เชิญร่วมงาน “เข้าใจ-เข้าถึง พหุวัฒนธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในการบริการสุขภาพ” ครั้งที่ 2

สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสำนักงานบริหารวิชาการสุขภาพโลก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย ขอเชิญผู้สนใจร่วมงาน “เข้าใจ-เข้าถึง พหุวัฒนธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในการบริการสุขภาพ” ครั้งที่ 2 ในวันพุธที่ 24 พฤษภาคม 2566 เวลา 12.25 – 15.35 น. ณ ห้อง 1216 ชั้น 12 อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
รับฟังการเปิดพื้นที่ใหม่แบบสหวิทยาการระหว่างการบริการสุขภาพกับความหลากหลายของวัฒนธรรม โดยมี ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักบริการวิชาการสุขภาพโลก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวเปิดงาน รศ.ดร.นพ.จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล กล่าวถึงความสำคัญของพหุวัฒนธรรมกับการพัฒนามาตรฐานคุณภาพสถานพยาบาล (HA)
ฟังการบรรยายในหัวข้อที่หลากหลายจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ
– เวลา 13.00 – 13.45 น.การบรรยายนำเรื่อง “แรงงานข้ามชาติกับการบริการสุขภาพในสังคมไทย” โดย ศ.กิตติคุณ ดร.สุภางค์ จันทวานิช ที่ปรึกษาศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชียศึกษา (ARCM) สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ และคุณอดิสร เกิดมงคล ผู้เชี่ยวชาญแรงงานข้ามชาติ
– เวลา 13.45 – 15.05 น. การบรรยายเรื่อง “มุมมองจากผู้รับและผู้ให้บริการทางการแพทย์ที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม” โดยนายหมวดโท จิระวดี อิศรางกูร ณ อยุธยา คุณบุญธิดา ชินวงษ์ คุณพัด ตัวแทนคนไร้บ้าน คุณปวีณา วารีใส ผู้ดูแลผู้ป่วยระยะท้าย ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.เจษฎา ศาลาทอง อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ
– เวลา 15.05 – 15.35 น. เปิดเวทีแลกเปลี่ยนสรุปประเด็นและกล่าวปิดงานโดย รศ.ดร.ภาวิกา ศรีรัตนบัลล์ ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ
ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนได้ที่ https://docs.google.com/forms/d/1GKjuifSjzMvuXtL-WPeQzgNf8I8STEtIBHPcwjNmsTc/viewform?edit_requested=true
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่
สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ โทร. 0-2218-7464 หรือผ่านทาง Facebook:
https://www.facebook.com/ias.chula/
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ โทร. 0-2256-4183 หรือผ่านทาง Facebook:
https://www.facebook.com/MDCU.chulalongkornuniversity/?locale=th_TH


จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย