รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
6 พฤศจิกายน 2563
ข่าวเด่น
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อทางเดินหายใจจากเชื้อไวรัสอาร์เอสวี (RSV) ในฤดูหนาว ซึ่งสร้างความวิตกกังวลต่อพ่อแม่ ผู้ปกครองเกี่ยวกับการระบาดของโรคนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็ก ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวถึงโรค RSV ว่า ไม่ใช่โรคใหม่ เป็นโรคที่รู้จักกันมากว่า 50 ปีแล้วและเกิดขึ้นทุกปี เป็นโรคทางเดินหายใจที่พบบ่อยที่สุดในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เกิดจากเชื้อไวรัส 2 ประเภท คือ RSV-A และ RSV-B ซึ่งในปีนี้มีการระบาดด้วยไวรัส RSV-A มากกว่า เด็กที่เป็นโรคนี้แล้วสามารถกลับมาเป็นได้อีกเพราะภูมิคุ้มกันไม่สามารถอยู่กับเด็กได้ตลอดไป การระบาดของโรคมักจะเกิดขึ้นในช่วงหลังโรงเรียนเปิดเรียน ซึ่งสถานการณ์การระบาดในปีนี้มีการเปิดเรียนช้ากว่าปกติ การระบาดจึงอยู่ในช่วงเดือนกันยายน จนถึงเดือนตุลาคมซึ่งพบการระบาดในเด็กเล็กจำนวนมาก โรค RSV ในเด็กส่วนใหญ่จะมีอาการไม่หนัก เด็กที่มีโรคทางเดินหายใจหรือโรคหอบหืดจะทำให้อาการรุนแรงขึ้นได้
ศ.นพ.ยง กล่าวว่าวิธีการตรวจวินิจฉัยโรคนี้ทำได้ง่ายมาก เพียง 15 นาทีก็ทราบผลได้ทันที ทำให้โรคนี้ถูกกล่าวถึงกันมากขึ้น เพราะเป็นโรคที่พบบ่อยแต่ยังไม่มียารักษา ต้องรักษาไปตามอาการ นอกจากนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันอีกด้วย ซึ่งปัจจัยในการป้องกันโรคนั้นไม่ใช่แค่เพียงภูมิคุ้มกันเพียงอย่างเดียว มาตรการป้องกันที่ดีที่สุดคือการดูแลสุขอนามัยโดยเฉพาะเด็กเล็กเมื่ออยู่ในโรงเรียน การเรียนและนอนในห้องแอร์ทำให้เด็กมีการใกล้ชิดกัน อาจทำให้ติดโรคได้ง่าย ดังนั้นหากเด็กป่วยก็ไม่ควรให้มาโรงเรียน ห้องเรียนที่มีเด็กติดเชื้อ ก็ควรจะปิดห้องแล้วฆ่าเชื้อทำความสะอาดเสียก่อน
“วิธีการป้องกันโรค RSV ทุกคนในบ้านควรหมั่นล้างมือให้สะอาด ทำความสะอาดบ้านและของเล่นเป็นประจำสม่ำเสมอ ไม่คลุกคลีกับเด็กที่เป็นหวัด หลีกเลี่ยงการจูบและหอมแก้มเด็ก ใส่หน้ากากอนามัยป้องกัน และไม่พาเด็กไปในที่สาธารณะหรือสถานที่แออัด” ศ.นพ.ยง ให้คำแนะนำ
นายกสภาจุฬาฯ ปาฐกถาพิเศษเรื่อง “แนวทางการสร้างเสริมสันติภาพที่ยั่งยืนในเมียนมาร์”
ครั้งแรก MAY DAY SIAM SQUARE จุฬาฯ รวมพลังหมอ พยาบาล อาจารย์ นิสิต ตรวจสุขภาพฟรีที่สยามสแควร์
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ ผนึกกำลังฮาคูโฮโดฯ ประกาศความสำเร็จ “HIT PROGRAM ปี 2” พัฒนาสร้างนักการตลาดรุ่นใหม่
จุฬาฯ ผนึกความร่วมมือการบินไทย “จุฬาฯ – การบินไทย: ความรู้คู่ฟ้า Chula-TG: Be the Star in the Sky of Knowledge”
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนาวิชาการ “ผลกระทบของแผ่นดินไหวต่อเขื่อนภูมิพล (ยันฮี)” แลกเปลี่ยนองค์ความรู้เพื่อการป้องกันและรับมือภัยพิบัติในอนาคต
6 พ.ค. 2568 เวลา 10.00 – 12.00 น.
ห้องประชุมชั้น 2 ตึก 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
นิเทศศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนาวิชาการและงานเปิดตัว “เรื่องของเรา” ภาพยนตร์จากงานวิจัย สู่สันติภาพชายแดนใต้
6 พฤษภาคม 2568 เวลา 16.30 - 19.30 น. โรงภาพยนตร์ลิโด้
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้