รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
Highlights
23 กุมภาพันธ์ 2565
ผู้เขียน ฐนิตา หวังวณิชพันธุ์
ศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม (UTC) หนุนนักวิจัยด้าน Deep Tech ผลักดันนวัตกรรมเชิงลึกออกสู่ตลาด ส่งเสริมธุรกิจ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
DeepGI ปัญญาประดิษฐ์ตรวจจับก้อนเนื้อในลำไส้ Aqua Innovac วัคซีนสูตรน้ำไร้เข็มสำหรับปลาที่เลี้ยงในฟาร์ม ReadMe by eikonnex.ai ปัญญาประดิษฐ์อ่านข้อความ ภาพ และวีดิโอเพื่อแปลงเป็นเอกสารดิจิทัล
เหล่านี้เป็นเพียงบางส่วนจากกว่า 30 นวัตกรรมเด่นจากงานวิจัยเชิงลึกหรือดีพเทค (Deep Tech) ของนักวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเครือข่าย ที่ได้รับการบ่มเพาะโดยศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม (Chulalongkorn University Technology Center: UTC) แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
“งานวิจัยที่ดีไม่เพียงช่วยเพิ่มองค์ความรู้ทางวิชาการแต่ยังสามารถนำไปต่อยอดสร้างคุณค่าจากการนำไปใช้จริงได้ ซึ่ง UTC มีความมุ่งมั่นที่จะเป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยเร่งสปีดงานวิจัยดีพเทคให้ไปสู่ตลาด เพื่อสร้างงานวิจัยให้เป็นธุรกิจนวัตกรรมที่มีคุณค่าตอบโจทย์สังคม และเศรษฐกิจ อย่างยั่งยืน” ดร.ประวีร์ เครือโชติกุล หัวหน้าศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม (UTC) กล่าวถึงพันธกิจหลักของศูนย์ UTC ภายใต้ศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU Innovation Hub)
ดีพเทค (Deep Tech) เป็นเทคโนโลยีเชิงลึก มีความซับซ้อน ไม่สามารถเลียนแบบได้ในเวลาอันสั้น จึงเป็นข้อได้เปรียบในการแข่งขันทางด้านธุรกิจ ดร.ประวีร์ กล่าวเสริมว่าในประเทศไทย มีงานวิจัยด้านเทคโนโลยีเชิงลึกจำนวนมากที่เป็นประโยชน์ ได้รับการตีพิมพ์และเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ แต่น่าเสียดายที่เรายังไม่สามารถใช้ประโยชน์จากงานวิจัยเหล่านี้เต็มที่นัก และหากนักวิจัยทำงานเพียงลำพังก็อาจจะมีกำลังไม่เพียงพอที่จะที่จะต่อยอดงานวิจัยในเชิงพาณิชย์ได้อย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้น ศูนย์ UTC จึงเข้ามาเพื่อเติมเต็มในจุดนี้
“นวัตกรรมที่มาจาก Deep Tech เป็นนวัตกรรมที่มีศักยภาพมากพอที่จะจดเป็นสิทธิบัตรได้ จึงเป็นการสร้างที่มูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคม ตามแนวคิด Innovations for Society ของจุฬาฯ”
ปัจจุบัน ศูนย์ UTC เน้นทำงานกับงานวิจัยด้านเทคโนโลยีเชิงลึก 3 ประเภท ได้แก่ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เทคโนโลยีทางการแพทย์ (MedTech) และเทคโนโลยีชีวภาพ (BioTech) โดยวิธีการทำงานเริ่มต้นจากการเฟ้นหางานวิจัยเทคโนโลยีดีพเทค จากนั้นทีม UTC จะทำงานใกล้ชิดกับทีมวิจัย เพื่อยกระดับความพร้อมด้านธุรกิจควบคู่กับการพัฒนาเทคโนโลยีแบบมุ่งเป้า โดย UTC จะให้บุคลากรผู้เชี่ยวชาญจากทั้ง UTC และเครือข่ายพันธมิตรมาทำงานร่วมกัน ในรูปแบบ “ทีมโปรเจกต์” ซึ่งประกอบไปด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาโครงการนวัตกรรม ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการกระบวนการพัฒนานวัตกรรมและแผนธุรกิจ ที่จะมาช่วยให้คำแนะนำในกระบวนการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมในแต่ละขั้นตอน เช่น การพัฒนาโมเดลธุรกิจ การทดสอบตลาด การเลือกวิธีการดำเนินการเชิงพาณิชย์ เป็นต้น ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายธุรกิจและกลยุทธ์สิทธิบัตร ที่จะมาช่วยให้คำแนะนำในการวางแผนกลยุทธ์ด้านสิทธิบัตรเช่น IP Landscape การขึ้นทะเบียนอาหารและยา เป็นต้น ผู้เชี่ยวชาญที่มีองค์ความรู้เฉพาะด้าน เช่น หากเป็นงานวิจัยที่ต้องการประยุกต์เทคโนโลยี AI เพื่อไปใช้งานทางการแพทย์ ก็จะมีผู้เชี่ยวชาญในสาขาแพทย์ที่ให้คำแนะนำด้านการทำ Clinical Trial ระบบการเบิกจ่าย หรือกลยุทธ์ในการสร้างการยอมรับในการใช้งานโดยแพทย์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีโค้ชจากภายนอกจุฬาฯ มาให้คำแนะนำระหว่างการพัฒนานวัตกรรม ได้แก่ ศิษย์เก่าจุฬาฯ นักธุรกิจ ผู้ที่ทำงานด้านสังคม
ดร.ประวีร์ กล่าวว่าระยะเวลาพัฒนางานวิจัยสู่นวัตกรรมเชิงพาณิชย์ จะมีเป้าหมายในการดำเนินงานไม่เกิน 12 เดือน ทั้งนี้ กระบวนการพัฒนานวัตกรรมจะมี 3 ขั้นตอนใหญ่ๆด้วยกัน คือ
1.ขั้นตอนการค้นหางานวิจัยที่มีความพร้อม
ศูนย์ UTC จะเสาะหาและเปิดรับสมัครผลงานวิจัยเข้ามา โดยจะมีคณะกรรมการที่ทำหน้าที่พิจารณาโครงการ จากนั้นเมื่อรับงานวิจัยเข้ามาแล้ว UTC ก็จะจัดตั้งทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนานวัตกรรมเข้าไปดูแลใกล้ชิด เพื่อยกระดับความพร้อมทางธุรกิจ ควบคู่ไปกับการพัฒนาเทคโนโลยี จนสามารถได้แผนธุรกิจเบื้องต้นและสามารถประเมินว่างานวิจัยนี้สามารถใช้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในตลาดเป้าหมาย และมีลูกค้าที่สนใจซื้อ
2. การพัฒนาและทดสอบผลิตภัณฑ์ภาคสนามกับกลุ่มลูกค้าหรือผู้ใช้งานจริง
จากแผนธุรกิจที่ได้ ทางทีมวิจัยก็จะทำการพัฒนาต้นแบบขึ้นมาอย่างรวดเร็ว จากนั้นก็นำไปทดสอบตลาดด้วยการใช้จริงกับกลุ่มเป้าหมาย โดยมีผู้เชี่ยวชาญหรือโค้ชในด้านต่างๆจาก UTC และเครือข่าย ที่ให้คำแนะนำและนำผลจากการทดสอบใช้ไปปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ที่ออกไปเป็นไปตามทิศทางที่ต้องการภายในเวลาที่กำหนด
3. การดำเนินการเชิงพาณิชย์
เมื่อได้ผลิตภัณฑ์ที่ต้องการแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนการวางแผนดำเนินการเชิงพาณิชย์เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยผู้เชี่ยวชาญจาก UTC จะให้คำแนะนำที่มีประโยชน์ต่างๆ เช่นการดำเนินการด้านกฎหมาย การขอสิทธิบัตร การถ่ายทอดเทคโนโลยี/สิทธิบัตรจากมหาวิทยาลัย การเจรจากับพันธมิตรภาคธุรกิจ การระดมทุน เป็นต้น
ตลอดเวลาเกือบ 3 ปีที่ผ่านมา (2562 เป็นต้นมา) ทางศูนย์ได้มีส่วนร่วมในการบ่มเพาะงานวิจัยเทคโนโลยีเชิงลึกมากกว่า 35 โครงการ โดยเมื่อปลายปี 2564 ที่ผ่านมา UTC ได้จัดงาน UTC Deep Tech Demo Day เพื่อนำเสนอผลงานนวัตกรรมเด่นด้าน AI และ MedTech จาก 15 ทีมสุดเจ๋งที่มีศักยภาพก้าวสู่การเป็น Deep Tech Startups ของประเทศไทยในอนาคต พร้อมจัดบูธออนไลน์แสดงผลงานที่โดดเด่นด้าน AI และ MedTech อีกกว่า 30 ผลงาน และกิจกรรม Business Matching กับหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน โดยได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิ และวิทยากรชั้นนำระดับนานาชาติมาร่วมให้มุมมอง แนวคิด แบ่งปันองค์ความรู้ และประสบการณ์ด้าน Deep Tech แก่ผู้ที่ร่วมงานแบบเจาะลึก โดยตัวอย่างผลงานนวัตกรรมเด่น ดังนี้
ReadMe by eikonnex.ai โดยทีมนักวิจัยจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เป็นนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถอ่านข้อความภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และสัญลักษณ์บนเอกสาร ภาพ และวีดิโอ แล้วนำมาแปลงเป็นข้อมูลเอกสารดิจิทัล ซึ่งสามารถนำไปต่อยอดใช้งานจริงได้หลากหลาย เช่น การเก็บเอกสารทางการเงินของฝ่ายบัญชีในบริษัท การประเมินคะแนนเครดิต (Credit Scoring) สำหรับการกู้เงินของธนาคาร
Aqua Innovac วัคซีนสูตรน้ำไร้เข็มสำหรับปลาที่เลี้ยงในฟาร์ม โดยทีมนักวิจัยจากคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เป็นนวัตกรรมป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคเหงือกเน่า-ตัวด่าง และลดอัตราการเสียชีวิตของปลาจากความเครียดหลังจากได้รับการฉีดวัคซีนด้วยเข็มฉีดยา อีกทั้งเป็นวิธีที่เหมาะสมสำหรับการทำฟาร์มปลา
DeepGI โดยทีมนักวิจัยจากคณะวิศวกรรมศาสตร์และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เป็นปัญญาประดิษฐ์ที่ช่วยตรวจจับก้อนเนื้อมะเร็งในลำไส้ผ่านการส่องกล้อง สนับสนุนการวินิจฉัยของแพทย์และลดความผิดพลาดในการตรวจ
ศูนย์ UTC ไม่ได้สนับสนุนเฉพาะนักวิจัยจากจุฬาฯ เท่านั้น แต่ยินดีให้คำปรึกษาแก่นักวิจัยภายนอกที่มีงานวิจัยทางด้านเทคโนโลยีเชิงลึก โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ เทคโนโลยีทางการแพทย์ และเทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งเป็นจุดเน้นของศูนย์ฯ อย่างไรก็ตาม สำหรับนักวิจัยที่มีงานด้าน Deep Tech เรื่องอื่นๆ ศูนย์ UTC ก็พร้อมให้คำแนะนำ
นอกจากนี้ ดร.ประวีร์ กล่าวทิ้งท้ายว่านิสิตนักศึกษาที่สนใจ Deep Tech แต่ยังไม่มีผลงานวิจัย ก็สามารถเข้ามาฝึกงานและร่วมทีม UTC ได้เช่นกัน
ผู้สนใจสามารถติดต่อศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม (UTC) ได้ที่ โทร. 089-940-3241 หรืออีเมล utc@chula.ac.th และเข้าไปเยี่ยมชมผลงานนวัตกรรมจากเทคโนโลยีเชิงลึกทั้งหมดภายใต้การสนับสนุนจากศูนย์ UTC ได้ที่เว็บไซต์ https://www.eventpop.me/c/utcportfolio
หุ่นยนต์ดินสอรุ่นล่าสุด “Home AI Assistance” ผู้ช่วยประจำบ้านดูแลผู้สูงอายุตลอด 24 ชั่วโมง อีกก้าวของหุ่นยนต์สัญชาติไทย
Halal Route Application กิน เที่ยวทั่วไทย ปลอดภัยสไตล์ฮาลาล
ร้อยแก้วแนวต่างโลก! (Isekai) ชุบชีวิตวรรณคดีไทยด้วยรูปแบบร่วมสมัย โดนใจคนรุ่นใหม่
โคโค่แลมป์ แก้ปัญหาลูกเต่าหลงทาง นวัตกรรมพิทักษ์ชีวิตลูกเต่าทะเล จากนิสิตจุฬาฯ
ทางออกวิกฤตราคาโกโก้ไทย “ศูนย์นวัตกรรมการวิจัยและพัฒนาโกโก้ไทยเพื่อความยั่งยืน จุฬาฯ” เติมหวังให้เกษตรกรและธุรกิจโกโก้ไทย
จุฬาฯ น่าเที่ยว! เปิดพิกัดเที่ยวเพลินในจุฬาฯ ชมสถาปัตยกรรม พิพิธภัณฑ์ และดนตรี
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้