ข่าวสารจุฬาฯ

จุฬาฯ พัฒนาชุดทดสอบเพื่อตรวจหาฮอร์โมนโปรเจสเทอโรนในสุกร ร่วมลงนาม MOU กับ MSD Animal Health ให้ใช้สิทธิ และการจัดซื้อ Progesterone Test Kit

ศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chula UTC) เปิดตัวนวัตกรรมชุดทดสอบเพื่อตรวจหาฮอร์โมนโปรเจสเทอโรนในสุกร (Progesterone Test Kit) ผลงานการคิดค้นและพัฒนาโดยนักวิจัยคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ  ภายใต้ความร่วมมือของทีมห้องปฏิบัติการงานวิจัยจากสถาบันวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมพันธุศาสตร์ และทีมวิจัยและทดสอบภาคสนามในกลุ่มผู้เลี้ยงสุกรในประเทศไทย  สำหรับจำแนกสุกรเพศเมียที่เข้่าสู่วัยเจริญพันธุ์ ใช้บ่งบอกการเข้าสู่ระยะการเป็นสัด    (ยอมรับการผสมพันธุ์) ทำให้ได้จำนวนสุกรเพิ่มขึ้นและลดต้นทุนในการเลี้ยงสุกรแก่ผู้ประกอบการ 

งานแถลงข่าวความร่วมมือนวัตกรรม Progesterone Test Kit  และพิธีลงนามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิและการจัดซื้อนวัตกรรมระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับ MSD Animal Health จัดขึ้นเมื่อวันจันทร์ที่ 19 กันยายน 2565 ณ สำนักงานศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม (Chula UTC) โครงการ Block28  โดยมี ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ และ Mr. Hongyao Lin, Regional Marketing Director, MSD Animal Health ร่วมพิธีลงนามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ  และพิธีลงนามในสัญญาการจัดซื้อระหว่าง ศ.ดร.ศิริรัตน์ เร่งพิพัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาชุดตรวจวินิจฉัยตามมาตรฐานสากล (QDD center) และ Mr.Hongyao Lin, Regional Marketing Director, MSD Animal Health จากนั้นมีการเสวนาเรื่อง “บทบาทและความสำคัญของพันธมิตรที่ขับเคลื่อนการพัฒนางานนวัตกรรมจากห้องปฏิบัติการสู่ตลาด” โดย ศ.น.สพ.ดร.เผด็จ ธรรมรักษ์ หัวหน้าโครงการวิจัย Progesterone Test Kit  หัวหน้าภาควิชาสูติศาสตร์ เธนุเวชวิทยาและวิทยาการสืบพันธุ์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ  ศ.ดร.ศิริรัตน์ เร่งพิพัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์ QDD ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ รศ.ดร.กิตตินันท์ โกมลภิส รองผู้อำนวยการศูนย์ QDD สถาบันวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมพันธุศาสตร์ จุฬาฯ และ Mr.Hongyao Lin, Regional Marketing Director, MSD Animal Health 

นวัตกรรม “ชุดแถบทดสอบสาหรับตรวจหาฮอร์โมนโปรเจสเทอโรนในสุกร” (Progesterone Test Kit) เป็นชุดทดสอบเพื่อตรวจหาฮอร์โมนโปรเจสเทอโรนในสุกรด้วยสารคัดหลั่งหรือซีรั่มจากร่างกาย อาทิ เลือดหรือปัสสาวะในสุกร ช่วยจำแนกสุกรเพศเมียที่เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์แล้วออกจากสุกรสาวที่เป็นสัดเงียบ ใช้บ่งบอกการเข้าสู่ระยะการเป็นสัด (ยอมรับการผสมพันธุ์) ของสุกรเพศเมีย ทำให้ผู้ประกอบการรู้ได้ทันทีว่าแม่สุกรนั้นตั้งครรภ์จริงหรือไม่ 

ทั้งนี้ งานวิจัยสู่นวัตกรรมนี้ได้รับเงินทุนสนับสนุนจากหน่วยบริหารงานและจัดการทุนด้วยการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) และการให้ความช่วยเหลือด้านการเจรจากับภาคธุรกิจ (MSD Animal Health) การให้คำปรึกษาในการจดทะเบียน อย. การยื่นจด IP การทำ Licensing Agreement, การทำสัญญาซื้อขาย รวมถึงให้คำแนะนำในการดำเนินงานนวัตกรรมทางธุรกิจ จากศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (UTC)  นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทีมนักวิจัยได้พัฒนาขึ้นมานี้ได้รับการพัฒนาต่อยอดจากงานวิจัยในห้องปฏิบัติการสู่งานนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ และผ่านการรับรองมาตรฐานการผลิต โดยศูนย์พัฒนาชุดตรวจวินิจฉัยตามมาตรฐานสากล (Qualified Development Diagnostic Center, QDD center) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ

ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ เปิดเผยว่า ปัจจุบันสถาบันการศึกษามีหน้าที่สนับสนุนความรู้ทางวิชาการเพื่อช่วยส่งต่อองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม การได้รับความร่วมมือจาก MSD Animal Health ในการเป็นผู้จัดจำหน่ายโดยเริ่มจำหน่ายที่ประเทศจีนและจะกลับเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการนำงานวิจัยมาต่อยอดสู่การเป็นนวัตกรรมขึ้นห้างที่นำไปใช้ประโยชน์ได้จริง พร้อมส่งออกจำหน่ายในต่างประเทศทั่วโลก 

ศ.ดร.เผด็จ ธรรมรักษ์

ด้าน ศ.ดร.เผด็จ ธรรมรักษ์ หัวหน้าโครงการวิจัย Progesterone Test Kit  คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า แรงบันดาลใจในการพัฒนาชุดทดสอบนี้มีที่มาจากปัญหาการจำแนกสุกรเพศเมียที่เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ออกจากสุกรสาวที่เป็นสัดเงียบ และการบ่งบอกการเข้าสู่ระยะการเป็นสัดของสุกรเพศเมีย เดิมทีจะเป็นการสังเกตพฤติกรรมหรืออาการของสุกรโดยผู้มีประสบการณ์ แต่ปัญหาหลักคือ สุกรเพศเมียบางตัวไม่แสดงอาการเป็นสัดเมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ หรือแสดงอาการแต่เมื่อผสมพันธุ์แล้วผสมไม่ติด เป็นต้น ทีมวิจัยจึงต้องการตรวจวัดปริมาณฮอร์โมนโปรเจสเทอโรนในสารคัดหลั่งหรือซีรั่ม เพื่อระบุการเป็นสัดแทนการ สังเกตอาการ เป็นการช่วยเหลือกลุ่มผู้เลี้ยงสุกรในการดูแลและคัดแยกสุกรที่มีความพร้อมการผสมพันธ์ุ และชุดตรวจนี้ยังได้ทำการ Blind test ที่ประเทศสเปนโดยได้รับผลการทดสอบที่ดีถึง 95% 

“ชุดทดสอบที่พัฒนาขึ้นมานี้มีลักษณะเป็น Strip Test จึงใช้งานง่าย น้ำหนักเบา พกพาสะดวก ใช้เวลาทดสอบที่รวดเร็วเพียง 15 นาที ให้ผลที่แม่นยำสูงถึง 95% อีกทั้งยังมีราคาไม่แพง เมื่อเทียบกับการตรวจฮอร์โมนโปรเจสเทอโรนในสุกรสาว ด้วยวิธี ELISA Test ที่ใช้ในปัจจุบัน” ศ.ดร.เผด็จ กล่าว 

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า