รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
6 มิถุนายน 2566
ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ, งานวิจัยและนวัตกรรม
ผู้เขียน ขนิษฐา จันทร์เจริญ
ศ.ร.ต.อ.หญิง ภญ.ดร.สุชาดา สุขหร่อง คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ และนักวิจัยจากศูนย์ความเชี่ยวชาญด้านดีเอ็นเอบาร์โค้ดของพืชสมุนไพรไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.กรรณิกา ทองขาว และ ภก.ชยพล ตั้งพัฒน์ทอง คว้ารางวัลเหรียญทองและได้รับรางวัลพิเศษ (Special award) จำนวน 2 รางวัล ได้แก่ รางวัล FIRI Award ในประเภทนวัตกรรมยอดเยี่ยม (The Best Invention) จากองค์กรด้านนวัตกรรม “The first institute of inventors and researchers of Iran” (FIRI) จากสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน และ รางวัลพิเศษ จากองค์กรด้านนวัตกรรม “INDUSTRIAL PROPERTY OFFICE OF THE CZECH REPUBLIC THE CZECH METALLURGICAL SOCIETY” จากสาธารณรัฐเช็ก จากการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมระดับนานาชาติ The 16th International Invention and Innovation Show (INTARG 2023) เมื่อวันที่ 24 – 25 พฤษภาคม 2566 ณ Katowice International Conference Centre เมืองคาโตไวซ์ สาธารณรัฐโปแลนด์ จากผลงานนวัตกรรม “Rapid DNA immunochromatographic assay for detection of toxic Aristolochia species, the plants responsible for aristolochic acid nephropathy” (ชุดตรวจดีเอ็นเออย่างรวดเร็วแบบแถบสีที่จําเพาะต่อพืชพิษสกุลอริสโทโลเกียที่ทําให้เกิดโรคไตจากกรดอริสโทโลคิก)
งานประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมครั้งนี้ มีจำนวนผู้เข้าร่วมจากทั่วโลกทั้งสิ้นกว่า 30 ประเทศ จำนวนมากกว่า 300 ผลงาน โดยประเทศไทยมีจำนวนหน่วยงานที่เข้าร่วมมากถึง 29 ผลงาน จาก 19 หน่วยงาน ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ลพบุรี โรงเรียนสตรีวิทยา และโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย การเข้าร่วมงานประกวดนวัตกรรมครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
สำหรับที่มาของนวัตกรรมนี้เกิดจากความสนใจในเรื่องสมุนไพรไคร้เครือ ซึ่งเป็นส่วนรากของพืชในสกุลอริสโทโลเกีย (Aristolochia) ที่ใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลก รวมทั้งเป็นองค์ประกอบของตำรับยาไทย มีสรรพคุณแก้พิษไข้ เจริญอาหารชูกำลัง แต่พืชในสกุลดังกล่าวมีกรดอริสโทโลคิก (Aristolochic acid) เป็นองค์ประกอบทางเคมี ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์และทำให้เกิดโรคไตได้หลายชนิด เช่น ไตวาย มะเร็งไต และมะเร็งทางเดินปัสสาวะ จากการติดตามการใช้สมุนไพรไคร้เครืออย่างต่อเนื่องโดยทีมคณะผู้วิจัยของศูนย์ความเชี่ยวชาญด้านดีเอ็นเอบาร์โค้ดของพืชสมุนไพรไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมี ศ.ร.ต.อ.หญิง ภญ.ดร.สุชาดา สุขหร่อง เป็นหัวหน้าศูนย์ฯ พบว่ายังมีการจำหน่ายและยังมีการผสมพืชในสกุลนี้ในตำรับยา
นวัตกรรม “ชุดตรวจดีเอ็นเออย่างรวดเร็วแบบแถวสีที่จำเพาะต่อพืชพิษสกุลอริสโทโลเกีย” ประกอบด้วย ชุดไพรเมอร์ที่ติดแอนติเจน (Antigen-labeled primer set) และแถบชุดตรวจแสดงผล (Lateral flow test kit)สามารถใช้ในการตรวจสอบการมีอยู่ของพืชในสกุลอริสโทโลเกีย เช่น สมุนไพรไคร้เครือ ในตัวอย่างยาสมุนไพรหลายรูปแบบ เช่น เครื่องยา ผงยา สูตรตำรับ ยาลูกกลอนได้อย่างแม่นยำและถูกต้อง มีความไวสูง ใช้งานง่าย สามารถแปลผลได้ด้วยตาเปล่า ภายใน 90 นาที โดยการอ่านแถบสีที่มีลักษณะคล้ายแถบสีที่ตรวจวิด-19 หรือตรวจการตั้งครรภ์ โดยสามารถใช้ “ชุดตรวจดีเอ็นเออย่างรวดเร็วแบบแถบสีที่จำเพาะต่อพืชพิษสกุลอริสโทโลเกีย” ในการตรวจสอบวัตถุดิบสมุนไพรสำหรับผู้ประกอบการหรือตรวจสอบผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปสำหรับหน่วยงานสาธารณสุขของรัฐ ตลอดจนหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย ทั้งนี้ทางศูนย์เชี่ยวชาญฯ มีความตั้งใจที่จะพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมดังกล่าวให้ตรวจได้รวดเร็วขึ้นอีก และสามารถใช้งานได้ง่าย ณ จุดที่ต้องการตรวจ และทำให้ประชาชนทั่วไปสามารถทดสอบยาสมุนไพรที่บริโภคอยู่ได้เอง
PMCU ร่วมกับ “ศิลปินรวมใจเปิดหมวก” ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมภาคเหนือ กับคอนเสิร์ตเปิดหมวก ตอน “น้ำลดเพื่อนผุด” @SiamSquare Walking Street
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2566 เป็นวันที่สาม
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ ร่วมกับ Degree Plus เปิดอบรมหลักสูตรผู้บริหาร “Decentralized Finance and Blockchain”
วิศวฯ จุฬา จัดเสวนา “เข้าใจน้ำท่วม แนวคิดวิศวกร”
10 ต.ค. 67 เวลา 14.00 น.
ห้องประชุมชั้น 2 อาคารเจริญวิศวกรรม (ตึก 4) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2566 เป็นวันที่สอง
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์พระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตจุฬาฯ ปีการศึกษา 2566
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้