ข่าวสารจุฬาฯ

จุฬาฯ จัดงาน “เยาวชนไทยห่างไกลความรุนแรง” ครั้งที่ 3 ศิลปะบำบัด กับการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรง

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมกับสถาบันสอนภาษาอังกฤษ โกลบิช อคาเดเมีย (ไทยแลนด์) จัดงาน Teacher Conference ในหัวข้อ “Stop Violence in Schools” เยาวชนไทยห่างไกลความรุนแรง” ครั้งที่ 3  เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 22 มิถุนายน 2566  ณ Social Innovation Hub อาคารวิศิษฐ์ ประจวบเหมาะ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ เพื่อผลักดันการแก้ไขและยุติปัญหาความรุนแรงในโรงเรียนและสถานศึกษา โดยเชิญครูในโรงเรียนเข้าร่วมการสัมมนาเพื่อนำกระบวนการทางศิลปะบำบัดมาใช้เพื่อลดความรุนแรง  โดยมี ศ.ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ รองอธิการบดีด้านการวิจัย จุฬาฯ เป็นผู้กล่าวเปิดงาน

การจัดงานในครั้งนี้  ศ.ดร.บุษกร บิณฑสันต์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และ ดร.นิศรา เจริญขจรกิจ อาจารย์คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เป็นวิทยากรให้ความรู้แก่ครูจากโรงเรียนต่างๆ ในเรื่องการใช้ศิลปะบำบัดความรุนแรง อาทิ ศิลปะบำบัดคืออะไร “ภาพวาดนั้นสำคัญไฉน” ประเภทของภาพวาดที่ใช้ในการคัดกรอง, “บางอย่างที่หายไป” การใช้บทบาทสมมติเพื่อการเข้าใจผู้อื่น รวมถึงนำเสนอตัวอย่างการใช้ศิลปะเพื่อเยียวยาจิตใจในภาวะวิกฤติ

ศ.ดร.บุษกร บิณฑสันต์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ

ศ.ดร.บุษกร บิณฑสันต์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า “กิจกรรมที่นำมาใช้ในการสัมมนาครั้งนี้เรียกว่า Expressive Art Emotional คือการใช้ศิลปะบำบัดโดยการวาดภาพ จะเน้นที่อารมณ์ (Emotion) ที่ถูกสะสมไว้ได้รับการปลดปล่อยผ่านงานศิลปะ ซึ่งเป็นการจัดกิจกรรมที่สะท้อนความเป็นตัวตนและการแสดงออกทางอารมณ์ความรู้สึก การวาดภาพเป็นหนึ่งในกระบวนการคัดกรองผู้ที่จะสร้างความรุนแรงหรือผู้ที่ถูกกระทำ ผ่านออกมาเป็นภาพ ทำให้ทราบว่าใครอยู่ในเหตุการณ์ที่ค่อนข้างที่จะวิกฤต เพื่อส่งต่อตามกระบวนการต่างๆ ของโรงเรียนต่อไป

ดร.นิศรา เจริญขจรกิจ อาจารย์คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ

ในช่วงบ่าย ดร.นิศรา เจริญขจรกิจ อาจารย์คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ บรรยายในหัวข้อ “บางอย่างที่หายไป” การใช้บทบาทสมมติเพื่อการเข้าใจผู้อื่น เพื่อให้ครูผู้เข้าร่วมการสัมมนาได้รู้จักการรู้จักคนอื่นและรู้จักตัวตนของเรา รวมถึงการรู้จักที่จะเข้าใจเรื่องราวของมนุษย์ ผ่านกิจกรรมที่เรียกว่าศิลปะบำบัด

ทั้งนี้ทางคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ยังมีกิจกรรมและโครงการต่างๆ ที่จัดขึ้นเพื่อนำศิลปะบำบัดมาใช้ในการลดความรุนแรง เช่น โครงการ CU Mobile Arts 4U  ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลาย เพิ่มพลังบวก และเช็คสุขภาพใจด้วยการวาดรูปตนเอง จะจัดขึ้นในวันอังคารที่ 27 มิถุนายน 2566 เวลา 13.00 – 14.30 น. และเวลา 15.00 – 16.30 น. ที่ห้องสมุดคณะวิทยาศาสตร์ และลานอะตอม คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า