รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
9 มิถุนายน 2563
ข่าวเด่น
หลังจากที่รัฐบาลประกาศมาตรการผ่อนปรนระยะ 3 จากสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 บรรยากาศร้านค้า ร้านอาหาร ศูนย์การค้าต่างๆ รอบรั้วจุฬาฯ ดูจะกลับมาคึกคักอีกครั้ง แต่ก็ไม่เหมือนเดิม เพราะไม่ว่าผู้ประกอบการ พนักงาน หรือลูกค้า ทุกคนต่างก็ต้องปรับตัวเข้าสู่วิถีความปกติใหม่ในการใช้บริการในพื้นที่สาธารณะ
ที่ผ่านมากว่า 2 เดือน ผู้ประกอบการร้านค้าปรับตัวกันอย่างไรในช่วงล็อกดาวน์ และตอนนี้พวกเขาเตรียมพร้อมอย่างไรบ้างสำหรับการเริ่มต้นใหม่ในยุค New Normal
หิรัตย์ อธิเกียรติ เจ้าของร้านอาหารที่ชั้น 2 ตลาดสามย่าน “ช่วงล็อกดาวน์ ทางร้านได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก เนื่องจากลูกค้าไม่สามารถมานั่งทานที่ร้านได้ ต้องลดจำนวนพนักงานลง เพิ่มช่องทางการขายทางออนไลน์และใช้สื่อโซเชียลมากขึ้น รวมถึงเพิ่มเมนูใหม่เป็นทางเลือกให้ลูกค้า และเปลี่ยนจากการขายอาหารปรุงสุกเป็นอาหารที่ลูกค้าซื้อกลับไปปรุงเองได้
สำหรับตอนนี้ ยุค New Normal ผมว่าที่ตั้งของร้านเป็นสถานที่เปิดโล่ง อากาศถ่ายเทได้ดี เรามีมาตรการคัดกรองผู้เข้ามาใช้บริการตลาดสามย่าน เพิ่มความมั่นใจให้ลูกค้าได้เป็นอย่างดี”
นุชจรี บุรุษ Supervisor ร้านอาหารญี่ปุ่น ศูนย์การค้า I’m Park “ช่วงที่ร้านปิดให้บริการ พนักงานต้องหยุดงานและขาดรายได้ หลังจากเปิดให้บริการอีกครั้ง นอกจากจะดำเนินการตามมาตรการความปลอดภัยของภาครัฐแล้ว ทางร้านมีการทำความสะอาดโต๊ะเก้าอี้ทุกครั้งหลังลูกค้าใช้งานด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค และทำความสะอาดภายในร้านอย่างสม่ำเสมอ การใช้ชีวิตหลังวิกฤตโควิด-19 ทำให้ใส่ใจดูแลสุขภาวะอนามัยของตนเองและคนรอบข้างมากยิ่งขึ้น รวมทั้งเรียนรู้หาอาชีพเสริมเพื่อรองรับการทำงานหากเกิดภาวะวิกฤตที่ไม่คาดคิดขึ้นอีกในอนาคตด้วย”
วิศรุต เจริญชีพ ผู้ช่วยผู้จัดการร้านโทรศัพท์มือถือ ชั้น 4 ศูนย์การค้ามาบุญครอง “ช่วงเวลา 2 เดือนที่ทำงาน Work from Home เวลาออกไปไหนก็จะดูแลตัวเองด้วยการใส่หน้ากากอนามัย หมั่นล้างมือบ่อยๆ พกเจลแอลกอฮอล์ติดตัว จนกลายเป็นความปกติใหม่ในชีวิตที่คุ้นเคยไปแล้ว ด้านการดูแลความปลอดภัยภายในร้าน เราใช้มาตรการที่ห้างสรรพสินค้าและทางร้านทำร่วมกัน มีการวัดอุณหภูมิหน้าร้าน จำกัดคนเข้าร้าน และมีบริการเจลแอลกอฮอล์วางไว้ตามจุดต่างๆ แต่การเว้นระยะห่างภายในร้านทำได้ค่อนข้างยากเพราะลูกค้ามักเข้ามาพร้อมกันเป็นกลุ่ม”
ธนพล ชาติน้ำเพ็ชร เจ้าของร้านอาหารในสวนหลวงสแควร์ “ทางร้านปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ของโควิด-19 ที่ลูกค้าออกจากบ้านน้อยลง โดยเพิ่มบริการส่งอาหารเดลิเวอรี่ไปยังพื้นที่ต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกค้า มีแอปพลิเคชันส่งอาหารพร้อมโปรโมชันส่งฟรี ต่อมาเมื่อเริ่มรับลูกค้าเข้ามานั่งทานอาหารภายในร้านได้ ทางร้านก็ปฏิบัติตามมาตรการของรัฐบาลและสวนหลวงสแควร์ หวังว่าในอนาคตอันใกล้ ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายคือนิสิตจุฬาฯ จะกลับมาเหมือนเดิม”
พิมจันทร์ สีตพันธ์ ผู้จัดการร้านกาแฟที่ Park @ Siam “ช่วงสถานการณ์โควิด-19 บรรยากาศในร้านเงียบมาก ทางร้านขอความร่วมมือให้ลูกค้าซื้อกลับไปทานที่บ้าน มีการตรวจวัดอุณหภูมิ และมีเจลแอลกอฮอล์ให้บริการ พนักงานทุกคนเข้มงวดเรื่องความสะอาดมาก ขยันล้างมือและทำความสะอาดร้านบ่อยๆ ตามมาตรการของรัฐบาลทุกขั้นตอน”
สุดารัตน์ ฟังธรรมมงคล พนักงานร้านทันตกรรมในสยามสแควร์ “ทางร้านมีการคัดกรองคนไข้ตั้งแต่โทรศัพท์เข้ามารับบริการ ทุกวันก่อนเปิดให้บริการจะทำความสะอาดอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ ภายในร้านมีฉากกั้นระหว่างลูกค้าและพนักงาน มีการวางเก้าอี้ให้บริการใหม่ทั้งหมด โดยให้ลูกค้านั่งแยกเดี่ยว และเว้นระยะห่างจากกัน รวมทั้งมีการติดต่อกับลูกค้าผ่านสื่อออนไลน์ทั้ง Line และ Facebook”
ชนิกา แสงศิริวัฒนา ผู้จัดการร้านอาหารที่จามจุรีสแควร์ “ทางร้านกำหนดจุดยืนรอระหว่างการสั่งสินค้ากับการรับออเดอร์ ก่อนเข้างาน พนักงานจะล้างมือทำความสะอาดและวัดอุณหภูมิ พนักงานคนไหนอุณหภูมิเกินกำหนดก็จะให้กลับบ้านทันที ส่วนแคชเชียร์จะใส่หน้ากากอนามัยและ face shield นอกจากนี้พนักงานทุกคนจะใส่ถุงมือระหว่างการจัดเตรียมสินค้า เพื่อสร้างความมั่นใจให้ลูกค้าเสมอ”
คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ “รักษาฟันฟรี” ถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เนื่องในวันทันตสาธารณสุขแห่งชาติ
17 ต.ค. 67 เวลา 08.00 น.
อาคารบรมนาถศรีนครินทร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
เสวนา Chula the Impact ครั้งที่ 25 “แพลตฟอร์มจุฬาฯ ฝ่าพิบัติ: Digital War Room” นวัตกรรมจากจุฬาฯ ที่ใช้ชี้จุด คาดคะเน และให้ข้อมูลผู้ประสบภัยได้อย่างแม่นยำและทันสมัย
9 ต.ค. 67
ห้องประชุม 202 อาคารจามจุรี 4 จุฬาฯ
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดการประชุมวิชาการ The 1st International Study Group on Creative Arts Therapy ดูแลสุขภาวะด้วยศิลปะบำบัด
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ จัดบรรยายพิเศษครั้งที่ 7 “Human + Machine: A New Territories of Design” แลกเปลี่ยนความรู้การออกแบบในโลกดิจิทัล
PMCU เชิญร่วมงานเทศกาลอิ่มเจ อิ่มบุญ อิ่มความสุข ที่สามย่าน-บรรทัดทอง
ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาฯ และ PMCU รับมอบคอมพิวเตอร์ให้โรงเรียนที่ประสบอุทกภัยจังหวัดน่าน
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้