รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
15 มีนาคม 2566
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ
ผู้เขียน ธิติรัตน์ สมบูรณ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดย CU Innovation Hub ขอแสดงความยินดีกับทีมที่ได้รับรางวัลจากงาน “Chimnovate Hackathon 2022” การแข่งขัน Hackathon ข้ามประเทศสำหรับผู้สนใจด้าน Startup FoodTech และ Ecosystem หรือระบบนิเวศทางธุรกิจสำหรับอาหาร เพื่อพัฒนาธุรกิจจริงในตลาดสหรัฐอเมริกา ภายใต้โจทย์ “Revitalizing Thailand’s Gastrodiplomacy through Building & Scaling Virtual Restaurants in the USA“
การแข่งขันครั้งนี้เปิดให้ทีมต่าง ๆ ส่งผลงานเข้าร่วมการแข่งขันในช่วงเดือนธันวาคม 2565 โดยมี รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย Global Chief Innovation Officer จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวให้การต้อนรับผู้เข้าแข่งขัน เริ่มคลาสแรกด้วย Product Development โดยคุณสมเพชร คติสมสกุล Co-Founder & COO บริษัท SNEAK และผู้ก่อตั้ง 50 Milk Street
ผู้แข่งขันกว่า 70 คนทั้งชาวไทยและสหรัฐอเมริกามาจากหลากหลายอาชีพ ทั้งเชฟ ดีไซเนอร์ เจ้าของธุรกิจ นักการตลาด VR developer ฯลฯ โดยผลงานที่ได้รางวัลจาก 3 ทีมมีดังนี้
– รางวัลชนะเลิศ โปรเจกต์ ZWEI จากทีม INNOZITY ที่นำเทคโนโลยี VR มาผนวกเข้ากับการอบรมพนักงานในธุรกิจอาหาร ได้รับเงินรางวัล 50,000 บาท และโล่ประกาศเกียรติคุณ
– รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 โปรเจกต์ Chuck & Roll จากทีม Silver Spoon กับแผนธุรกิจแบบแฟรนไชส์ของอาหารจานไก่ ได้รับเงินรางวัล 30,000 บาท และโล่ประกาศเกียรติคุณ
– รองชนะเลิศอันดับ 2 โปรเจกต์ Season จากทีม Season ที่ได้พัฒนาแอปพลิเคชั่นสำหรับรวบรวม promotion ร้านอาหารผ่านการเล่าเรื่องด้วย comic และ animation ที่มาพร้อมกับ feature ต่าง ๆ ที่น่าสนใจ เช่น การวางแผนควบคุมแคลอรี่ หรือการคำนวณระดับการปล่อยคาร์บอนที่เกิดขึ้นจากการทำอาหารจานต่างๆ ได้รับเงินรางวัล 20,000 บาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ
ทั้งนี้ ทาง Chim Media Inc. มีแผนจะจัดการแข่งขัน Chimnovate Hackathon อีกครั้งในปี 2023
อธิการบดีจุฬาฯ รับพระราชทานโล่ประกาศเกียรติคุณมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริฯ ในพิธีต้อนรับเรือเสว่ยหลง 2 เยือนประเทศไทย
นักวิจัยจุฬาฯ ตัวแทนไทยร่วมคณะสำรวจแอนตาร์กติกบนเรือตัดน้ำแข็ง “เสว่ยหลง 2” จากจีน ตามรอยไมโครพลาสติก ถอดรหัสผลกระทบโลกร้อน สู่จิ๊กซอว์ความรู้เพื่อโลก
คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมนักจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตในองค์กร
บริษัทจำลองจุฬาฯ 2025 เปิดโครงการฝึกงานนิสิตภาคฤดูร้อน ภายใต้ปณิธาน “ทำงานด้วยใจ คืนกำไรสู่สังคม”
ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ ได้รับการรับรองให้เป็นผู้แทนประเทศไทยในสถาบันมาตรฐานและมาตรวิทยาแห่งประเทศอิสลาม
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้