รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
9 มิถุนายน 2565
ภาพข่าว
เมื่อวันพุธที่ 8 มิถุนายน 2565 ที่สถาบันการเรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาพ ชั้น 34 อาคาร SM Tower สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับศูนย์การศึกษาทั่วไป จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) เรื่องการพัฒนาหลักสูตรและการพัฒนาศักยภาพบุคลากร ระหว่าง ศ.ดร.ปาริชาต สถาปิตานนท์ รองอธิการบดี ด้านวิชาการและการเชื่อมโยงกับสังคม จุฬาฯ ผศ.ดร.สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาทั่วไป จุฬาฯ นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ รศ.ดร.นพ.นันทวัช สิทธิรักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันการเรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาพ (ThaiHealth Academy) ระยะเวลาความร่วมมือ 3 ปี
นางเบญจมาภรณ์ ลิมปิษเฐียร ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ กล่าวว่า การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือทางวิชาการและเพื่อเสริมสร้างศักยภาพด้านการสร้างเสริมสุขภาพแก่นิสิตนักศึกษา บุคลากร และประชาชนทั่วไป ด้วยการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต ตลอดจนองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาศักยภาพ รวมถึงการสนับสนุนทางด้านวิชาการ อาทิ การสร้างและพัฒนาเนื้อหาการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไป หลักสูตรเสริมการศึกษาทั่วไประยะสั้น สนับสนุนหรือร่วมดำเนินงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพให้กับประชาชน และเพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางการดำเนินงาน
รศ.ดร.นพ.นันทวัช สิทธิรักษ์ ผู้อำนวยการ ThaiHealth Academy กล่าวว่า จุฬาฯ เป็นมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของไทยและได้สร้างประโยชน์แก่ประเทศมาเป็นเวลายาวนาน สถาบันฯ ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ร่วมทำงานสร้างการพัฒนาหลักสูตรและการพัฒนาศักยภาพบุคลากร นิสิตนักศึกษา บุคลากรและประชาชนทั่วไป ทำให้เกิดการขยายพื้นที่การเรียนรู้และส่งเสริมให้เกิดโอกาสการเรียนรู้ตลอดชีวิต พร้อมวางแผนเปิดหลักสูตรการสร้างเสริมสุขภาพในมิติต่างๆ เช่น หลักสูตรเมืองน่าอยู่ การสื่อสารเพื่อสังคม การสื่อสารเพื่อสร้างองค์กรแห่งความสุข เป็นต้น
ผศ.ดร.สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาทั่วไป จุฬาฯ กล่าวว่า กรอบความร่วมมือระหว่าง Thaihealth Academy และศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ ในการพัฒนาหลักสูตร E –learning เรียกว่า “Life long Learning” ที่มี micro credit และ learning outcome ซึ่งในอนาคตจะนำเข้าไปอยู่ในแพลตฟอร์มที่เรียกว่า CU Neuron เป็นหลักสูตรที่ส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีทั้งวิชาออนไลน์ของศูนย์การศึกษาทั่วไป คอร์สออนไลน์จาก Chula MOOC และคอร์สระยะสั้นของ CUVIP คอร์สพิเศษจาก PacRim และ SkillLane ให้ผู้เรียนได้เลือกเรียน โดยมีประกาศนียบัตรรับรอง ทั้งนี้ CU Neuron ยังรองรับการเก็บหน่วยกิตผ่านธนาคารหน่วยกิต (credit bank) สำหรับหลายวิชาที่สามารถเทียบโอนใช้ได้เมื่อเลือกเรียนหลักสูตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้สนใจสามารถเข้ามาเรียนรู้ผ่านทางเว็บไซต์ https://cuneuron.chula.ac.th/
นอกจากนี้ จุฬาฯ ได้จัดทำหลักสูตร CU Learning โดยเริ่มนำร่องจากกิจกรรมหลักสูตรเสริมการศึกษาทั่วไประยะสั้น (CUVIP) ใช้ชื่อว่า “CUVIP series” ใน Theme “เท่าทันสื่อ ก้าวทันโลก” ก่อให้เกิดทักษะทางด้าน “Media Literacy, the essential skill for well-being” แบ่งเป็น 12 กิจกรรมดังนี้ เดือนมิถุนายน จัดกิจกรรม เปิดสายตาอ่านสื่ออย่างรู้เท่าทัน MIDL 101 สูงวัยรู้ทันสื่อ การใช้สื่อดิจิทัล กับการจัดการอารมณ์ เรียนรู้รับมือคุกคามทางเพศออนไลน์ พื้นฐานการตรวจสอบข้อเท็จจริง และ เดือนกรกฎาคม จัดกิจกรรม ทำอย่างไรเมื่อซื้อของออนไลน์ไม่ตรงปก พลเมืองดิจิทัลกับการรับมือข้อมูลข่าวสาร การนำเสนออัตลักษณ์ผ่านสื่อดิจิทัล การเคารพสิทธิบนโลกออนไลน์ พลิกมุมคิด สะกิดมุมมอง วิพากษ์สื่อด้วยสายตาพลเมือง (MIDL for Citizenship) เอาตัวรอดเมื่อถูกกลั่นแกล้ง ระรานทางไซเบอร์ (Cyber Bullying) วิพากษ์สื่ออย่างรู้เท่าทัน สร้างสรรค์สังคมของทุกคน (MIDL for Inclusive Society)
ทั้งนี้ สามารถติดตามโครงการ รวมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ได้ทางเว็บไซต์ศูนย์การศึกษาทั่วไป จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย http://gened.chula.ac.th และเว็บไซต์สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ Thaihealth Academy และศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมบริจาคโลหิต โครงการ “MDCU Give Blood for All”
30 ก.ย. - 4 ต.ค. 67
ลานอเนกประสงค์ อาคารอานันทมหิดล คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
นิสิต BBA จุฬาฯ คว้ารางวัลระดับโลกจากการแข่งขัน ASEAN-CHINA-INDIA Youth Leadership Summit 2024
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ เชิญร่วมการประชุมมนุษยศาสตร์ดิจิทัลไทย 2024: วิถีดิจิทัลในมนุษยศาสตร์สู่การพัฒนาทุนมนุษย์อย่างยั่งยืน
SHECU จัดประชุมเครือข่ายความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ครั้งที่ 4 ชูแนวคิด Digital Transformation เพื่อยกระดับความปลอดภัยระดับประเทศ
วิศวฯ จุฬาฯ จับมือประเทศญี่ปุ่น เสริมสมรรถภาพโครงสร้างพื้นฐานไทย พร้อมรับมอบระบบทดสอบความล้ามูลค่า 19 ล้าน
โครงการ “เล่นเพลิน” ต้อนรับปิดเทอมสำหรับน้อง ๆ ปฐมวัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้