รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
13 มีนาคม 2566
ข่าวเด่น
ผู้เขียน ธิติรัตน์ สมบูรณ์
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล ที่แตกต่างจากการเรียนตามหลักสูตรทั่วไป มุ่งเน้นการผลิตกำลังคนดิจิทัลคุณภาพสูงจำนวน 300 คนต่อรุ่น เพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศที่ ขาดแคลนกำลังคนด้านนี้ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรของวงการศึกษาไทย ที่ต้องปรับตัวให้เกิดความแตกต่าง และตอบโจทย์ของโลกยุคใหม่ที่ต้องการบุคลากรที่มีทักษะตรงตามความต้องการของอุตสาหกรรม
เมื่อวันพุธที่ 8 มีนาคม 2566 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือกับบริษัทชั้นนำภาคเอกชนกว่า 30 บริษัท เพื่อให้การจัดการศึกษาหลักสูตร Sandbox ในคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อให้การเรียนในหลักสูตรตอบโจทย์ความต้องการของภาคอุตสาหกรรมอย่างแท้จริง โดยการทำหลักสูตรแบบ Co-Creation ที่บริษัทเอกชนจะสามารถเข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาหลักสูตรอย่างใกล้ชิดใน 5 ด้าน ได้แก่
ศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่า หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นรากฐานที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศด้านเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบัน สถานประกอบการต้องการกำลังคนด้านดิจิทัลจำนวนมากที่มีความรู้หลากหลาย และสามารถผสมผสานทักษะการทำงานและเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและก้าวทันกับเทคโนโลยีที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัลจึงได้เกิดขึ้นตามนโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยได้รับการอนุมัติหลักสูตรภายใต้กรอบนโยบายการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา (Higher education sandbox) และเชื่อมั่นว่าจะสามารถผลิตกำลังคนสมรรถนะสูงตามความต้องการของประเทศจำนวนมากได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความร่วมมือครั้งนี้ในส่วนของภาคเอกชนทุกบริษัทมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เข้าร่วมลงนามความร่วมมือนี้ เนื่องจากในปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมยังขาดแคลนบุคลากรด้านเทคโนโลยีดิจิทัลจำนวนมากและเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมานาน หลักสูตรใหม่ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพัฒนาขึ้นนี้สามารถตอบโจทย์และช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมได้จริง โดยภาคเอกชนที่เข้าร่วมในโครงการความร่วมมือครั้งนี้เชื่อว่าจะสามารถผลิตบัณฑิตคุณภาพสูงจำนวนมากและปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปได้อย่างรวดเร็ว บัณฑิตเหล่านี้จะเป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญต่อองค์กรภาคเอกชนต่อไป
ผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้จะมีความเชี่ยวชาญในการออกแบบ วิเคราะห์ และสร้างโปรแกรมประยุกต์ของระบบซอฟต์แวร์ การวิเคราะห์ข้อมูล ระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายกลุ่มเมฆ รวมถึงระบบปัญญาประดิษฐ์ และสามารถประยุกต์หลักการทางวิศวกรรมเพื่อการแก้ปัญหาในสาขาอาชีพอื่นด้วยคอมพิวเตอร์ได้เป็นอย่างดี
สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
เว็บไซต์: https://www.cp.eng.chula.ac.th/cedt
facebook: www.facebook.com/cedtengchula
จุฬาฯ – การบินไทย ผนึกกำลังทางวิชาการ แถลงความร่วมมือ “จุฬาฯ – การบินไทย: ความรู้คู่ฟ้า Chula-TG: Be the Star in the Sky of Knowledge”
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนาวิชาการ “ผลกระทบของแผ่นดินไหวต่อเขื่อนภูมิพล (ยันฮี)” แลกเปลี่ยนองค์ความรู้เพื่อการป้องกันและรับมือภัยพิบัติในอนาคต
6 พ.ค. 2568 เวลา 10.00 – 12.00 น.
ห้องประชุมชั้น 2 ตึก 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
นิเทศศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนาวิชาการและงานเปิดตัว “เรื่องของเรา” ภาพยนตร์จากงานวิจัย สู่สันติภาพชายแดนใต้
6 พฤษภาคม 2568 เวลา 16.30 - 19.30 น. โรงภาพยนตร์ลิโด้
จุฬาฯ ร่วมมือ UOB เปิดตัวระบบ Virtual Account สนับสนุนงานวิจัย
จุฬาฯ เปิดเวทีปาฐกถาเกียรติยศ “เวฬา ณ จุฬาลงกรณ์ฯ” ครั้งที่ 3 รับฟังวิสัยทัศน์ “การพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อฝ่าวิกฤติภัยพิบัติทางธรรมชาติ”
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ เชิญร่วมฟังเสวนา “ธุรกิจไทยหลังนโยบาย Trump”
2 พฤษภาคม 2568 เวลา 15.00 - 16.30 น. CBS Cinema อาคารไชยยศสมบัติ 1 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้