รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
22 พฤศจิกายน 2563
ข่าวเด่น
นายชนกันต วิทยศักดิ์พันธุ์ นิสิตชั้นปีที่ 3 คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ และ น.ส. ณัฐญา จารุเวคิน นิสิตชั้นปีที่ 3 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศและรางวัลชมเชยจากการแข่งขันโต้วาทีสิทธิมนุษยชนภาษาอังกฤษระดับอุดมศึกษา ประจำปี 2563 จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พิธีมอบรางวัลจะจัดขึ้นในงานวันสิทธิมนุษยชนสากล
การแข่งขันโต้วาทีสิทธิมนุษยชนภาษาอังกฤษระดับอุดมศึกษา จัดขึ้นเมื่อวันที่ 6 – 8 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ณ โรงแรมเอเวอร์กรีน เพลส สยาม มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้นิสิตนักศึกษารับรู้เกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนมากขึ้น ผู้เข้าแข่งขันจะต้องกล่าวสุนทรพจน์และโต้วาทีภาษาอังกฤษในหัวข้อเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนโดยไม่ทราบหัวข้อหรือญัตติล่วงหน้า ในรอบแรก ผู้เข้าแข่งขันจะต้องส่งคลิปวีดิโอกล่าวสุนทรพจน์ความยาว 3 นาทีให้คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกให้เหลือ 20 คนเข้าแข่งขันกล่าวสุนทรพจน์ในรอบที่สอง ผู้ผ่านการคัดเลือก 12 คนจะเข้าแข่งขันโต้วาทีรวมทั้งสิ้น 4 รอบ จนได้ผู้เข้าแข่งขัน 6 คนสุดท้ายเข้าแข่งขันกล่าวสุนทรพจน์ความยาว 5 นาทีในรอบชิงชนะเลิศ เกณฑ์การตัดสินพิจารณาจากเนื้อหาสาระที่พูด บุคลิกภาพ และวิธีเรียบเรียงถ้อยคำที่นำเสนอออกไป
ชนกันต และณัฐญา เป็นสมาชิกชมรมโต้วาทีภาษาอังกฤษ จุฬาฯ (Chula English Debate Society) ทั้งสองได้เตรียมความพร้อมในการเข้าแข่งขันโดยมีการฝึกซ้อมโต้วาทีภาษาอังกฤษเป็นประจำทุกสัปดาห์ ได้ฝึกคิดวิเคราะห์และการพูดให้กระชับ ทั้งสองมีความสนใจในประเด็นสิทธิมนุษยชนซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ หัวข้อที่กล่าวสุนทรพจน์และโต้วาทีในรายการนี้มีความน่าสนใจและท้าทายความคิด ยกตัวอย่างเช่น เราควรบังคับให้ผู้ที่มีชื่อเสียงแสดงความคิดเห็นในเรื่องการเมืองหรือไม่ คนในชุมชนควรมีส่วนร่วมในการตัดสินใจสร้างโครงการต่างๆที่ต้องมีการเวนคืนที่ดินหรือไม่ ฯลฯ
ชนกันต วิทยศักดิ์พันธุ์ ซึ่งคว้ารางวัลชนะเลิศการแข่งขันโต้วาทีสิทธิมนุษยชนภาษาอังกฤษระดับอุดมศึกษาปีนี้มาครอง เป็นผู้ที่สนใจการแข่งขันกล่าวสุนทรพจน์และโต้วาทีภาษาอังกฤษเพราะเป็นกิจกรรมที่ทำให้ตนเองได้รับความรู้ที่ก้าวทันโลกและมีมุมมองความคิด 2 ด้าน เทคนิคการกล่าวสุนทรพจน์และโต้วาทีให้ประสบความสำเร็จ เน้นการพูดโดยดึงบริบทเนื้อหาจากเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริง พูดให้เข้าใจง่าย ตรงประเด็น สร้างคุณค่าความน่าเชื่อถือให้เนื้อหาที่พูดออกไป นอกจากนี้จะต้องหมั่นฝึกซ้อมการพูดบ่อยๆ และติดตามข่าวสารทางสื่อต่างๆ เช่น Facebook และสำนักข่าวต่างประเทศอยู่เสมอ
“ความสำเร็จในครั้งนี้เกิดจากสมาชิกในชมรมที่มีการฝึกซ้อมเตรียมความพร้อมในการแข่งขันโต้วาทีอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับคำแนะนำเป็นอย่างดีจากอาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์ผู้ฝึกสอนของชมรมฯ ได้แก่ ผศ.ปิยนารถ ฟักทองพรรณ อ.ดร.ภาณุภัทร จิตเที่ยง และ อ.ดร.ภาวัฒน์ สัตยานุรักษ์ การแข่งขันรายการนี้ทำให้ได้แรงบันดาลใจจากนักพูดที่ประสบความสำเร็จ ทำให้ได้พัฒนาตนเองในเรื่องการกล่าวสุนทรพจน์และการโต้วาทีภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี การเข้าร่วมการแข่งขันรายการต่างๆ ทำให้ได้ความรู้และเป็นประสบการณ์ที่ดี” สองนิสิตจุฬาฯ ผู้ได้รับรางวัลจากการแข่งขันรายการนี้กล่าว
ติดตามรับชมภาพการแข่งขันโต้วาทีสิทธิมนุษยชนภาษาอังกฤษระดับอุดมศึกษา ประจำปี 2563 ได้ที่ Facebook : สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
https://www.facebook.com/165027406990322/posts/1702418499917864/?d=n
จุฬาฯ ผนึกความร่วมมือการบินไทย “จุฬาฯ – การบินไทย: ความรู้คู่ฟ้า Chula-TG: Be the Star in the Sky of Knowledge”
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนาวิชาการ “ผลกระทบของแผ่นดินไหวต่อเขื่อนภูมิพล (ยันฮี)” แลกเปลี่ยนองค์ความรู้เพื่อการป้องกันและรับมือภัยพิบัติในอนาคต
6 พ.ค. 2568 เวลา 10.00 – 12.00 น.
ห้องประชุมชั้น 2 ตึก 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
นิเทศศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนาวิชาการและงานเปิดตัว “เรื่องของเรา” ภาพยนตร์จากงานวิจัย สู่สันติภาพชายแดนใต้
6 พฤษภาคม 2568 เวลา 16.30 - 19.30 น. โรงภาพยนตร์ลิโด้
จุฬาฯ ร่วมมือ UOB เปิดตัวระบบ Virtual Account สนับสนุนงานวิจัย
จุฬาฯ เปิดเวทีปาฐกถาเกียรติยศ “เวฬา ณ จุฬาลงกรณ์ฯ” ครั้งที่ 3 รับฟังวิสัยทัศน์ “การพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อฝ่าวิกฤติภัยพิบัติทางธรรมชาติ”
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ เชิญร่วมฟังเสวนา “ธุรกิจไทยหลังนโยบาย Trump”
2 พฤษภาคม 2568 เวลา 15.00 - 16.30 น. CBS Cinema อาคารไชยยศสมบัติ 1 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้