รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
11 พฤษภาคม 2566
ข่าวเด่น
ผู้เขียน ธิติรัตน์ สมบูรณ์
โควิด-19 ได้เปลี่ยนเป็นโรคประจำฤดูกาล ขณะนี้กำลังจะเข้าสู่ฤดูกาลระบาดของโรคคือในฤดูฝนหรือช่วงนักเรียนเปิดเทอมแรก โควิด-19 ยังคงเป็นโรคติดต่อที่ควรเฝ้าระวัง เนื่องจากจำนวนผู้ติดเชื้อยังคงมีอย่างต่อเนื่อง แม้อาการของโรคจะลดความรุนแรงลงก็ตาม ในขณะที่หลายคนยังพะวงกับการระบาดของโควิด-19 มีข้อมูลจากนักวิจัยพบว่ายังมีกลุ่มผู้ที่ไม่เคยติดเชื้อโควิด-19 หรือที่เรียกว่ากลุ่ม “โนวิด”
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้ให้ข้อมูลว่า โนวิด (Novid) เป็นชื่อเรียกบุคคลที่ใกล้ชิดผู้ป่วยโควิด แล้วไม่ติดเชื้อ “โนวิด” มาจากการรวมคำว่า No” และ “COVID” เข้าด้วยกัน ซึ่งหมายถึงสถานการณ์ที่หลายคนสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโควิด เช่นบุคคลในครอบครัวเป็นโควิด แม่ ลูกใกล้ชิดกันมากแต่ไม่ติดเชื้อ ผู้ที่ทำงานในสถานที่ที่มีคนอยู่เป็นจำนวนมาก หลีกเลี่ยงยาก เช่น ในสถานบันเทิง ตลาด สัมผัสผู้คนจํานวนมาก แต่ก็ไม่เป็นโควิดในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19
“ปัจจุบันพบคนที่ยังไม่ติดโควิด-19 น้อยกว่า 20% ทั้งนี้มีบางคนอาจปฏิบัติอย่างเคร่งครัด จึงทำให้ยังไม่ติด แต่บางคนก็อยู่ในสถาการณ์สัมผัสโรค แต่กลับไม่ติด ซึ่งอยู่ในกลุ่มที่เรียกว่าโนวิด” ศ.นพ.ยง กล่าว
งานวิจัยหลากหลายแห่งได้ให้ความสนใจทางพันธุกรรมหรือยีนบางอย่างที่มีกลไกในการต้านทานการรับเชื้อ จากงานวิจัยพบผู้ป่วย HIV อาจจะมียีนจําเพาะต่อต้านการเข้าเซลล์ของเชื้อ HIV ในโควิด ซึ่งยังไม่รู้แน่ชัดว่ามียีนต้านทานโควิดหรือไม่ เชื่อว่ามีเพียงจำนวนน้อยมาก มีการดำเนินการวิจัยอยู่จากหลายภาคส่วน เพื่อหาวิธีการรับมือกับโรคระบาดต่อไป
ศ.นพ.ยงให้ข้อมูลว่าการระบาดรอบใหม่ของโควิด-19 ด้วยโควิดสายพันธุ์ดาวดวงแก้ว, Arctulus (XBB.1 .16) ได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 โควิดสายพันธุ์ใหม่นี้ ความรุนแรงไม่แตกต่างจากสายพันธุ์เดิม แต่สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว
โควิดสายพันธุ์ดาวดวงแก้ว (XBB.1.16) เป็นสายพันธุ์ใหม่ที่มีต้นกำเนิดขึ้นในประเทศอินเดียและได้รับการรายงานว่าเข้ามาในประเทศไทยในช่วงต้นปี 2566 ซึ่งเข้ามาแทนที่สายพันธ์ุที่แพร่กระจายในปัจจุบันอย่างสายพันธุ์ปลาหมึกยักษ์ (Kraken) XBB.1.5 การติดต่อและการแพร่กระจายของสายพันธุ์นี้เป็นไปอย่างรวดเร็วมากขึ้นประมาณ 1.2 เท่า และระบาดมากกว่า 30 ประเทศแล้ว ซึ่งประเทศไทยก็คงหนีไม่พ้นโควิด-19 สายพันธุ์ดาวดวงแก้วเข้ามาแทนที่สายพันธุ์ปลาหมึกยักษ์
ศ.นพ.ยง ชี้ว่าโควิด-19 สายพันธุ์ดาวดวงแก้ว (XBB.1.16) ไม่ได้รุนแรงไปกว่าสายพันธุ์เดิม แต่แพร่ระบาดง่าย เมื่อมีผู้ป่วยจำนวนมากก็ต้องพบผู้ป่วยอาการมากเป็นอัตราส่วนปกติ การดูแลรักษาผู็ป่วยก็ยังคงใช้วิธีการเช่นเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเฝ้าระวังอันตรายในกลุ่มเสี่ยง 608 และเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 2 ปี
วัคซีนเป็นเครื่องมือสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 และช่วยลดความรุนแรงของโรค วัคซีน COVID-19 มีจำนวนมากให้เลือก ซึ่งสามารถป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 และลดความรุนแรงของโรคได้ รวมถึงการฉีดเข็มกระตุ้น ปีละครั้ง แนะนำให้วัคซีน COVID-19 เพื่อลดความรุนแรงของโรค โดยเฉพาะในกลุ่มเปราะบางและกลุ่มเสี่ยง ในช่วงจุดสูงสุดการระบาดที่กำลังเกิดขึ้นในช่วงฤดูฝน การให้วัคซีนกระตุ้นอาจพิจารณาให้ในผู้ที่เสี่ยงต่อการติดโรค เช่น ผู้ที่สัมผัสกับผู้คนเป็นจำนวนมาก บุคลากรด่านหน้า คล้ายกับการให้วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ส่วนในคนปกติที่มีอายุน้อยกว่า 60 ปี ก็คงขึ้นอยู่กับความสมัครใจ
“นอกจากการฉีดวัคซีนแล้ว การป้องกันโรค COVID-19 ก็เป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน ซึ่งก็เหมือนกับวิธีการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อทางเดินหายใจอื่น ๆ แนะนำให้ปฏิบัติตามมาตรการเบื้องต้น เช่น ใส่หน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในที่สาธารณะ รักษาความสะอาดโดยใช้น้ำสบู่หรือแอลกอฮอล์เจล และหลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือการหายใจใกล้ชิดกับผู้ที่มีอาการเจ็บป่วย” ศ.นพ.ยง กล่าวทิ้งท้าย
อาจารย์และนิสิตสถาปัตย์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษา Tokyo Metropolitan University ที่ญี่ปุ่น
อาจารย์และนิสิตภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษาจาก Faculty of Urban Environmental Sciences, Tokyo Metropolitan University ประเทศญี่ปุ่น (TMU)
จุฬาฯ ร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายสักการะและจัดพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเนื่องใน “วันนวมินทรมหาราช”
ละครนิเทศจุฬาฯ 2567 “ด้ายแดงเป็นเหตุ Unfortunate Love”
24 - 26 มกราคม 2568
ณ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ ชั้น 7 อาคารสยามสแควร์
จุฬาฯ ต้อนรับคณะศึกษาดูงานด้านการบริหารความเสี่ยงจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แบ่งปันประสบการณ์การพัฒนาระบบบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัย
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมเรื่อง “กัญชาทางการแพทย์: ความรู้ที่ต้องมีสำหรับเภสัชกรยุคใหม่”
11 ธ.ค. 67 เวลา 09.00 – 12.15 น.
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ และ Zoom
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมโครงการ “Next-Gen Arts: พัฒนาศักยภาพครูศิลปะด้วย Soft Power”
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้