รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
19 เมษายน 2566
ข่าวเด่น
ผู้เขียน Geert-Jan (GJ) van der Zanden , Sasin School of Management
บทความโดย Geert-Jan (GJ) van der Zanden Visiting Faculty และ Senior Advisor Sustainability Leadership, Sasin School of Management
การลดผลกระทบที่เกิดจากการเติบโตของประชากรและการทำลายสิ่งแวดล้อมจำเป็นต้องอาศัย “การเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ” ซึ่งจะเกิดขึ้นได้เมื่อผู้นำใช้สติในการบริหาร
เมื่อ 100 ปีก่อน จำนวนเด็กเกิดใหม่มีน้อยกว่า 2 พันล้านคน แต่เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2565 จำนวนประชากรโลกเพิ่มสูงขึ้นเกิน 8 พันล้านคนไปแล้ว แม้ว่าอัตราการเติบโตจะช้าลงไปบ้าง แต่ก็กล่าวได้ว่าประชากรโลกเพิ่มขึ้นประมาณ 200,000 คนต่อวัน แน่นอนว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจนี้นำมาสู่ความเจริญที่ยิ่งใหญ่ ให้คนเป็นพันๆ ล้านได้บริโภคอุปโภค อยู่อาศัย เดินทาง และเกิดการใช้บริการสารพัดรูปแบบ แต่โมเดลการเติบโตทางเศรษฐกิจของเรานั้นอยู่ที่บรรทัดฐานของความเชื่อที่เลื่อนลอยว่า เมื่อคนมากขึ้นการผลิตก็จะมากขึ้น เมื่อบริโภคมากขึ้นก็จะทำให้ GDP เพิ่มขึ้น และความเป็นอยู่ก็จะดีขึ้น แล้วเราก็ได้เรียนรู้ภายหลังว่าโมเดลที่เน้นเฉพาะความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจนั้นจะทำลายต้นทุนทางธรรมชาติ การมองประโยชน์อันใกล้จะทำให้เสียความมั่นคงระยะยาว และทำให้สังคมเกิดความแตกต่างมากขึ้น
เราเข้าสู่ยุคของการเติบโตทางเศรษฐกิจแบบผิดปกติ เราสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจด้วยต้นทุนของทุนทางธรรมชาติและสังคม เช่น สหรัฐอเมริกาหมดเงินประมาณหนึ่งแสนสองหมื่นล้าน – หนึ่งแสนเก้าหมื่นล้านเหรียญสหรัฐต่อปีไปกับการรักษาภาวะ burn out และซึมเศร้า เงินที่ใช้รักษาเหล่านั้นได้ถูกนับรวมไปใน GDP ของประเทศ งบประมาณที่สหรัฐใช้ไปทั้งหมด 2.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ในสงครามอิรัก- อาฟกานิสถานถูกนับเข้าไปใน GDP แต่ความสูญเสีย ชีวิตและทรัพย์สินที่เกิดขึ้นไม่ได้ถูกนับรวมไปด้วย
การเติบโตทางเศรษฐกิจแบบผิดปกตินำมาซึ่งผลเสียที่ตามมาต่อสิ่งแวดล้อม เพราะการที่เรานำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ก็เป็นการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกลับคืนสู่อากาศ เราสร้างขยะมากกว่าที่โลกจะรับไหว เมื่อปี 2552 ข้อมูลการศึกษาโดย Trucost ระบุว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจของเราต้องใช้ทุนทางธรรมชาติถึง 7.3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 13% ของ GDP โลก
การประเมินผลกระทบ
1) The rebound effect (ผลย้อนกลับ) เมื่อประสิทธิภาพในการผลิตเพิ่มขึ้นจะทำให้สินค้าราคาลดลงและกระตุ้นให้เราบริโภคมากขึ้น เช่น เมื่อมีเครื่องปรับอากาศประสิทธิภาพสูง เราก็ซื้อมาใช้มากขึ้น หรือเที่ยวบินถูกลงคนก็เดินทางมากขึ้น
2) “Unintended Consequences” (ผลที่ตามมาโดยไม่ได้ตั้งใจของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี) ข้อดีของเทคโนโลยีมักทำให้เรามองข้ามผลกระทบด้านลบ เช่น เทคโนโลยีใหม่อย่าง 5G สร้างความเหลื่อมล้ำมากขึ้น เนื่องจากการลงทุนในการเข้าถึงเทคโนโลยีนั้นจำกัดเฉพาะประชากรที่มีฐานะและพื้นที่ประชากรหนาแน่น
3) แนวโน้มที่เราเห็นจากตัวชี้วัดความยั่งยืนนั้นแสดงให้เห็นว่าไม่เพียงแต่เวลาเราใกล้จะหมดแล้ว เรายังไม่สามารถพึ่งพาการเติบโตของอาหาร แหล่งพลังงาน การขนส่ง และระบบโครงสร้างพื้นฐาน เราต้องใช้มาตรการที่เร่งด่วนเท่านั้น ในการเปลี่ยนแปลงสู่โมเดลความยั่งยืนที่โลกต้องมีนั้น เราต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบที่เฉียบขาด
เปลี่ยนอย่างไรให้ได้ผล
การเปลี่ยนแปลงเชิงระบบนั้นเป็นเรื่องยาก ระบบประกอบด้วยหลายฝ่าย ทั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและระบบย่อยที่เชื่อมกันซึ่งมีอยู่ในระดับสังคม สถาบัน วัฒนธรรม การเมือง เศรษฐกิจ เทคนิค และระบบนิเวศ ระบบย่อยเหล่านี้มักจำกัดอยู่ในการจัดการแบบส่วนใครส่วนมัน กระบวนการที่ขัดแย้งกัน และบทบาทผู้กำหนดนโยบายและผู้ดูแลระบบที่ไม่ได้ระบุความชัดเจนว่าใครทำอะไร ด้วยเหตุผลเหล่านี้ แต่ละระบบจึงเป็นเครือข่ายของการปฏิสัมพันธ์ที่ซับซ้อนและอาจส่งผลให้เกิดผลที่เราคาดไม่ถึงได้
ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบจะเกิดขึ้นเมื่อเงื่อนไขแบบ top-down ปฎิสัมพันธ์กับนวัตกรรมแบบ bottom-up ทั้งนี้ในการเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่แบ่งออกเป็น 4 ช่วง ดังนี้
1. กลยุทธ์: สร้างพื้นที่ในการเปลี่ยนแปลง โดยเน้นที่ “กลุ่มแนวหน้า” และการมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน
2. ยุทธวิธี: พัฒนาการเปลี่ยนผ่านที่เป็นรูปธรรม โดยหาวิธีที่เป็นไปได้และและอุปสรรคที่ต้องข้ามผ่าน
3. การดำเนินการ: ทำการทดลองและพยายามขยายผลสิ่งที่ทำแล้วได้ผลดี
4. การทบทวน: ติดตามและประเมินความก้าวหน้า
ขณะที่เราคิดว่าเราจะสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในด้านสังคม เทคนิค สภาพนิเวศ เรากำลังคิดถึงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ นโยบาย และความกาวหน้าทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ภาษี สิ่งจูงใจ รูปแบบการระดมทุนแบบแบ่งปันความเสี่ยง crowd sourcing และระบบการตรวจสอบที่ดี ล้วนเป็นสิ่งสำคัญ อย่างไรก็ตามคนส่วนใหญ่มักจะต่อต้านการเปลี่ยนแปลงที่ขัดแย้งกับบรรทัดฐานและค่านิยมที่ฝังแน่นอยู่ในใจ ดังนั้นเราจะต้องมุ่งเน้นการผลักดันให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตัดสินใจ
ด้วยเหตุผลนี้ผู้เชี่ยวชาญจึงเบนเข็มความสนใจไปที่ “แนวคิด” A 2015 paper พูดถึงการนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคมโดยเน้นแรงจูงใจแบบภายใน (“intrinsic”) ซึ่งอาจขึ้นอยู่กับเหตุผล อารมณ์ หรือค่านิยม หนังสือ“Thinking in Systems” โดย Donella Meadows ชี้ให้เห็นถึงจุดที่จะแทรกแซงแนวคิดได้ 3 จุดเพื่อการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ ได้แก่ 1) เมื่อมีการลำดับความสำคัญ และกลายมาเป็นวัตถุประสงค์ของระบบใหม่ 2) เมื่อมีความคิดที่จะนำไปสู่ระบบใหม่ 3) เมื่อสามารถก้าวข้ามกระบวนทัศน์ที่มีอยู่ แทนที่จะแค่ปรับเปลี่ยนอะไรที่มีอยู่ (ปี 2551)
การสอน Mindful Leaders
ถ้าเรามีความหวังที่จะหยุดการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ผิดปกติ สถาบันสอนบริหารธุรกิจต้องปลูกฝังความคิด ทักษะและเครื่องมือที่เหมาะสมให้กับผู้นำในอนาคตเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ วิธีที่ศศินทร์กำลังใช้อยู่ คือการสอน Mindful Leaders ให้มี skills 6 อย่าง คือ
1. Contextual curiosity (ความอยากรู้อยากเห็นเชิงบริบท) การถ่อมตนว่า ‘ไม่รู้’ และการคิดวิเคราะห์เพื่อแสวงหาความรู้จากแหล่งต่างๆ และการเชื่อมโยงข้อมูล โดยตระหนักถึงตัวกรองและอคติต่างๆ ความสามารถนี้ยังรวมถึงความสามารถในการเห็น ‘เทรนด์’ ก่อนที่เทรนด์จะชัดเจนและกลายเป็นความจริง
2. Future consciousness (การตระหนักถึงอนาคต) ความสามารถในการจินตนาการถึงอนาคตผ่านการคิดที่แตกต่าง โดยใช้มุมมองและฉากทัศน์ที่หลากหลาย ขณะเดียวกันใช้ความเห็นอกเห็นใจและเข้าใจคนต่างยุคสมัย
3. Systems range (ขอบเขตของระบบ) มี sense ของความรับผิดชอบในการเป็นผู้นำและการเอาใจใส่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการบริหารองค์กรให้มีประสิทธิภาพสูง ผู้นำต้องเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประกอบต่างๆของระบบ และสามารถคาดการณ์ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นได้ ทั้งผลกระทบที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ
4. Collaborative competence (ความสามารถในการทำงานร่วมกัน) ความสามารถในการสร้างความร่วมมือในการเปลี่ยนแปลงให้ประสบความสำเร็จ
5. Radical impact agility (ความสามารถในการปรับตัวรับผลกระทบที่เฉียบพลันได้) การมุ่งมั่นในการสร้าง impact แม้ว่าโลกจะเต็มไปด้วยความผันผวน ความซับซ้อน ความไม่แน่นอนก็ตาม ผู้นำที่ใช้ความตั้งใจในการเปลี่ยนแปลงและใช้แนวคิดแบบผู้ประกอบการ ตั้งคำถามอย่างต่อเนื่องและหาทางออกใหม่ๆเพื่อสร้าง impact และคุณค่าแบบใหม่
6. Purpose (วัตถุประสงค์) การรู้จักตนเอง ความซื่อสัตย์ เข็มทิศทางศีลธรรมและความชัดเจนของวิสัยทัศน์ที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อื่นเดินตามไปในทางที่ดีขึ้น
Pursuing Sufficiency, Not Excess (ใฝ่พอเพียง ไม่มากเกินไป)
การสอน Mindful Leadership ของศศินทร์รวมเอาหลักเศรษฐกิจพอเพียง“Sufficiency Economy” ซึ่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงริเริ่มขึ้นในปี 2540 พระองค์ทรงใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อรับมือกับความเสี่ยงที่นำไปสู่วิกฤตเศรษฐกิจในเวลานั้น ในวิสัยทัศน์ของพระองค์การพัฒนาเศรษฐกิจควรเป็นแบบองค์รวม แบบค่อยเป็นค่อยไปทั่วทั้งสังคมและเป็นไปอย่างระมัดระวังและต้องมองการณ์ไกลเพื่อป้องกันความผิดพลาด เศรษฐกิจพอเพียงได้รับการนำไปใช้อย่างประสบความสำเร็จในหลายภาคส่วนในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการเงิน ที่สามารถเพิ่มความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และลดความเสี่ยงและลดต้นทุน ซึ่งหลักการเศรษฐกิจพอเพียงนั้นได้นำคำสอนของพระพุทธศาสนามาใช้ ได้แก่
ทฤษฏีของเศรษฐกิจพอเพียงยังช่วยส่งเสริมคุณธรรมและความซื่อสัตย์ซึ่งเป็นเสาหลักที่สำคัญในการบริหารคุณภาพและเกี่ยวข้องโดยตรงกับการแก้ไขวิกฤตปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านความเชื่อใจ การฟอกเขียว และการให้ข้อมูลบิดเบือน เป็นต้น
การตระหนักถึงหน้าที่
ผู้นำทางธุรกิจที่คำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมสามารถนำหลักธรรมอื่นๆ มาปรับใช้ได้ ตัวอย่างเช่น Bob Thurman อดีตศาสตราจารย์ด้าน Indo-Tibetan Buddhist Studies มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย เคยอธิบายความเชื่อเรื่องการกลับชาติมาเกิดซึ่งกลายมาเป็นแรงจูงใจด้านความยั่งยืน เช่น การที่เราทำให้สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ และสังคมเสื่อมโทรมลงนั้นทำให้เราต้องใช้กรรมโดยทำให้เรากลับมาเกิดแบบแย่ลง เราจะสามารถมีโอกาสบรรลุนิพพานต่อเมื่อเราทำความดีเพื่อให้โลกดีขึ้น เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม สถาบันสอนธุรกิจไม่จำเป็นต้องสร้างศาสนาหรือประเพณี หรือปรัชญาเพื่อสอน Mindful Leaders เรื่องการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ โลกแบบ VUCA ในปัจจุบันต้องการผู้นำที่มองอนาคตระยะยาวและเข้าใจผลที่ตามมาในเชิงระบบ และสามารถตัดสินใจโดยการใช้วิจารณญาณ ไม่ใช่ความหลงใหล เราต้องการผู้นำที่มีความซื่อสัตย์ ที่สามารถความควบคุมตนเอง คำนึงถึงผู้อื่น และเข้าใจในความเชื่อและอคติที่ผู้อื่นมีในเรื่องของความต้องการและคุณค่า
สถาบันสอนบริหารธุรกิจมีหน้าที่ช่วยให้นิสิตนักศึกษาเข้าใจภาพรวมของโลก เพื่อให้นิสิตนักศึกษาสามารถสร้างสังคมที่มนุษย์ และธรรมชาติสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างกลมกลืนและมีอนาคตที่ยั่งยืน
ในแปดนาทีที่คุณอ่านบทความนี้ โลกได้สูญเสียพื้นที่ป่าที่เท่ากับสนามฟุตบอลประมาณ 100 สนามไปแล้ว
ศ.ดร.นพ.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล อดีตรองอธิการบดีจุฬาฯ ได้รับรางวัลบุคคลดีเด่น ประเภทบริหาร ด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2567 จากกระทรวงสาธารณสุข
จุฬาฯ เปิดโครงการอบรมครู “พิพิธภารัต 2567” และพิธีลงนาม MOU ส่งเสริมการสอนภาษาฮินดี
เชิญชวนนิสิตร่วมโครงการประเมินผลการเรียนการสอนออนไลน์ผ่านระบบ myCourseVille
อาจารย์และนิสิตสถาปัตย์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษา Tokyo Metropolitan University ที่ญี่ปุ่น
อาจารย์และนิสิตภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษาจาก Faculty of Urban Environmental Sciences, Tokyo Metropolitan University ประเทศญี่ปุ่น (TMU)
จุฬาฯ ร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายสักการะและจัดพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเนื่องใน “วันนวมินทรมหาราช”
ละครนิเทศจุฬาฯ 2567 “ด้ายแดงเป็นเหตุ Unfortunate Love”
24 - 26 มกราคม 2568
ณ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ ชั้น 7 อาคารสยามสแควร์
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้