ข่าวสารจุฬาฯ

จุฬาฯ ลงนามความร่วมมือ NIPS ประเทศญี่ปุ่น

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลงนามความร่วมมือกับ National Institute for Physiological Sciences (NIPS) ประเทศญี่ปุ่น โดยมีผู้บริหารจากสองสถาบันเข้าร่วมพิธีลงนามสร้างความร่วมมือในครั้งนี้ นำโดย ศ.นพ.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี จุฬาฯ รศ.ดร.พรรณี ชีวินศิริวัฒน์ ผู้ช่วยอธิการบดีงานด้านวิจัย จุฬาฯ Prof. Junichi Nabekura, M.D., Ph.D. ผู้อำนวยการสถาบัน NIPS และProf. Yoshihiro Kubo, M.D., Ph.D. รองผู้อำนวยการสถาบัน NIPS เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2566 ณ ห้องประชุม 202 ชั้น 2 อาคารจามจุรี 4 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รศ.ดร.พรรณี ชีวินศิริวัฒน์ ผู้ช่วยอธิการบดี จุฬาฯ กล่าวถึงการลงนามในครั้งนี้ว่า จุฬาฯ เป็นหนึ่งในสถาบันที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการของประเทศไทย โดยมีนโยบายเพื่อสร้างผู้นำแห่งอนาคต การสร้างงานวิจัยและนวัตกรรมที่สร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับสังคม และการสร้างความยั่งยืนให้เกิดขึ้นในอนาคต และมีเป้าประสงค์เฉกเช่นเดียวกับ NIPS ประเทศญี่ปุ่น แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของโอกาสที่มีเป้าหมายร่วมกันระหว่างสองสถาบัน เพื่อให้เกิดการสร้างสัมพันธ์อันดีอย่างเป็นทางการในการแลกเปลี่ยนความรู้และความเชี่ยวชาญ ในการวางขอบเขตของความรู้และสำรวจวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแนวทางใหม่ ๆ ด้วยการทำงานร่วมกันเพื่อให้เกิดผลงานการวิจัยอันเป็นที่ประจักษ์สูงสุด

โอกาสนี้ได้มีการนำเสนอเนื้อหาการวิจัยจากผู้ทรงคุณวุฒิจากทั้งสองสถาบัน ในเรื่อง “A novel pathophysiological mechanism of the GIRK channelopathy” บรรยายโดย Prof. Yoshihiro Kubo, Ph.D. รองผู้อำนวยการ National Institute for Physiological Sciences (NIPS) ประเทศญี่ปุ่น และเรื่อง “Neural mechanisms of retrospective fear; revisiting James-Lange theory of emotion with optogenetics in mice” บรรยายโดย รศ.ภก.ดร.ธงชัย สุขเศวต ภาควิชาเภสัชวิทยาและสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


โดยความร่วมมือนี้เกิดจาก รศ.ภก.ดร.ธงชัย สุขเศวต คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ได้ทุนทำงานวิจัยระยะสั้นที่ National Institute for Physiological Sciences (NIPS) ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นสถาบันที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านสรีรวิทยา แล้วพัฒนางานวิจัยจนได้รับการตีพิมพ์ร่วมกันเรื่อยมา จนในปี 2554 คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ลงนามความร่วมกับ NIPS เป็นครั้งแรกจึงเกิดเป็นความร่วมมือในระดับคณะ และระดับมหาวิทยาลัยตามลำดับจากการขยายผลความร่วมมือของ ศ.ดร.สุจินดา มาลัยวิจิตรนนท์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยไพรเมทแห่งชาติ จุฬาฯ โดยปัจจุบันได้มีผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์อาคันตุกะจากจุฬาฯ ไปที่ NIPS ประเทศญี่ปุ่น 7 คนจากคณะเภสัชศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ และสัตวแพทยศาสตร์ และมีแลกเปลี่ยนนักศึกษาปริญญาเอกร่วมกัน รวมทั้งมีการจัดการประชุมแสดงผลงาน International Brain Research Organization (IBRO) Asia-Pacific Neuroscience School และการจัดสัมมนาระหว่างประเทศร่วมกันที่ประเทศไทย ร่วมถึงการได้มีโอกาสตีพิมพ์งานวิจัยในวารสารชื่อดัง ปัจจุบันมีนักวิจัยไทยจากจุฬาฯ ได้รับการตีพิมพ์งานวิจัยร่วมกันเป็นจำนวนถึง 12 บทความ โดยทาง NIPS มีทุนสนับสนุนให้คณาจารย์และนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาเพื่อการวิจัยโดยเฉพาะ ศึกษาข้อมูลของสถาบันได้ที่ https://www.nips.ac.jp/eng/

อนึ่ง ศูนย์วิจัยไพรเมทแห่งชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (NPRCT-CU) ได้รับการรับรองมาตรฐานการเลี้ยงและใช้สัตว์ทดลองในด้านวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติจาก AAALAC (The Association for Assessment and Accreditation of Laboratory Animal Care International) และเป็นศูนย์วิจัยไพรเมทที่แรกและที่เดียวของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน OECD-GLP โดยมีการดูแลและการใช้สัตว์อย่างมีมนุษยธรรมและการปฏิบัติที่ดี รวมถึงการมีอาชีวอนามัยและความปลอดภัยสำหรับบุคลากรที่ปฏิบัติงาน การวิจัยและการตรวจสอบในการทดลองมีคุณภาพสูงสุด ทำให้มีความน่าเชื่อถือและสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้อย่างครบถ้วน รองรับการวิจัยและพัฒนายาตัวใหม่ สร้างรายได้และเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานเทคโนโลยีชีวภาพของไทย

ศึกษาข้อมูลของศูนย์วิจัยไพรเมทแห่งชาติ จุฬาฯ ได้ที่ โทร. 0-2218-9473

Website: https://nprct.org/

Email: nprct.cu@chula.ac.th

Facebook: https://www.facebook.com/NPRCTCU/?_rdc=1&_rdr


ภาพ : ณัฐริณีย์ พร้อมวงศ์ ศูนย์สื่อสารองค์กร จุฬาฯ

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า