ข่าวสารจุฬาฯ

จุฬาฯ จัดงาน “น้องชวนพี่ ชมจุฬาฯ” ครั้งที่ 3 นิสิตเก่าชมความก้าวหน้า นวัตกรรมด้านสุขภาพและการกีฬาของจุฬาฯ

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 8 มิถุนายน 2566 ศูนย์พัฒนกิจและนิสิตเก่าสัมพันธ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดโครงการ Campus Tour for Alumni “น้องชวนพี่ ชมจุฬาฯ” ครั้งที่ 3 เพื่อสร้างเครือข่ายและความสัมพันธ์อันดีระหว่างมหาวิทยาลัยและนิสิตเก่า พร้อมรับทราบข้อมูลความก้าวหน้าในด้านต่างๆ ของจุฬาฯ  โดยงานในครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้กิจกรรมหลัก “นวัตกรรมด้านสุขภาพและการกีฬา” มีนิสิตเก่า จุฬาฯ จากคณะต่างๆ เข้าร่วมจำนวน 30 คน ท่ามกลางบรรยากาศการจัดงานอันอบอุ่นและประทับใจยิ่ง

โครงการ Campus Tour for Alumni  “น้องชวนพี่ ชมจุฬาฯ” ครั้งที่ 3  เริ่มต้นด้วยนิสิตเก่าจำนวน 30 คนร่วมสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า โดยมีคุณมกร พงษ์ธนพฤกษ์ ที่ปรึกษาศูนย์พัฒนกิจและนิสิตเก่าสัมพันธ์ให้การต้อนรับ

จากนั้นนิสิตเก่าและสื่อมวลชนได้เดินทางไปเยี่ยมชมอุทยาน 100 ปีจุฬาฯ ซึ่งสร้างขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปีแห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บนพื้นที่ 29 ไร่ บริเวณซอยจุฬาลงกรณ์ 5 ระหว่างซอยจุฬาลงกรณ์ 9 กับถนนบรรทัดทอง เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเขตพาณิชย์ของมหาวิทยาลัย โดยพัฒนาสภาพแวดล้อมที่สวยงาม เหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจ รวมถึงพื้นที่ทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์หลายรูปแบบ อุทยาน 100 ปี จุฬาฯ ได้รับรางวัลต่างๆ ทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ  เช่น ได้รับคัดเลือกโดยสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ให้เป็นผลงานออกแบบสถาปัตยกรรมดีเด่น (ASA AD Award) ในปี 2561 รางวัลชนะเลิศในสาขาโครงการสร้างเสร็จระดับใหญ่ จาก World Landscape Architecture Awards 2019 และเป็นหนึ่งในอุทยานต้นแบบของโลกที่หลายสถาบันให้ความสนใจเข้ามาศึกษาดูงาน

ต่อมาได้เดินทางไปยังโรงงานต้นแบบการผลิตวัคซีนจุฬาฯ – ใบยา ณ ชั้น 11 อาคารจุฬาพัฒน์ 14 ชมความก้าวหน้าในการพัฒนานวัตกรรมการผลิต “วัคซีนจุฬาฯ – ใบยา” วัคซีนป้องกันโควิด-19 ฝีมือคนไทย โดยมี ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ  อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ Co-Founder และ CEO บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด บรรยายสรุปและนำนิสิตเก่าจุฬาฯ พร้อมด้วยสื่อมวลชนชมโรงงานต้นแบบในการผลิตวัคซีน

“วัคซีนจุฬาฯ – ใบยา” เป็นวัคซีนป้องกันโควิด-19 ชนิด subunit vaccine ผลิตจากใบพืชซึ่งเป็นใบยาสูบสายพันธุ์ออสเตรเลีย วัคซีนรุ่นที่ 1 ได้ผ่านการทดสอบทั้งในสัตว์ทดลองและในอาสาสมัครตั้งแต่ ปี 2565  ส่วนวัคซีนรุ่นที่ 2 ได้ผ่านการทดสอบใน Phase 1 แล้ว ผลการทดสอบสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี ปัจจุบันกำลังเข้าสู่การทดสอบใน Phase 2 ซึ่งจะสิ้นสุดในช่วงสิ้นปี 2566 เป็นการทดสอบในลักษณะวัคซีนบูสเตอร์ หรือ booster dose โดยใช้อาสาสมัครจำนวน 70 – 100 คน อายุ 18 – 60 ปี  ซึ่งจะมีการเปิดรับสมัครอาสาสมัครโครงการทดสอบวัคซีนในช่วง 1 – 2 เดือนนี้ ทั้งนี้ การทดสอบวัคซีนจุฬาฯ – ใบยาใน Phase 3 หากได้รับงบประมาณสนับสนุนก็จะดำเนินการต่อไปได้ โดยโรงงานต้นแบบการผลิตวัคซีนจุฬาฯ – ใบยา สามารถผลิตวัคซีนได้ 5 ล้านโดสต่อเดือน 60 ล้านโดสต่อปี  นอกจากการผลิตวัคซีนแล้ว โรงงานต้นแบบดังกล่าวยังสามารถใช้ในการผลิตยารักษามะเร็งได้ด้วย

จากนั้น นิสิตเก่าและสื่อมวลชนเดินทางมายังห้องรับรอง ชั้น 8M อาคารจุฬาพัฒน์ 14  รับฟังการบรรยายแนะนำคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาฯ โดย รศ.ดร.ชัยพัฒน์ หล่อศิริรัตน์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาฯ รวมทั้งได้เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการทางสรีรวิทยาการออกกำลังกาย อุโมงค์น้ำ (Swimming Flume) นวัตกรรมเสริมความแกร่งให้นักกีฬาว่ายน้ำ และชมห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์การกีฬา ณ ชั้น 1 อาคาร จุฬาพัฒน์ 8 โดยมี อ.ดร.คุณัญญา มาสดใส ผู้ช่วยคณบดีด้านบริการวิชาการและวิจัย และ อ.ดร.ภัทราวุธ ขาวสนิท ผู้ช่วยคณบดีด้านกิจการนิสิตและนิสิตเก่าสัมพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาฯ เป็นวิทยากร

อุโมงค์น้ำ (Swimming Flume) ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการพัฒนาสมรรถภาพการว่ายน้ำในท่าต่างๆ ของนักกีฬา มีความลึก 1.5 เมตร และสร้างคลื่นน้ำที่ความเร็ว 7 ระดับ โดยความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 2 เมตรต่อวินาที นักว่ายน้ำสามารถลงได้ทีละหนึ่งคนในการฟิตซ้อมว่ายน้ำโต้คลื่นระยะสั้น เพื่อเสริมสร้างความฟิตและความเร็ว มีการออกแบบให้น้ำในอุโมงค์ไหลจากอีกด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่งด้วยความเร็วน้ำเท่ากันทุกระดับความลึกและตลอดความกว้างของอุโมงค์น้ำ โดยมีการควบคุมความเร็ว ในการไหลของน้ำจากคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังสามารถใช้งานได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็นการทดสอบสมรรถภาพของนักกีฬาในการว่ายน้ำ การฝึกฝน การฟื้นฟูอาการบาดเจ็บในส่วนต่างๆ ของร่างกาย รวมถึงการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพของคนทั่วไป โดยมีการกำหนดความเร็วการไหลของน้ำในอุโมงค์ให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการ

ปิดท้ายด้วยนิสิตเก่าจุฬาฯ และสื่อมวลชนรับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน ณ ห้องรับรอง ชั้น 2 อาคารจุฬาพัฒน์ 8 โดยมี  ผศ.ดร.เอกก์ ภทรธนกุล ที่ปรึกษาด้านแบรนด์ จุฬาฯ กล่าวต้อนรับ และนายโภไคย ศรีรัตโนภาส ผู้ช่วยอธิการบดี งานด้านกิจการพิเศษ กล่าวถึงการนำแพลตฟอร์ม CU NEX มาใช้งานสำหรับนิสิตจุฬฯ เพื่อเพิ่มความคล่องตัวสะดวกรวดเร็วในการบริหารจัดการการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า