รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
15 สิงหาคม 2565
ข่าวเด่น
ผู้เขียน ขนิษฐา จันทร์เจริญ
การให้บริการวิชาการแก่สังคมและชุมชน เป็นพันธกิจที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญและส่งเสริมให้คณะ สถาบัน และหน่วยงานต่างๆ ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง หนึ่งในนั้นคือโครงการให้บริการวิชาการทางด้านสุขภาพแก่ชุมชนโดยคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ ล่าสุดได้จัดโครงการบริการวิชาการส่งเสริมสุขภาพชุมชนเสือใหญ่อุทิศ ซ.รัชดา 36 เขตจตุจักร ซึ่งได้ดำเนินโครงการมาเป็นปีที่ 6 แล้ว
ผศ.ดร.อัญชลี เฉียบฉลาด หัวหน้าภาควิชาเคมีคลินิก คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวถึงที่มาและวัตถุประสงค์ของโครงบริการวิชาการของคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ ว่า คณะฯ ตระหนักถึงความสำคัญของชุมชน ซึ่งยังมีบางชุมชนที่ไม่มีโอกาสเข้าถึงการบริการทางการแพทย์อย่างครอบคลุมและทั่วถึง จึงอยากกระจายโอกาสในการที่จะเข้าถึงบริการทางการแพทย์ให้กับประชาชนทั้งในกรุงเทพฯ และปริมณฑล หรือชุมชน ซึ่งคณะได้ให้บริการวิชาการดังกล่าวมาโดยตลอด
สำหรับโครงการบริการวิชาการส่งเสริมสุขภาพชุมเสือใหญ่อุทิศได้ให้บริการมาแล้ว 6 ครั้ง ซึ่งครั้งล่าสุดจัดเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน – 7 กรกฎาคม 2565 ได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดี ประชาชนในชุนชนผู้มารับบริการอยากให้มีการจัดอย่างต่อเนื่องทุกปี เพราะช่วยให้คนในชุมชนดูแลสุขภาพและตระหนักถึงปัญหาสุขภาพของตนเอง เมื่อตรวจพบความผิดปกติจะได้ปรับปรุงพฤติกรรม ตลอดจนเข้ารับการรักษาจากแพทย์ เพื่อเป็นการป้องกันหรือลดความรุนแรงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้ทันท่วงที
ผศ.ดร.อัญชลี เปิดเผยว่า เมื่อตอนที่เริ่มโครงการใหม่ๆ ภาควิชาเคมีคลินิกมีแนวคิดเกี่ยวกับการดูแลป้องกันพิษภัยที่มาจากสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะขยะอิเล็กทรอนิกส์ โดยได้ทำการศึกษาวิจัยพบว่าพื้นที่ที่มีการทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์มากที่ในสุดของ กทม. คือชุมชนเสือใหญ่อุทิศ โดยพบสารตะกั่วและแคดเมียมปะปนอยู่ในชุมชน เราจึงเข้าไปในพื้นที่เพื่อดูว่าการจัดการขยะในชุมชนว่าขยะอิเล็กทรอนิกส์ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม คุณภาพชีวิตของชุมชนที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงหรือไม่ จากการเข้าไปพูดคุยกับคุณครูที่มูลนิธิเด็กอ่อนในสลัมในชุมชนเสือใหญ่อุทิศ ซึ่งเป็นศูนย์กลางที่พ่อแม่ ผู้ปกครองนำเด็กมาฝากเลี้ยงในขณะที่ออกไปทำงานนอกบ้าน พบว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชนได้รับผลกระทบจากการทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ และประชาชนบางส่วนไม่สะดวกในการเดินทางไปรับบริการตรวจสุขภาพทางการแพทย์ จึงมีความสนใจที่จะเข้าไปทำโครงการในพื้นที่นี้ โดยจัดกิจกรรมขึ้นปีละครั้งเรื่อยมา ตั้งแต่ปี 2558
ให้บริการตรวจสุขภาพทั้งระดับน้ำตาลในเลือด ตรวจระดับไขมันในเลือด ตรวจประเมินการทำงานของตับและไต ตรวจเปอร์เซ็นต์ของเม็ดเลือดแดง ตรวจปัสสาวะ ตรวจวัดระดับความดันโลหิต หลังจากนั้นจะมีการแจ้งผลการตรวจเลือด พร้อมทั้งให้คำแนะนำเบื้องต้นในเรื่องของโภชนาการ การดูแลสุขภาพ การดูแลสิ่งแวดล้อม รวมถึงการตอบปัญหา ข้อสงสัยของประชาชนที่ต้องการปรึกษาในเรื่องต่างๆ ซึ่งภาควิชาเคมีคลินิก คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ พยายามหาคำตอบให้กับประชาชนให้ได้มากที่สุด
เนื่องจากงบประมาณที่จำกัดจึงทำให้สามารถรับผู้ร่วมโครงการได้เพียงแค่ครั้งละ 50 คน โดยเลือกกลุ่มผู้ที่มีความจำเป็น มีปัญหาสุขภาพที่น่าเป็นห่วง และเป็นกลุ่มที่มีการติดตามผลมาจากปีก่อน ซึ่งต้องมีการติดตามว่าเมื่อให้คำแนะนำในดูแลสุขภาพไปแล้วผลเป็นอย่างไร มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้บริการในกลุ่มผู้ที่ไม่สามารถเข้าถึงระบบสาธารณสุขได้สะดวก หรือไม่มีเวลา โดยเฉพาะกลุ่มคุณครูในมูลนิธิเด็กอ่อน ซึ่งจะให้การดูแลเป็นพิเศษ
ผศ.ดร.อัญชลี กล่าวว่าโครงการบริการวิชาการในครั้งนี้ตอบโจทย์เรื่องความยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (SDGs) ในด้าน good health and well-being เนื่องจากวัตถุประสงค์ของโครงการนี้อยากให้ประชาชนมีสุขภาพดีแบบยั่งยืน โดยเริ่มจากชุมชนเล็กๆ ในเขตกรุงเทพฯ ก่อน ซึ่งถ้าเราเริ่มจากตรงนี้ได้แล้วประชาชนมีสุขภาพดีขึ้น ความเป็นอยู่ดีขึ้น ก็จะขยายการทำงานของโครงการออกไปในชุมชนใหญ่ๆ ให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น
ชุมชนได้รับประโยชน์จากการบริการในรูปแบบที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย ทำให้คนในชุมชนได้รู้ถึงวิธีการดูแลสุขภาพ การปฏิบัติตัว การเลือกรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์เพื่อจะได้มีสุขภาพที่ดี ไม่เจ็บป่วยง่าย หรือหากมีการเจ็บป่วยก็มีอัตราการเจ็บป่วยน้อยลง ในส่วนของคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ คณาจารย์และนิสิตก็ได้นำความรู้วิชาชีพเทคนิคการแพทย์ไปใช้ประโยชน์ในการให้บริการความรู้กับชุมชน รวมถึงเพิ่มพูนความมีจิตอาสา และเผยแพร่ให้ประชาชนรู้จักคณะสหเวชศาสตร์ งานบริการทางด้านเทคนิคการแพทย์ การไปลงพื้นที่ไปในชุมชนเท่ากับเป็นการเปิดตัวให้ประชาชนรู้จักคณะว่ามีพันธกิจในด้านต่างๆทั้งการการเรียนการสอน การวิจัย และการให้บริการวิชาการแก่สังคมในหลายโครงการ
“โคม คราฟท์: นวัตกรรมศิลปะพื้นบ้าน เพื่อการตกแต่งอย่างยั่งยืน” ผลงานอาจารย์และนิสิตจุฬาฯ ได้รับรางวัลจากการประกวดนวัตกรรมที่อินโดนีเซีย
โปรโมชั่นฉลองเทศกาลรับปริญญาจุฬาฯ GRADUATION GIFTS 2023
การเปิด – ปิดประตูจุฬาฯ และการจัดการจราจรในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2565
อบรม “การเพิ่มศักยภาพของผู้มีส่วนได้เสียในการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ”
16 ตุลาคม 2566 เวลา 09.00 – 12.00 น.
วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยบูรพา
“ประติมากรรมเสียงสวรรค์” ศิลปะผสานเทคโนโลยีที่หน้าคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
จุฬาฯ ครองอันดับ 1 มหาวิทยาลัยไทย จากสถาบันหลักของโลก 2 แห่ง Times Higher Education 2024 และ QS World University Rankings 2024
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้