รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
22 พฤษภาคม 2566
ข่าวเด่น, งานวิจัยและนวัตกรรม
ผู้เขียน เมธาพร ไตรกิจวัฒนกุล
สำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานเปิดตัวศูนย์นวัตกรรมการวิจัยและพัฒนาโกโก้ไทยเพื่อความยั่งยืน (The Innovation Center for Research and Development of Sustainable Cocoa Thailand : ISTC) เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 พฤษภาคม 2566 ณ ห้อง 702 อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (อาคารจามจุรี 10) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี ศ.ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ รองอธิการบดีด้านการวิจัย จุฬาฯ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน ในงานมีการบรรยายเรื่อง “Passion & Vision in ISTC” จากนั้น ผศ.ดร.ธัญศิภรณ์ ณ น่าน หัวหน้าโครงการนวัตกรรมการจัดการห่วงโซ่คุณค่าโกโก้ในระบบนิเวศทางธุรกิจโกโก้น่าน กล่าวถึงพันธกิจของศูนย์นวัตกรรมการวิจัยและพัฒนาโกโก้ไทยเพื่อความยั่งยืน (ISTC)
สำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ดำเนินโครงการนวัตกรรมการจัดการห่วงโซ่คุณค่าโกโก้ในระบบนิเวศทางธุรกิจโกโก้น่าน ภายใต้ทุนสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมทางสังคมและการประเมินผลกระทบทางสังคม กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช ปีงบประมาณ 2565 เพื่อการพัฒนางานวิจัยสู่การเป็นนวัตกรรมทางสังคมที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม รวมถึงการเป็นผู้ประกอบการสังคมเพื่อสร้างความยั่งยืนผ่านการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมการวิจัยและพัฒนาโกโก้ไทยเพื่อความยั่งยืน (ISTC) ภายใต้โครงสร้างของบริษัท ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมจามจุรี จำกัด
ผศ.ดร.ธัญศิภรณ์ ณ น่าน หัวหน้าโครงการนวัตกรรมการจัดการห่วงโซ่คุณค่าโกโก้ในระบบนิเวศทางธุรกิจโกโก้น่าน เปิดเผยว่า “ศูนย์นวัตกรรมการวิจัยและพัฒนาโกโก้ไทยเพื่อความยั่งยืน” (ISTC) มีภารกิจหลักในการศึกษาวิจัย พัฒนานวัตกรรม เทคโนโลยี และยกระดับการจัดการคุณภาพผลผลิตและผลิตภัณฑ์โกโก้ไทย การให้บริการข้อมูลและองค์ความรู้เพื่อเพิ่มสมรรถนะและศักยภาพ “คนโกโก้” ในทุกหน่วยธุรกิจโกโก้ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ควบคู่ “การพัฒนาคุณภาพเมล็ดโกโก้และผลิตภัณฑ์จากโกโก้ไทย” บนฐานทุนด้านวิชาการหลากหลายศาสตร์ และความร่วมมือของสำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร จุฬาฯ คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ และบริษัทกาดโกโก้ จำกัด รวมถึงการสร้างเครือข่ายผู้ผลิตและตลาด พร้อมกับการเชื่อมโยงทุกหน่วยธุรกิจโกโก้ให้สามารถส่งต่อผลผลิตที่มีคุณภาพเข้าสู่ห่วงโซ่คุณค่าโกโก้ไทย นอกจากนี้ยังมีการให้บริการด้านการรับรองคุณภาพ ด้วยนวัตกรรมการจัดการคุณภาพผลผลิตโกโก้ และระบบรับรองมาตรฐานคุณภาพเมล็ดโกโก้ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนโกโก้ไทยให้สามารถยกระดับคุณภาพและมาตรฐานสู่เวทีโลก
ISTC ได้ลงนามความร่วมมือกับ Fine Cocoa Chocolate Institute (FCCI) ซึ่งเป็นหน่วยงานระดับสากลด้านระบบคุณภาพและมาตรฐานเมล็ดโกโก้และเป็นที่ยอมรับทั่วโลก นอกจากนี้ยังสร้างความร่วมมือทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาสังคม และเอกชนในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งเป็นกลไกการเสริมสร้างและพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันด้านคุณภาพเมล็ดโกโก้ไทย พร้อมกับการเพิ่มศักยภาพและยกระดับขีดความสามารถของผู้ประกอบการโกโก้ในท้องถิ่น รวมทั้งยังเป็นการสร้างโอกาสแก่กลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ประกอบธุรกิจโกโก้ต่างประเทศ
เป้าหมายในระยะยาว ISTC มุ่งสู่การเป็นศูนย์บ่มเพาะและสนับสนุน Startup ให้มีศักยภาพ สามารถเติบโตเป็นธุรกิจโกโก้ที่ยั่งยืน โดยได้มีการระดมทุนและจัดหาทุนในการส่งเสริมองค์ความรู้แก่เกษตรกรและผู้ที่สนใจเข้าฝึกอบรมหลักสูตรการเรียนรู้ด้านต่างๆ นอกจากนี้ในมิติแห่งความยั่งยืนด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ISTC ได้ทำการศึกษาและประเมินความยั่งยืนของแหล่งเพาะปลูกโกโก้ เพื่อส่งมอบคุณค่าและมูลค่าผ่านผลตอบแทนเชิงสังคมกลับคืนแก่เครือข่ายผู้สนับสนุน ISTC ในระดับต่างๆ ต่อไป
เชิญร่วมงานกาชาด ปี 2567 ที่สวนลุมพินี แวะร้านกาชาดจุฬาฯ
ครุศาสตร์ จุฬาฯ เปิดรับสมัครนิสิตใหม่หลักสูตรปริญญาโท – เอก สาขาวิชาบริหารการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2568
จุฬาฯ ติดอันดับ TOP 16 ของเอเชีย และอันดับ 1 ของประเทศไทยใน 2025 QS Sustainability Rankings
จุฬาฯ ทูลเกล้าฯ ถวายฉลองพระองค์ครุยพระบรมราชูปถัมภกแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และจัดการแสดงดนตรี “รวมใจภักดิ์ เฉลิมทศมจักรีนฤบดินทร์ : มหาดุริยางค์ไทย – สากล”
นิสิตคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ชนะเลิศการนำเสนอผลงานวิจัยในการประชุม International Medical Student Research Conference (IMRC) 2024
ขอเชิญบุคลากรจุฬาฯ ร่วมงาน “Chula Townhall” อธิการบดีพบประชาคมจุฬาฯ
19 ธ.ค. 67 เวลา 12.00 น.
ศาลาพระเกี้ยว
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้