รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
6 มิถุนายน 2565
ข่าวเด่น
ผู้เขียน สุรเดช พันธุ์ลี
พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 หรือกฎหมาย PDPA (Personal Data Protection Act) ที่เริ่มบังคับใช้เต็มรูปแบบเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2565 ยังมีข้อมูลบางส่วนที่ผู้ที่เกี่ยวข้องอาจมีข้อสงสัยเกี่ยวกับ PDPA ในการนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เผยแพร่ความรู้ “4 เรื่องไม่จริงเกี่ยวกับ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (PDPA)” ซึ่งสรุปข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อไขข้อข้องใจและสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ดังนี้
1. การถ่ายรูป-ถ่ายคลิป ติดภาพคนอื่นโดยเจ้าตัวไม่ยินยอมจะผิด PDPA
ไม่จริงเสมอไป กรณีการถ่ายรูป-ถ่ายคลิปโดยติดบุคคลอื่นโดยผู้ถ่ายรูป-ถ่ายคลิปไม่มีเจตนา และการถ่ายรูปถ่ายคลิปดังกล่าวไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายกับผู้ถูกถ่าย สามารถทำได้ หากเป็นการใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว
2. ถ้านำคลิปหรือรูปถ่ายที่ติดคนอื่นไปโพสต์ในโซเชียลมีเดียโดยบุคคลอื่นไม่ยินยอมจะผิด PDPA
ไม่จริงเสมอไป สามารถโพสต์ได้ หากใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว ไม่ใช้แสวงหากำไรทางการค้าและไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
3. ติดกล้องวงจรปิดแล้วไม่มีป้ายแจ้งเตือนผิด PDPA
ไม่จำเป็น หากเป็นการติดกล้องวงจรปิดภายในบ้านไม่จำเป็นต้องมีป้ายแจ้งเตือน หากเพื่อป้องกันอาชญากรรม และรักษาความปลอดภัยกับตัวเจ้าของบ้าน
4. เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลต้องให้ความยินยอมทุกครั้งก่อนนำข้อมูลไปใช้
ไม่จำเป็นต้องขอความยินยอม หากการใช้ข้อมูลดังกล่าว
(1) เป็นการทำตามสัญญา
(2) เป็นการใช้ที่มีกฎหมายให้อำนาจ
(3) เป็นการใช้เพื่อรักษาชีวิต และ/หรือ ร่างกายของบุคคล
(4) เป็นการใช้เพื่อการค้นคว้าวิจัยทางสถิติ
(5) เป็นการใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ
(6) เป็นการใช้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ หรือสิทธิของตนเอง
ทั้งนี้ หลักการข้างต้น อาจเปลี่ยนแปลงตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเป็นกรณีๆ ไป
ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกฎหมาย PDPA ที่นิสิตและบุคลากรจุฬาฯ ควรรู้ได้ที่
https://www.chula.ac.th/news/67177/
https://www.chula.ac.th/news/48805/
สามารถ Download ไฟล์สื่อประชาสัมพันธ์ PDPA ได้ที่
https://drive.google.com/drive/folders/1OT1pAoTUYOTKy27XjdEtZlZvnP512Mrn?usp=sharing
ลงทะเบียนเรียนรู้กฎหมาย เรื่อง การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ผ่าน Chula MOOC ได้ที่
https://mooc.chula.ac.th/courses/218
การเปิด – ปิดประตูจุฬาฯ และการจัดการจราจรในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2565
โปรโมชั่นฉลองเทศกาลรับปริญญาจุฬาฯ GRADUATION GIFTS 2023
“โคม คราฟท์: นวัตกรรมศิลปะพื้นบ้าน เพื่อการตกแต่งอย่างยั่งยืน” ผลงานอาจารย์และนิสิตจุฬาฯ ได้รับรางวัลจากการประกวดนวัตกรรมที่อินโดนีเซีย
อบรม “การเพิ่มศักยภาพของผู้มีส่วนได้เสียในการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ”
16 ตุลาคม 2566 เวลา 09.00 – 12.00 น.
วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยบูรพา
“ประติมากรรมเสียงสวรรค์” ศิลปะผสานเทคโนโลยีที่หน้าคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
จุฬาฯ ครองอันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทย จากสถาบันหลักของโลก 2 แห่ง Times Higher Education 2024 และ QS World University Rankings 2024
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้