหาวิทยาลัย 4 แห่ง ได้แก่ California Institute of Technology, University of California, Berkeley, University of California, Los Angeles และ University of Southern California โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครือข่ายระหว่างมหาวิทยาลัยวิจัยชั้นนำ องค์กรระหว่างประเทศ ภาครัฐบาลและภาคอุตสาหกรรม นำมาซึ่งการประยุกต์ให้เกิดความก้าวหน้าในทางเศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ และนวัตกรรม ในภูมิภาครอบมหาสมุทรแปซิฟิก ปัจจุบัน APRU มีมหาวิทยาลัยสมาชิก 45 มหาวิทยาลัย จาก 16 ประเทศในภาคพื้นแปซิฟิก

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย