รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
23 มีนาคม 2566
ข่าวเด่น
ผู้เขียน เมธาพร ไตรกิจวัฒนกุล
ศูนย์บริหารความเสี่ยง จุฬาฯ จัดโครงการอบรมสัมมนาด้านการเสริมสร้างคุณธรรมและความโปร่งใสของมหาวิทยาลัย (Chula Integrity Vibes : สร้างเสริมคุณธรรมสู่ค่านิยมชาวจุฬาฯ) ในปีงบประมาณ 2566 โดยกิจกรรมเสวนาในหัวข้อที่ 1 “สร้างเสริมระบบนิเวศเชิงคุณธรรมของคณะแพทยศาสตร์ จากก้าวแรกสู่ต้นแบบโรงเรียนแพทย์คุณธรรม” โดย ศ.พญ.บุรณี กาญจนถวัลย์ และทีมงานจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดขึ้นเมื่อวันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 10.00 – 12.00 น. เพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจแก่บุคลากรภายในต่อกระบวนการทำงานของมหาวิทยาลัยด้วยคุณธรรมและความโปร่งใส รวมถึงชี้แจงมาตรการป้องกันการทุจริตต่าง ๆ ที่มีอยู่ให้ชัดเจนและครอบคลุมทุกส่วนงาน เกิดการประสานเชื่อมโยงการทำงาน การสื่อสาร การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน และกระตุ้นการตอบแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในให้ครบ 400 รายก่อนสิ้นเดือนมิถุนายน 2566 มีผู้แทนความโปร่งใสและคุณธรรม (CU-ITA Agent) จากทุกส่วนงานเข้าร่วมกว่า 282 ท่าน
ในโอกาสนี้ ขอเชิญชวนคณาจารย์และบุคลากรที่ปฏิบัติงานมาแล้ว 1 ปีขึ้นไป ร่วมประเมินจุฬาฯ ผ่านแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายในได้ที่ https://itas.nacc.go.th/go/iit/jehbio (รหัสสำหรับระบุ Code หน่วยงาน : 10e1a3) ตั้งแต่บัดนี้ – 30 มิถุนายน 2566
ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2566 จุฬาฯ ได้ยกระดับมาตรฐานการปฏิบัติงานคุณธรรมความโปร่งใสผ่านแนวคิด “Open to Transparency เปิดประตูสู่ความโปร่งใส” ดังนี้
1. “เปิดเผยข้อมูล” จุฬาฯ ได้ให้ความสำคัญและเปิดข้อมูลที่จำเป็นตามมาตรฐานสู่สาธารณะผ่านเว็บไซต์ และวางมาตรการเชิงรุก 7 ด้าน อาทิ การป้องกันการรับสินบน การส่งเสริมความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้าง เป็นต้น
2. “เปิดโอกาส” ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งในและนอกจุฬาฯ เข้าร่วมประเมิน
3. “สร้างระบบที่ดี” การดำเนินการเปิดเผยข้อมูลอย่างเป็นระบบของมหาวิทยาลัยได้ถูกสำนักงาน ป.ป.ช. นำไปเป็นตัวอย่างที่ดี เพื่อให้ส่วนราชการและมหาวิทยาลัยอื่นๆได้เรียนรู้ต่อไป
ติดตามข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติม ภายใต้แนวคิด “Open to Transparency” ได้ที่ http://transparency.chula.ac.th/index
อาจารย์และนิสิตสถาปัตย์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษา Tokyo Metropolitan University ที่ญี่ปุ่น
อาจารย์และนิสิตภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษาจาก Faculty of Urban Environmental Sciences, Tokyo Metropolitan University ประเทศญี่ปุ่น (TMU)
จุฬาฯ ร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายสักการะและจัดพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเนื่องใน “วันนวมินทรมหาราช”
ละครนิเทศจุฬาฯ 2567 “ด้ายแดงเป็นเหตุ Unfortunate Love”
24 - 26 มกราคม 2568
ณ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ ชั้น 7 อาคารสยามสแควร์
จุฬาฯ ต้อนรับคณะศึกษาดูงานด้านการบริหารความเสี่ยงจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แบ่งปันประสบการณ์การพัฒนาระบบบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัย
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมเรื่อง “กัญชาทางการแพทย์: ความรู้ที่ต้องมีสำหรับเภสัชกรยุคใหม่”
11 ธ.ค. 67 เวลา 09.00 – 12.15 น.
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ และ Zoom
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมโครงการ “Next-Gen Arts: พัฒนาศักยภาพครูศิลปะด้วย Soft Power”
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้