รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
22 มิถุนายน 2566
ข่าวเด่น, ภาพข่าว
ผู้เขียน สมบูรณ์ พัฒนปรีชาเสถียร
ทีมนักวิจัยและผู้บริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพบนักวิจัยมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (The National University of Singapore: NUS) เพื่อหารือด้านการวิจัยและเพิ่มโอกาสสร้างความร่วมมือ เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2566 ณ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ สาธารณรัฐสิงคโปร์
รศ.ภก.ดร.วิทยา กุลสมบูรณ์ ผู้อำนวยการกองทุนศตวรรษที่ 2 (C2F) ได้รับมอบหมายเป็นผู้แทน ศ.ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ รองอธิการบดีด้านการวิจัย จุฬาฯ พร้อมด้วย รศ.ดร.พรรณี ชีวิน ศิริวัฒน์ ผู้ช่วยอธิการบดีด้านวิจัย จุฬาฯ ในการหารือด้านการวิจัยร่วมกับอาจารย์และนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ และเพิ่มโอกาสสร้างความร่วมมือภายใต้โครงการ “Reinventing University” โดยสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.)
ทีมนักวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้นำเสนองานวิจัยใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่
– ศ.ดร.ชนาธิป ผาริโน ผู้ช่วยอธิการบดีด้านวิจัย นำเสนอประเด็นวิจัย “Net Zero”
– ผศ.ดร.ฐิติรัตน์ ปั้นบำรุงกิจ รองผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา และ อ.ดร.ชนิตา ดวงยิหวา คณะอักษรศาสตร์ นำเสนอประเด็น “ด้านการท่องเที่ยวมูลค่าสูง” (High–Value Tourism)
– ผศ.ดร.ณัฐพงศ์ ปั้นน้อย ผู้ช่วยคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ นำเสนอประเด็น “การออกแบบและพัฒนาเมือง” (Urban Design and Development)
จากนั้น เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2566 นักวิจัยมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์นำทีมนักวิจัยจุฬาฯ เข้าเยี่ยมชม “NUS Enterpise” ณ Block71 คอมมูนิตี้ด้านเทคโนโลยีและศูนย์รวม Startup ในกรุงจาการ์ตา แหล่งนวัตกรรมสู่ความต้องการของสังคม รวมถึงการบริหารจัดการ Ecosystem ที่เอื้อให้กลุ่ม Startup และ Deep Tech สามารถร่วมงานกันและเกิดผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ โดยทีม Block71 นำเสนอผลงานจาก Startup ที่ใช้ AI ในวิเคราะห์การสื่อสาร โดยพิจารณาจากหน้าตา ท่าทาง เสียง ภาษา และสามารถประเมินผลให้คำแนะนำผู้ใช้งานเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพตามที่ผู้ใช้ต้องการ และ Startup โปรแกรมการเรียนภาษาอังกฤษผ่านบทความ ซึ่งพัฒนาร่วมกับ Startup จากประเทศไทย ที่ช่วยฝึกการฟัง พูด อ่าน เขียน จากบทความตามความสนใจ
(ข้อมูลจากสำนักบริหารวิจัย จุฬาฯ)
เชิญชวนนิสิตร่วมโครงการประเมินผลการเรียนการสอนออนไลน์ผ่านระบบ myCourseVille
อาจารย์และนิสิตสถาปัตย์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษา Tokyo Metropolitan University ที่ญี่ปุ่น
อาจารย์และนิสิตภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษาจาก Faculty of Urban Environmental Sciences, Tokyo Metropolitan University ประเทศญี่ปุ่น (TMU)
จุฬาฯ ร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายสักการะและจัดพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเนื่องใน “วันนวมินทรมหาราช”
ละครนิเทศจุฬาฯ 2567 “ด้ายแดงเป็นเหตุ Unfortunate Love”
24 - 26 มกราคม 2568
ณ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ ชั้น 7 อาคารสยามสแควร์
จุฬาฯ ต้อนรับคณะศึกษาดูงานด้านการบริหารความเสี่ยงจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แบ่งปันประสบการณ์การพัฒนาระบบบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัย
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมเรื่อง “กัญชาทางการแพทย์: ความรู้ที่ต้องมีสำหรับเภสัชกรยุคใหม่”
11 ธ.ค. 67 เวลา 09.00 – 12.15 น.
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ และ Zoom
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้