รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
17 กรกฎาคม 2563
ภาพข่าว
สำนักบริหารวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับกองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ขอเชิญทำความรู้จักกับนาฏศิลป์ไทยแบบใกล้ตัวมากขึ้นในนิทรรศการ “สาธิต หมายเลข 60” ของพิเชษฐ กลั่นชื่น ณ ห้องนิทรรศการหมุนเวียน ชั้น 1 พิพิธภัณฑ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดแสดงตั้งแต่บัดนี้ – 25 สิงหาคม 2563 ณ ห้องนิทรรศการหมุนเวียน ชั้น 1 พิพิธภัณฑ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เวลา 09.30 – 16.30 น. (จำกัดผู้เข้าชมสูงสุด 25 ท่านในพื้นที่)
‘หมายเลข 60’ เป็นชุดความรู้ที่มีที่มาจากการถอดรื้อท่ารำแม่บทใหญ่ 59 ท่า และแสดงออกมาในรูปของไดอะแกรมมีองค์ประกอบหลัก 6 องค์ประกอบ กว่าจะมาเป็นหมายเลข 60 พิเชษฐ กลั่นชื่น ได้เริ่มกระบวนการ “ถอดความเทพประนม” หรือรื้อโครงสร้างท่ารำแม่บท ซึ่งใช้เวลากว่า 15 ปีจึงเขียนภาพทั้งหมดเสร็จ จากนั้นเขาได้ทดลองนำองค์ความรู้นี้ไปใช้สร้างสรรค์การแสดงชื่อว่า “Dancing with Death” world premier ที่ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี 2559 ซึ่งการแสดงครั้งนั้นไม่ประสบความสำเร็จ เขาไม่รับงานเป็นระยะเวลา 1 ปี เพื่อค้นหาว่าอะไรคือองค์ความรู้นาฏศิลป์ไทยร่วมสมัยที่เขาตามหา
จากปี 2559 จนถึงปี 2562 พิเชษฐได้ค้นหาและพัฒนาจนมาเป็นองค์ความรู้ นาฏศิลป์ไทยร่วมสมัย “หมายเลข 60” โดยได้สร้างผลงานการแสดง ชุด ‘No. 60’ world premiere ไปแล้วเมื่อต้นปี 2563 ที่ประเทศญี่ปุ่น และจะจัดแสดงอีกหลายเทศกาลระดับนานาชาติจนถึงปี 2564
นิทรรศการ “สาธิต หมายเลข 60” จึงเป็นนิทรรศการที่จะพาผู้เข้าชมเข้าสู่โลกนาฏศิลป์ไทยร่วมสมัยที่ศิลปินใช้เวลาคิดค้นและทดลองปฏิบัติมากว่า 20 ปี ประกอบด้วยภาพวาดไดอะแกรมถอดชุดองค์ความรู้จากท่ารำแม่บทใหญ่ควบคู่กับภาพท่ารำ 59 ท่าแบบดั้งเดิม และบันทึกการแสดงการสาธิตพร้อมการบรรยายโดยศิลปิน นิทรรศการนี้จะช่วยให้ผู้ชมเข้าใจโลกของนาฏศิลป์ไทยและนาฏศิลป์ไทยร่วมสมัยในแบบพิเชษฐ กลั่นชื่อ นาฏศิลปินที่บุกเบิกกรุยทางร่วมสมัยจนก้าวสู่การเป็นศิลปินระดับโลก
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Facebook : Chula Museum สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0-2218 3645
จุฬาฯ ต้อนรับผู้บริหาร Durham University สหราชอาณาจักร หารือความร่วมมือทางวิชาการ
แถลงข่าวเปิดตัวโครงการอบรมเฉพาะทางระยะสั้น “World Class Destination Development”
จุฬาฯ ร่วมกับสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ จัดโครงการพัฒนาหลักสูตรด้านการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ
สังคมไทย ‘ตายมากกว่าเกิด’: สิ่งนี้เป็นโอกาสหรือวิกฤตต่อความยั่งยืน
ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาฯ มุ่งขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ Impactful Growth ในพื้นที่ จ.สระบุรี
อธิการบดีจุฬาฯ รับพระราชทานโล่ประกาศเกียรติคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในพิธีต้อนรับเรือเสว่ยหลง 2 เยือนประเทศไทย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้