รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
30 มีนาคม 2564
ข่าวเด่น
จิรายุทธ สุวรรณสังข์ กาญลดา บรรลุพงษ์ และอรจิรา ติตติรานนท์ นิสิตชั้นปีที่ 4 ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศการนำเสนอผลงานวิชาการแบบปากเปล่า (Oral Presentation) สาขาภูมิศาสตร์มนุษย์ ในการประชุมวิชาการนิสิตนักศึกษาภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศศาสตร์ ระดับปริญญาตรีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 13 จัดโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เมื่อเร็วๆนี้ จากผลงานวิชาการเรื่อง “ภูมิศาสตร์แห่งอารมณ์: ถ้อยคำอารมณ์ผ่านทวิตเตอร์กับสุขภาวะของประชากรเชิงพื้นที่ กรณีศึกษา พื้นที่ภาคตะวันออก” นอกจากนี้นิสิตภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ยังได้รับรางวัลรองชนะเลิศและรางวัลชมเชยการนำเสนอผลงานแบบปากเปล่าและแบบโปสเตอร์อีกหลายรางวัลอีกด้วย
จิรายุทธ สุวรรณสังข์ หนึ่งในทีมนิสิตภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ เปิดเผยว่า ผลงานวิชาการที่นำเสนอในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา “โครงงานทางภูมิศาสตร์” ผลงานวิชาการเรื่องนี้เป็นการนำภูมิศาสตร์มาเชื่อมโยงกับภาษาศาสตร์ มีเนื้อหาสื่อถึงอารมณ์ความรู้สึกของคนที่เกี่ยวกับพื้นที่ นอกจากคนจะเข้าไปเปลี่ยนพื้นที่แล้ว พื้นที่ก็ส่งผลต่อคนเช่นกัน ในขณะเดียวกัน คนต่างพื้นที่กันก็ถูกพื้นที่กำหนดความรู้สึกที่แตกต่างกัน โดยใช้สถิติต่างๆ เช่น โรคซึมเศร้า คดีอาชญากรรม ผลิตภัณฑ์มวลรวมรายจังหวัดต่อหัว อัตราความเหลื่อมล้ำ เป็นตัวชี้วัด หากสถิตดังกล่าวมีค่าสูง อารมณ์ความรู้สึกในพื้นที่นั้นจะมีค่าต่ำ
จิรายุทธ เผยถึงความโดดเด่นของผลงานวิชาการเรื่องนี้ที่สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศการนำเสนอผลงานวิชาการแบบปากเปล่า สาขาภูมิศาสตร์มนุษย์ เนื่องจากเรื่องภูมิศาสตร์อารมณ์เป็นเรื่องแปลกใหม่สำหรับประเทศไทย เป็นผลงานวิชาการที่ผสมหลายศาสตร์ทั้งภูมิศาสตร์ ภาษาศาสตร์ จิตวิทยา และการเข้าถึงข้อมูลผ่านเครื่องมือสำหรับนักพัฒนาที่ในประเทศไทยยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก นอกจากนี้ผลงานวิชาการเรื่องนี้ยังเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในการจัดการสาธารณูปโภคเพื่อแก้ไขปัญหาในมิติต่างๆ และเป็นตัวอย่างของเครื่องมือสำหรับนักพัฒนาในการเข้าถึง Twitter หาข้อมูลเพื่อเก็บสถิติ
จิรายุทธ ได้ฝากคำแนะนำสำหรับนิสิตที่จะเข้าร่วมการแข่งขันนำเสนอผลงานวิชาการในปีต่อไปว่า จุดเริ่มต้นสำคัญที่สุด อยากให้น้อง ๆ เริ่มจากเรื่องที่ตนเองสนใจ อยากให้คิดนอกกรอบทำในสิ่งที่แปลกใหม่ เพื่อให้เกิดมุมมองใหม่ๆ ทางภูมิศาสตร์ อนาคตหลังจากสำเร็จการศึกษา อยากเรียนต่อทางด้านภูมิศาสตร์มนุษย์ และอยากทำงานเป็นนักพัฒนาเมือง พัฒนาที่ดิน
จุฬาฯ – การบินไทย ผนึกกำลังทางวิชาการ แถลงความร่วมมือ “จุฬาฯ – การบินไทย: ความรู้คู่ฟ้า Chula-TG: Be the Star in the Sky of Knowledge”
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนาวิชาการ “ผลกระทบของแผ่นดินไหวต่อเขื่อนภูมิพล (ยันฮี)” แลกเปลี่ยนองค์ความรู้เพื่อการป้องกันและรับมือภัยพิบัติในอนาคต
6 พ.ค. 2568 เวลา 10.00 – 12.00 น.
ห้องประชุมชั้น 2 ตึก 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
นิเทศศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนาวิชาการและงานเปิดตัว “เรื่องของเรา” ภาพยนตร์จากงานวิจัย สู่สันติภาพชายแดนใต้
6 พฤษภาคม 2568 เวลา 16.30 - 19.30 น. โรงภาพยนตร์ลิโด้
จุฬาฯ ร่วมมือ UOB เปิดตัวระบบ Virtual Account สนับสนุนงานวิจัย
จุฬาฯ เปิดเวทีปาฐกถาเกียรติยศ “เวฬา ณ จุฬาลงกรณ์ฯ” ครั้งที่ 3 รับฟังวิสัยทัศน์ “การพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อฝ่าวิกฤติภัยพิบัติทางธรรมชาติ”
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ เชิญร่วมฟังเสวนา “ธุรกิจไทยหลังนโยบาย Trump”
2 พฤษภาคม 2568 เวลา 15.00 - 16.30 น. CBS Cinema อาคารไชยยศสมบัติ 1 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้