รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
3 เมษายน 2563
ข่าวเด่น
จากกรณีที่มีข่าวการล้มตายของม้าอย่างเฉียบพลันเป็นจำนวนมากในพื้นที่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา และล่าสุดพบที่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ผลการตรวจเลือดของม้าจากห้องปฏิบัติการ สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติพบว่าเป็นโรคกาฬโรคในม้า ซึ่งเป็นโรคอุบัติใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทยมาก่อน ไม่ได้เกิดจากเชื้อ COVID-19 ซึ่งกำลังระบาดในปัจจุบันแต่อย่างใด
ผศ.น.สพ.ดร.สว่าง เกษแดงสกลวุฒิ ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวถึงสาเหตุของการเกิดกาฬโรคในม้า หรือโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า ว่าเกิดจากเชื้อไวรัส RNA ชนิด ไม่มีเปลือกหุ้มที่มีตัว “ริ้น” เป็นพาหะ ซึ่งจะติดต่อในสัตว์เฉพาะตระกูลม้า ล่อ ม้าลายเท่านั้น สัตว์ที่มีความไวต่อการติดต่อมากที่สุดคือม้า แต่ไม่มีการติดต่อสู่คนได้
“การติดต่อหลักของโรคนี้คือการโดนริ้นที่เป็นแมลงดูดเลือดไปกัดม้าที่ป่วย เพราะม้าที่ป่วยจะมีไวรัสอยู่ในกระแสเลือด ริ้นที่ได้รับเชื้อไวรัสจะไปกัดม้าตัวอื่นทำให้ม้าได้รับเชื้อติดต่อไปทันที ยิ่งถ้ามีอากาศร้อนชื้นมากๆ ตัวริ้นจะเพิ่มจำนวนได้เยอะก็ยิ่งทำให้โรคนี้แพร่ระบาดได้ดียิ่งขึ้น ฉะนั้นการที่จะหยุดการแพร่ระบาดโรคนี้ได้ดีคือต้องกำจัดตัวริ้นให้หมดไป” ผศ.น.สพ.ดร.สว่าง อธิบาย
ส่วนสาเหตุที่มีการระบาดของโรคนี้ในบ้านเรานั้น กำลังสืบสวนหาต้นเหตุกันอยู่ แต่ที่สันนิษฐานได้ในปัจจุบันคืออาจจะมีการนำเข้าม้าลายที่เป็นตัวพาหะ เพราะว่าม้าลายเป็นสัตว์ที่ติดเชื้อแล้วไม่มีอาการแสดงออก และไวรัสจะอยู่ในตัวม้าลายได้นาน เมื่อมีแมลงดูดเลือดมากัดม้าลายแล้วไปกัดม้าตัวอื่นต่อก็มีโอกาสแพร่เชื้อได้อย่างง่ายดาย แต่ก็ยังไม่มีการพิสูจน์ที่แน่ชัดว่ามาจากม้าลายจริงหรือเปล่า
ในส่วนของการตรวจวินิจฉัยโรคนี้ ผศ.น.สพ.ดร.สว่าง อธิบายว่า ทำได้ด้วยการเก็บตัวอย่างเลือดจากม้าที่ป่วยนำมาตรวจด้วยวิธี PCR ซึ่งเป็นวิธีที่เร็วที่สุด หรืออาจมีการเพาะแยกไวรัสจากตัวอย่างเลือดม้าที่ป่วย หรือม้าที่ตาย ด้วยการนำเอาม้าม ต่อมน้ำเหลือง ปอด มาเพาะเชื้อในเซลล์เพาะเลี้ยง แต่อาจต้องใช้เวลานานกว่าจะรู้ผล แต่ถ้าในพื้นที่ที่มีการระบาดแล้วอาจใช้วิธีการตรวจทางซีรั่มวิทยา โดยการตรวจหา โรคติดเชื้อด้วยวิธี ELISA เพื่อตรวจหาแอนติเจนของเชื้อ และแยกชนิดของเชื้อ ทั้งนี้การตรวจด้วยวิธีทางซีรั่มวิทยา จะพบแอนติบอดีต่อเชื้อได้ในวันที่ 8 – 14 หลังจากติดเชื้อ และพบว่าสัตว์จะมีแอนติบอดีในร่างกายได้นาน 1-4 ปี
ผศ.น.สพ.ดร.สว่าง ชี้ว่า “การรักษาโรคนี้ยังไม่มีการรักษาที่เฉพาะ และยังไม่มีวัคซีนที่ให้ผลได้ 100% เนื่องจากไวรัสที่ระบาดอยู่ในเวลานี้มีถึง 9 สายพันธุ์ ซึ่งเรายังไม่รู้ว่าไวรัสในบ้านเราเป็นสายพันธุ์ใด เรื่องการใช้วัคซีนจึงยังมีข้อจำกัด เราต้องหาสายพันธุ์ให้เจอก่อนถึงจะผลิตวัคซีนได้ตรงกับการใช้งาน”
ในส่วนของวิธีการควบคุมและป้องกันโรค ผศ.น.สพ.ดร.สว่าง แนะนำว่าควรให้ม้าอยู่ในคอกที่ใช้มุ้งหรือตาข่ายในการป้องกันแมลงดูดเลือดซึ่งเป็นพาหะของโรค ฉีดพ่นยาฆ่าแมลงบริเวณคอกม้า และที่ ตัวม้า รวมถึงกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์แมลงดังกล่าวในบริเวณใกล้เคียงให้หมดสิ้น กรณีที่มีการระบาดของโรค ต้องมีการควบคุมเคลื่อนย้ายสัตว์เข้า-ออกบริเวณที่เกิดโรค ทำความสะอาดคอก บริเวณที่เลี้ยงสัตว์ และอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
“การช่วยลดหรือป้องกันการแพร่ระบาดของโรคกาฬโรคในม้าได้ต้องอาศัยความร่วมมือกันของ ทุกภาคส่วน โดยเฉพาะผู้ที่เลี้ยงม้าต้องปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อแนะนำของกรมปศุสัตว์อย่างเคร่งครัด ที่สำคัญต้องงดการเคลื่อนย้ายม้า ห้ามนำอาหารหรืออุปกรณ์ที่อยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดออกไปยังพื้นที่อื่น และที่สำคัญต้องช่วยกันกำจัดแมลงที่เป็นพาหะของโรค นอกจากนี้ถ้ามีม้าป่วยต้องรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ให้รีบดำเนินการทันที นี่คือสิ่งที่ทำได้ดีที่สุดในตอนนี้” ผศ.น.สพ.ดร.สว่าง กล่าวทิ้งทาย
จุฬาฯ ผนึกความร่วมมือการบินไทย “จุฬาฯ – การบินไทย: ความรู้คู่ฟ้า Chula-TG: Be the Star in the Sky of Knowledge”
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนาวิชาการ “ผลกระทบของแผ่นดินไหวต่อเขื่อนภูมิพล (ยันฮี)” แลกเปลี่ยนองค์ความรู้เพื่อการป้องกันและรับมือภัยพิบัติในอนาคต
6 พ.ค. 2568 เวลา 10.00 – 12.00 น.
ห้องประชุมชั้น 2 ตึก 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
นิเทศศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนาวิชาการและงานเปิดตัว “เรื่องของเรา” ภาพยนตร์จากงานวิจัย สู่สันติภาพชายแดนใต้
6 พฤษภาคม 2568 เวลา 16.30 - 19.30 น. โรงภาพยนตร์ลิโด้
จุฬาฯ ร่วมมือ UOB เปิดตัวระบบ Virtual Account สนับสนุนงานวิจัย
จุฬาฯ เปิดเวทีปาฐกถาเกียรติยศ “เวฬา ณ จุฬาลงกรณ์ฯ” ครั้งที่ 3 รับฟังวิสัยทัศน์ “การพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อฝ่าวิกฤติภัยพิบัติทางธรรมชาติ”
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ เชิญร่วมฟังเสวนา “ธุรกิจไทยหลังนโยบาย Trump”
2 พฤษภาคม 2568 เวลา 15.00 - 16.30 น. CBS Cinema อาคารไชยยศสมบัติ 1 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้