ข่าวสารจุฬาฯ

แพทย์ – วิศวฯ จุฬาฯ ผนึกกำลังพัฒนาหุ่นยนต์ช่วยประเมินผู้ป่วยติดเชื้อ“โคโรนาไวรัส”

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมอบนวัตกรรม Telemedicine Robots 3 ตัวแรก ซึ่งพัฒนาโดย ศ.ดร.วิบูลย์ แสง   วีระพันธุ์ศิริ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและหัวหน้าศูนย์ Regional Center of Robotic Technology แก่ นพ.เขตต์ ศรีประทักษ์ แพทย์เฉพาะทางโรคหัวใจและหลอดเลือด สถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ เพื่อใช้ในการสื่อสารระหว่างผู้ป่วยโคโรนาไวรัสกับบุคลากรทางการแพทย์และล่าม เริ่มใช้ที่สถาบันบำราศนราดูร โรงพยาบาลราชวิถี และโรงพยาบาลทรวงอก โดยมี รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย รองอธิการบดี กำกับดูแลด้านการพัฒนางานใหม่และงานนวัตกรรม ศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์  และนายธนารักษ์ พงษ์เภตรา ผู้แทนสมาคมนิสิตเก่าวิศวฯ จุฬาฯ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ร่วมเป็นสักขีพยาน

“โครงการประเมิน ดูแล ฟื้นฟู บริการผู้สูงอายุ และผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง” เป็นนวัตกรรมทางการแพทย์ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ที่ประสบความสำเร็จในการช่วยเหลือผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีอาการเฉียบพลันร้ายแรงได้ แพทย์สามารถเข้าถึงผู้ป่วยได้โดยผ่านระบบการประชุมทางไกลผ่านระบบ Video Conference ช่วยลดอุปสรรคด้านเวลาและระยะทางในการเดินทางของผู้ป่วยเพื่อมาพบแพทย์ถือได้ว่าเป็นนวัตกรรมที่เหมาะอย่างยิ่งกับการให้บริการผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะเฉียบพลันและต้องการการรักษาในวินาทีชีวิตอย่างเร่งด่วน โดยโครงการ Telemedicine นี้มี ศ.พญ.นิจศรี ชาญณรงค์ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศด้านโรคหลอดเลือดสมองแบบครบวงจร Chula Excellence Center เป็นหัวหน้าโครงการ โดยได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากคณะแพทยศาสตร์และคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย ศ.ดร.วิบูลย์ แสงวีระพันธุ์ศิริ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้าศูนย์ Regional Center of Robotic Technology และทีมวิจัยประกอบด้วย รศ.พญ.กฤษณา พิรเวช หัวหน้าฝ่ายเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ที่เข้ามาช่วยพัฒนาหุ่นยนต์และระบบกายภาพบำบัดสำหรับใช้บริการผู้สูงอายุ และผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและภาคเอกชนคือ บริษัท Haxter Robotics และ บริษัท Softsquare ที่เข้าร่วมสนับสนุนเงินทุน เทคโนโลยี และ การพัฒนาโปรแกรม ซึ่งหุ่นยนต์นี้สามารถประเมินสภาวะของผู้ป่วย ช่วยให้แพทย์และพยาบาลสามารถติดตามอาการของผู้ป่วยทางโทรเวชกรรม รวมถึงการเตือนให้รับประทานยาหรือทำกิจกรรมต่างๆ ได้ อีกทั้งมีวีดิทัศน์เพื่อให้ความรู้และสอนวิธีทำกายภาพบำบัดให้แก่ผู้ป่วยด้วย ซึ่งปัจจุบันมีการวางแผนที่จะนำหุ่นยนต์ไปใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อ Corona virus ตามโรงพยาบาลทั้งกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดอีกด้วย

ทั้งนี้ บริษัท Haxter Robotics เป็นบริษัทที่ก่อตั้งโดยทีมสตาร์ทอัพที่บ่มเพาะจากศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU Innovation Hub) เมื่อปี 2560 โดยมีวัตถุประสงค์ในการผลิตหุ่นยนต์ เพื่อนำงานวิจัยที่พัฒนาขึ้นภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พัฒนาไปสู่ในเชิงพาณิชย์

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า