รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
8 กรกฎาคม 2566
ข่าวเด่น, งานวิจัยและนวัตกรรม, ภาพข่าว
ผู้เขียน นิธิกานต์ ปภรภัฒ
ศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (Agritech and Innovation Center : AIC) จังหวัดสระบุรี ร่วมกับศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาฯ และคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ จัดงาน “AIC Chula Saraburi Expo 2023” มหกรรมการจัดงานด้านการเกษตรที่รวบรวมงานวิจัยนวัตกรรมผลิตผลพรีเมียมของจังหวัดสระบุรี จัดขึ้นเมื่อวันที่ 21 – 23 มิถุนายน 2566 ณ ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จังหวัดสระบุรี ภายใต้แนวคิด “BCG for Empowering the AIC Partnership” เสริมสร้างพลังพันธมิตรเครือข่าย AIC ด้วยระบบเศรษฐกิจ BCG
ศ.กิตติคุณ น.สพ.ดร.มงคล เตชะกำพุ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สระบุรี กล่าวถึงแนวคิดด้านการพัฒนาขีดความสามารถเกษตรกรไทยว่าเป็นนโยบายระดับชาติของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ตั้งแต่ปี 2563 ที่ดำริให้หนึ่งจังหวัดต้องมีหนึ่ง AIC โดยความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในพื้นที่ ซึ่งเป็นโอกาสอันดีที่จุฬาฯ มีศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาคที่จังหวัดสระบุรี
ศูนย์ AIC ที่จุฬาฯ สระบุรีจัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2563 ได้รับงบประมาณแผ่นดินสนับสนุนการดำเนินงาน ผ่านการเห็นชอบของ ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดีด้านการติดตามและประเมินผลยุทธศาสตร์แผนการงบประมาณและสุขภาวะ จุฬาฯ พันธกิจของศูนย์ AIC มีหน้าที่ในการสนับสนุนและส่งเสริมเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรอัจฉริยะ เป็นศูนย์เพาะบ่มเกษตรกร ผู้นำเกษตรกร Smart Farmer ภายในจังหวัดสระบุรี พัฒนาการตลาดและสร้างความร่วมมือระหว่างศูนย์ AIC ของมหาวิทยาลัยภายในประเทศ ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตร ปี 2566 – 2570
“ที่ไหนมีปัญหา จุฬาฯ ต้องเข้าไปหาคำตอบ” ศ.กิตติคุณ น.สพ.ดร.มงคล กล่าวว่าการดำเนินงานของศูนย์ AIC ที่จุฬาฯ สระบุรีตอบสนองยุทธศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการให้บริการวิชาการแก่สังคม รวมถึงการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ในชุมชนซึ่งมีความถนัดหรือความเชี่ยวชาญ รู้จุดแข็งของชุมชนนั้นๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกันอย่างยั่งยืน
ในงาน “AIC Chula Saraburi Expo 2023” มีการจัดแสดงนิทรรศการความรู้คู่ของดีจังหวัด รวบรวมร้านผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปโดยวิสาหกิจชุมชนต้นแบบที่โดดเด่น การสัมมนาวิชาการนวัตกรรมเพื่อการเกษตรอย่างยั่งยืน เผยแพร่กิจกรรมและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (Agritech and Innovation Center : AIC)ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง ส่งเสริมความร่วมมือและสร้างเครือข่ายพันธมิตรของส่วนราชการและเอกชน รวมถึงหน่วยงานในมหาวิทยาลัยในการร่วมพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC) จุฬาฯ สระบุรี นอกจากนี้ยังเผยแพร่องค์ความรู้จากวิสาหกิจชุมชน จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นจากชุมชนต่างๆ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการเกษตรและจากผู้ประกอบการแปรรูปการเกษตรไปเป็นอาหาร เพื่อให้หน่วยงานของจุฬาฯ และหน่วยงานที่เป็นพันธมิตรเป็นที่รู้จักในวงกว้าง รวมทั้งเพื่อให้หน่วยงานราชการ เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เกษตรจังหวัด สหกรณ์จังหวัด กลุ่มหอการค้า เกษตรกร ประชาชนทั่วไป และนักเรียน นักศึกษาที่ต้องการจะเป็นผู้สร้างนวัตกรรมหรือผู้ประกอบการที่พัฒนาสินค้าแปรรูปต่างๆ
รศ.น.สพ.ดร.กิตติศักดิ์ อัจฉริยะขจร คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ประธานคณะกรรมการดำเนินโครงการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศด้วยนวัตกรรมผ่านการบูรณาการและกลไกของศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม จ.สระบุรี กล่าวถึงความสำคัญของงาน “AIC Chula Saraburi Expo 2023” ว่าเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข็งขันของประเทศผ่านกลไกนวัตกรรม โครงการนี้ได้รับการจัดสรรงบประมาณแผ่นดินในการบริหารงบของจุฬาฯ ปี 2566 ภายใต้แนวคิด “BCG for Empowering the AIC Partnership เสริมสร้างพลังพันธมิตรเครือข่าย AIC ด้วยระบบเศรษฐกิจ BCG” เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายพันธมิตรเข้ามาร่วมผลักดันความสำเร็จด้านการพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีการเกษตร โดยเชิญหน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ AIC ทั้งจังหวัดสระบุรีและจังหวัดอื่นๆ เข้าร่วมงาน ซึ่งแสดงให้เห็นศักยภาพของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการวิจัยนวัตกรรมด้านการเกษตร
“จุฬาฯ เป็นตัวแทนภาควิชาการและเป็นแหล่งรวมองค์ความรู้จากคณะและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น คณะวิทยาศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค นอกจากนี้ที่ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาฯ สระบุรียังมีโรงงานต้นแบบแปรรูปอาหาร ศูนย์เชื้อเพลิงและพลังงานจากชีวมวลที่สามารถให้ประชาชนเข้ามาเรียนรู้ งาน Expo โดย AIC จุฬาฯ สระบุรีเป็นจุดเริ่มต้นในการนำเสนอนิทรรศการและแพลตฟอร์มทางวิชาการ นวัตกรรมวิจัยให้สังคมหลายภาคส่วนได้ใช้ประโยชน์ ในส่วนของเกษตรกรสามารถนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้เช่นกัน AIC Chula Saraburi Expo 2023 เป็นหนึ่งในโครงการย่อยที่ศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม จุฬาฯ ได้ลงมือทำให้สัมฤทธิ์ผล” รศ.น.สพ.ดร.กิตติศักดิ์กล่าว
ผศ.น.สพ.ดร.ธีรวัฒน์ สว่างจันทร์อุทัย คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ หัวหน้าโครงการฯ เปิดเผยว่า งาน AIC Expo จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปีที่แล้วซึ่งยังอยู่ในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 รูปแบบการจัดงานจึงเป็นแบบแพลตฟอร์มเสมือนจริง 100% ภายในงานมีผู้เข้าร่วมรับชมกว่า 16,000 ราย ในปีนี้สถานการณ์โควิด-19 เริ่มเบาบางลง จึงมีการจัดงาน “AIC Chula Saraburi Expo 2023” ในรูปแบบ hybrid ทั้ง on-site ในสถานที่จริงและ online ซึ่งสามารถรับชมย้อนหลังได้ด้วย
งานวันแรก มีหัวข้อการประชุมเรื่องนโยบายและการจัดการเกษตร Agritech Innovation Catalog นวัตกรรมเทคโนโลยีทางการเกษตร พัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เพิ่มรายได้และลดต้นทุนการผลิตและการเสวนาทางรอดของรัฐวิสาหกิจชุมชนโดยรัฐวิสาหกิจชุมชนต้นแบบจากหลายจังหวัด นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอผลิตภัณฑ์โปรตีนจิ้งหรีดจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น การส่งเสริมการปลูกข้าวโพดหวานพันธุ์อินทรี 2 จากศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผลิตภัณฑ์จากหอยนางรมมหาวิทยาลัยบูรพา วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ผลิตหญ้าอาหารสัตว์และเลี้ยงโคเนื้อ ตำบลโพนทอง จังหวัดกาฬสินธุ์
งานวันที่สอง เน้นด้าน Food Security and Sustainability หรือความมั่นคงทางอาหารและการบริโภคอย่างยั่งยืนมีการบรรยายโดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญการแปรรูปผลิตภัณฑ์และการจัดระบบด้านการเกษตร ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ จนถึงปลายน้ำ อาทิ เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อความปลอดภัยและมั่นคงทางอาหาร องค์ประกอบของอาหารสัตว์ที่มีสมบัติเชิงหน้าที่ ไมโครไบโอมเพื่อสุขภาพการแปรรูปน้ำผลไม้โดยไม่ใช้ความร้อน การเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ เป็นต้น
ในวันสุดท้าย มีการประชุมในหัวข้อ “Agricultural Sustainability Thai Dairy Industry โคนมไทย ก้าวไกลเกษตรยั่งยืน” โดยมีการบรรยายเกี่ยวกับอาหารหยาบสำหรับโคนม ข้าวโพดหมัก ความท้าทายและโอกาสของเกษตรกรไทย นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนของฟาร์มโคนม และนวัตกรรมงานบริการสัตวแพทย์สำหรับศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม และฟาร์มโคนม
ภายในงานมีการออกบูธจัดแสดงผลิตภัณฑ์นวัตกรรมทางการเกษตรจากหน่วยงานต่างๆ อาทิโรงพยาบาลปศุสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาฯ วิสาหกิจชุมชนตำบลยอดจากโครงการ Chula Creative Tourism Academy สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดสระบุรี สระบุรีฟู้ดวัลเลย์ น้ำพึ่งป่าดอยขุนสถาน ชมรมกาแฟจังหวัดน่าน ศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาการเลี้ยงโคนมในเขตร้อนชื้น นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอนวัตกรรมอาหารเพื่อสร้างความมั่นคงของมนุษย์จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และบูธผลิตภัณฑ์น่าสนใจจากผู้ประกอบการในจังหวัดสระบุรี พร้อมองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ทางการเกษตรมากมาย
โรงพยาบาลปศุสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ มีการให้บริการคลินิกสุกร คลินิกสัตว์เคี้ยวเอื้อง การให้คำปรึกษาในรูปแบบต่างๆ ด้านปศุสัตว์ รวมถึงคลินิกเฉพาะทางและหน่วยชันสูตรโรคสัตว์ โรงพยาบาลสัตว์คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ จังหวัดนครปฐม ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 03-4270-970 และผ่านทาง Facebook: โรงพยาบาลสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นครปฐม https://www.facebook.com/profile.php?id=100057579994637
ศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาการเลี้ยงโคนมในเขตร้อนชื้น มีโครงการวิจัยที่มุ่งเน้นให้ความรู้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมทั้งในจังหวัดสระบุรีและจังหวัดใกล้เคียง เช่น ลพบุรี นครราชสีมา ฯลฯ ส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าของน้ำนมโคด้วยการพัฒนาต้นแบบเชิงธุรกิจการเกษตรน้ำนมและผลิตภัณฑ์นมพรีเมียมมีฟาร์มโคนมต้นแบบสมาร์ทฟาร์มเพื่อการวิจัย ระบบลดความเครียดจากความร้อน (Heat Stress) ใช้เซนเซอร์ในการตรวจจับและเก็บข้อมูลแบบเรียลไทม์เพื่อควบคุมคุณภาพได้เที่ยงตรงทุกขั้นตอน รวมถึงนวัตกรรมการบริการสัตวแพทย์สำหรับการจัดการฟาร์มโคนมแบบแม่นยำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และแพลตฟอร์มศูนย์การเรียนรู้ฟาร์มโคนมเสมือนจริง (Virtual Farm) เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านโคนมที่ยั่งยืน ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook: ศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาการเลี้ยงโคนมในเขตร้อนชื้น https://www.facebook.com/thaitropicaldairy/
สำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร จุฬาฯ ได้จัดแสดงโครงการการพัฒนาสมรรถนะของเกษตรกรและการพัฒนาการเลี้ยงแพะ-แกะของจังหวัดน่านสู่ความยั่งยืนและโครงการการพัฒนาสมรรถนะของเกษตรกร กลไกความร่วมมือและขยายโอกาสทางการตลาดโคเนื้ออย่างยั่งยืนในจังหวัดน่าน เพื่อขับเคลื่อนกลไกการพัฒนาเชิงพื้นที่จังหวัดน่าน ดำเนินการในรูปแบบเวทีท้องถิ่นผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนานวัตกรรม ระดมความเห็นของกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่เป้าหมาย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด และคณะผู้วิจัยจากสำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร จุฬาฯ เพื่อพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรในการสร้างความร่วมมือขับเคลื่อน เพิ่มองค์ความรู้และทักษะกระบวนการในการนำไปประยุกต์ใช้กับชุมชนยกระดับและเพิ่มศักยภาพในการพัฒนาด้านปศุสัตว์ให้ยั่งยืน ภายในงานสำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร จุฬาฯได้นำเสนอนวัตกรรมการผสมเทียม และฝึกอบรมเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะ – แกะให้เป็นนักผสมเทียมภายในฟาร์มตนเอง ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Facebook: สำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร จุฬาฯ https://www.facebook.com/SAR.Chula/?ref=embed_page
ติดตามข่าวสารความก้าวหน้าของศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สระบุรีได้ที่ Facebook: AICCUSaraburi https://www.facebook.com/AICCUSaraburi/
ติดตามข่าวสารและนโยบายเพื่อขับเคลื่อนศักยภาพนวัตกรรมเกษตรไทยโดยศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC) ได้ที่ Facebook: AIC https://www.facebook.com/aicmoac
ดาวน์โหลดภาพกิจกรรมงาน AIC Chula Saraburi Expo 2023 ได้ที่ ภาพงานทั้งหมด
ภาพ : ณัฐริณีย์ พร้อมวงศ์
ละครนิเทศจุฬาฯ 2567 “ด้ายแดงเป็นเหตุ Unfortunate Love”
24 - 26 มกราคม 2568
ณ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ ชั้น 7 อาคารสยามสแควร์
จุฬาฯ ต้อนรับคณะศึกษาดูงานด้านการบริหารความเสี่ยงจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แบ่งปันประสบการณ์การพัฒนาระบบบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัย
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมเรื่อง “กัญชาทางการแพทย์: ความรู้ที่ต้องมีสำหรับเภสัชกรยุคใหม่”
11 ธ.ค. 67 เวลา 09.00 – 12.15 น.
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ และ Zoom
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมโครงการ “Next-Gen Arts: พัฒนาศักยภาพครูศิลปะด้วย Soft Power”
นิสิตเก่าจุฬาฯ พัฒนาโฟมล้างมือแบบเม็ดฟู่ “Fongdoo” ลดขยะพลาสติก ภายใต้การสนับสนุนของ CU Innovation Hub
วิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนา “เข้าใจน้ำท่วม แนวคิดวิศวกร” เผยแพร่องค์ความรู้ใหม่รับมืออุทกภัยในอนาคต
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้