รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
6 สิงหาคม 2563
ภาพข่าว
เมื่อวันอังคารที่ 4 สิงหาคม 2563 ศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับนายแม็ค หม่า รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ทางวิศวกรรม ด้วยเทคโนโลยี 5G, AI และ Cloud พร้อมเร่งขับเคลื่อนสู่การนำประเทศไทยปรับเปลี่ยนเข้าสู่ยุคดิจิทัลทรานสฟอร์เมชันที่สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น
ศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า “การผนึกความร่วมมือกับบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ในครั้งนี้ นับเป็นก้าวสำคัญในการร่วมมือทางวิชาการเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ในเชิงปฎิบัติการร่วมกับหน่วยงานภาคเอกชน ซึ่งเป็นบริษัทผู้นำเทคโนโลยีด้าน 5G และโซลูชันระดับโลก เป็นการต่อยอดผลงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งในการเรียนการสอน การวิจัย และการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ โดยเฉพาะการพัฒนาระบบหุ่นยนต์และระบบควบคุมอัตโนมัติ รวมถึงเนื้อหาเพื่อการเรียนการสอนออนไลน์ในรูปแบบโลกจำลองเสมือนจริง (Virtual Reality) หรือระบบ VR ซึ่งโครงการความร่วมมือนี้จะสามารถนำไปสู่การแลกเปลี่ยนและเสริมสร้างองค์ความรู้และยกระดับการศึกษาด้านเทคโนโลยีให้สอดรับกับการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล ช่วยทำให้หุ่นยนต์ที่พัฒนาขึ้นในระดับห้องปฏิบัติการของคณาจารย์และนิสิตของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ พัฒนาต่อยอดให้มีความอัจฉริยภาพมากขึ้น หรือเป็นหุ่นยนต์กลไกสมองอัจฉริยะ AI ที่พร้อมด้วยระบบสื่อสาร โครงการนี้จะเป็นการเตรียมความพร้อมอีกระดับหนึ่งให้แก่นิสิตและนักวิจัยมุ่งไปสู่โลกนวัตกรรมแห่งอนาคต
นายแม็ค หม่า รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวเสริมว่า หัวเว่ยพร้อมให้การสนับสนุนอุปกรณ์ เทคโนโลยี การอบรม และทำงานร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ด้วยการนำเทคโนโลยี 5G, Cloud, AI มายกระดับด้านการวิจัยและพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ พร้อมนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ขับเคลื่อนความสามารถด้านนวัตกรรมของไทย ผ่านการศึกษาซึ่งเป็นรากฐานการพัฒนาประเทศที่สำคัญ
การนำเทคโนโลยี 5G, Cloud และ AI ของหัวเว่ยมาประยุกต์ใช้ ภายใต้บันทึกข้อตกลงในครั้งนี้เป็นระยะเวลา 5 ปี จะช่วยเสริมศักยภาพและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสิ่งประดิษฐ์ทางวิศวกรรมของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้แก่ ระบบหุ่นยนต์และระบบควบคุมอัตโนมัติ ให้สามารถควบคุมทางไกล ส่งข้อมูลและประมวลผลได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
นอกเหนือจากบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการในครั้งนี้ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้นำผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและโซลูชั่นระดับโลกมาร่วมทำงานและจัดอบรมเพื่อถ่ายทอดความรู้ความชำนาญให้กับคณาจารย์ นิสิต และนักวิจัย เพื่อขยายศักยภาพงานด้านวิชาการโดยใช้เทคโนโลยีได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ลงนามความร่วมมือกับบริษัท เบอริงเกอร์ อินเกลไฮม์ โครงการ The NEXT Level Veterinary Excellence
นายกสภาจุฬาฯ ปาฐกถาพิเศษเรื่อง “แนวทางการสร้างเสริมสันติภาพที่ยั่งยืนในเมียนมาร์”
ครั้งแรก MAY DAY SIAM SQUARE จุฬาฯ รวมพลังหมอ พยาบาล อาจารย์ นิสิต ตรวจสุขภาพฟรีที่สยามสแควร์
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ ผนึกกำลังฮาคูโฮโดฯ ประกาศความสำเร็จ “HIT PROGRAM ปี 2” พัฒนาสร้างนักการตลาดรุ่นใหม่
จุฬาฯ ผนึกความร่วมมือการบินไทย “จุฬาฯ – การบินไทย: ความรู้คู่ฟ้า Chula-TG: Be the Star in the Sky of Knowledge”
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนาวิชาการ “ผลกระทบของแผ่นดินไหวต่อเขื่อนภูมิพล (ยันฮี)” แลกเปลี่ยนองค์ความรู้เพื่อการป้องกันและรับมือภัยพิบัติในอนาคต
6 พ.ค. 2568 เวลา 10.00 – 12.00 น.
ห้องประชุมชั้น 2 ตึก 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้