รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
12 มิถุนายน 2566
ข่าวเด่น, ความเป็นนานาชาติ
ผู้เขียน เมธาพร ไตรกิจวัฒนกุล
สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Sasin School of Management) และ บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGC ธุรกิจเคมีภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน ร่วมจัดการแข่งขัน SCG Bangkok Business Challenge @ Sasin 2023 Global Competition การแข่งขันแผนธุรกิจสตาร์ตอัประดับโลกภาคภาษาอังกฤษสำหรับนิสิต นักศึกษา ซึ่งจัดขึ้นต่อเนื่องยาวนานที่สุดในเอเชีย ภายใต้แนวคิด “Growing Impactful Ventures” สำหรับปีนี้ มีทีมจากทั่วโลกสมัครเข้าร่วมแข่งขันทั้งสิ้น 172 ทีม จาก 42 สถาบันอุดมศึกษา ใน 16 ประเทศ ครอบคลุม 5 ทวีป และมีทีมที่ผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศทั้งสิ้น 19 ทีม พร้อมด้วยทีมชนะเลิศจากการแข่งขันรอบประเทศไทยอีก 1 ทีม รวมทั้งสิ้น 20 ทีม ซึ่งจะทำการแข่งขันในวันที่ 22 – 24 มิถุนายน 2566 ที่สถาบันบัณฑิตฯ ศศินทร์
ศาสตราจารย์ ดร. เอียน เฟนวิค ผู้อำนวยการสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ กล่าวว่า “ศศินทร์จัดการแข่งขัน SCG Bangkok Business Challenge @ Sasin อย่างต่อเนื่อง โดยมี SCGC ธุรกิจเคมีภัณฑ์ระดับภูมิภาคร่วมเป็นเจ้าภาพที่แข็งแกร่งตลอดมา ร่วมกันส่งเสริมแพลตฟอร์มให้กับสตาร์ตอัปเสริมสร้าง ecosystem ความคิดสร้างสรรค์ และขับเคลื่อนนวัตกรรมด้วยกรอบแนวคิดแบบผู้ประกอบการมอบโอกาสเพื่อสร้างผลกระทบ (impact) ที่จะเปลี่ยนโลกให้ยั่งยืน ซึ่งการแข่งขันที่ผ่านมาผมคิดว่าสตาร์ตอัปเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก แน่นอนว่าเราเห็นธุรกิจสตาร์ตอัปหันไปสู่ด้านดิจิทัลมากขึ้นและมุ่งไปสู่ความยั่งยืนมากขึ้น”
ดร. สุรชา อุดมศักดิ์ รองผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่สายงานนวัตกรรม บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGC กล่าวถึงการแข่งขันนี้ว่า “SCG Bangkok Business Challenge @ Sasin เป็นการแข่งขันระดับนานาชาติที่มุ่งสร้างเครือข่ายและให้ความสำคัญกับการสร้างธุรกิจใหม่ๆ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก SCGC ร่วมสนับสนุนโดยมีเป้าหมายผลักดันผู้ประกอบการสตาร์ตอัปให้เติบโตสอดคล้องกับเมกะเทรนด์โลก ด้วยแนวคิดนวัตกรรมและโซลูชันที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Innovation & Solutions) อีกทั้งเพิ่มพูนทักษะให้สามารถก้าวไปเทียบในระดับสากลได้ ผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำแผนธุรกิจทั้งระดับประเทศไทยและระดับสากล ที่ผ่านมา SCGC ได้เปิดโอกาสให้ทีมสตาร์ตอัปชนะเลิศ และรองชนะเลิศ จากการแข่งขันฯ เข้าพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมและโซลูชันที่ศูนย์ “i2P” (Ideas to Products) ศูนย์รวมไอเดียเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ตอบโจทย์ความต้องการของทั้ง ลูกค้า–ผู้บริโภค–สิ่งแวดล้อม เปิดโอกาสให้ได้ร่วมพัฒนาสินค้าและเทคโนโลยีกับเครือข่ายพันธมิตรของ SCGC เพื่อให้สตาร์ตอัปมีทักษะและมุมมองในการสร้างนวัตกรรมที่พร้อมใช้งานจริง สามารถขยายธุรกิจและมีการเข้าถึงการตลาดเพิ่มมากขึ้น ปลดล็อกศักยภาพสตาร์ตอัปไทย ให้ก้าวไกลไปในระดับสากล”
โดยการแข่งขันในปีนี้ เป็นความร่วมมือของสถาบันบัณฑิตฯ ศศินทร์ กับ SCGC อีกทั้งยังได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิมากประสบการณ์จากหลากหลายภาคส่วน อาทิ Robert Lomnitz, Partner – Xpdite Capital Partners, Director of Bangkok Venture Club, Paul Ark, Partner & Head of ESG – Gobi Partners และ Dr. Andrew Stotz, CEO – A. Stotz Investment Research มาร่วมเป็นกรรมการตัดสิน คัดเลือกเฟ้นหาสุดยอดทีมที่ดีที่สุดที่คู่ควรกับรางวัลเกียรติคุณพระราชทาน H.M. The King’s Award จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รางวัลเกียรติคุณพระราชทาน H.R.H. Princess Maha Chakri Sirindhorn’s Sustainability Award จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และรางวัลเงินสดรวมมูลค่า 46,000 เหรียญสหรัฐ หรือราว 1,500,000 บาท
สำหรับ 20 ทีมสุดท้ายที่ผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศ Global Competition ได้แก่
สำหรับผู้สนใจสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ทาง https://bbc.sasin.edu/2023/ และร่วมเป็นกำลังใจให้ทีมตัวแทนประเทศไทยผ่านทางไลฟ์สตรีมมิ่งบนแพลตฟอร์ม Facebook: SCG Bangkok Business Challenge at Sasin (www.facebook.com/bangkokbusinesschallenge)
อาจารย์และนิสิตสถาปัตย์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษา Tokyo Metropolitan University ที่ญี่ปุ่น
อาจารย์และนิสิตภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษาจาก Faculty of Urban Environmental Sciences, Tokyo Metropolitan University ประเทศญี่ปุ่น (TMU)
จุฬาฯ ร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายสักการะและจัดพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเนื่องใน “วันนวมินทรมหาราช”
ละครนิเทศจุฬาฯ 2567 “ด้ายแดงเป็นเหตุ Unfortunate Love”
24 - 26 มกราคม 2568
ณ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ ชั้น 7 อาคารสยามสแควร์
จุฬาฯ ต้อนรับคณะศึกษาดูงานด้านการบริหารความเสี่ยงจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แบ่งปันประสบการณ์การพัฒนาระบบบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัย
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมเรื่อง “กัญชาทางการแพทย์: ความรู้ที่ต้องมีสำหรับเภสัชกรยุคใหม่”
11 ธ.ค. 67 เวลา 09.00 – 12.15 น.
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ และ Zoom
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมโครงการ “Next-Gen Arts: พัฒนาศักยภาพครูศิลปะด้วย Soft Power”
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้