ข่าวสารจุฬาฯ

ราชบัณฑิตยสภา ร่วมมือสถาบันนวัตกรรมบูรณาการ จุฬาฯ จัดเสวนาวิชาการเรื่อง “ยุคเอไอได้มาถึงแล้ว ประเทศไทยพร้อมรับมือไหม?”

เมื่อวันศุกร์ที่ 21 กรกฎาคม 2566 ราชบัณฑิตยสภา ร่วมกับสถาบันนวัตกรรมบูรณาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดเสวนาวิชาการในโครงการปาฐกถาราชบัณฑิตสัญจร สำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสภา เรื่อง “ยุคเอไอได้มาถึงแล้ว ประเทศไทยพร้อมรับมือไหม?” (Arrival of AI Era: Is Thailand Ready?) ณ ห้องประชุม 801 อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (อาคารจามจุรี 10) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี ศ.เกียรติคุณ นพ.สุรพล อิสรไกรศีล นายกราชบัณฑิตยสภา เป็นประธานกล่าวเปิดงาน เพื่อระดมสมองผู้เชี่ยวชาญด้าน AI ในประเทศไทย เพื่อสร้างความเข้าใจในบทบาทของปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการเตรียมพัฒนาหลักสูตรในอนาคต รวมทั้งให้ผู้กำหนดนโยบายระดับประเทศใช้ในการวางแผนเชิงกลยุทธ์สำหรับการสร้างประชากรที่มีสมรรถนะด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์  ตลอดจนเตรียมความพร้อมรับผลกระทบของเทคโนโลยี AI ต่อตลอดแรงงานในอนาคต 

ปัจจุบันการเข้ามาของ ChatGPT ซึ่งเป็นหุ่นยนต์แช็ตบ็อต (Al Chatbot) ที่สามารถพูดคุยกับมนุษย์อย่างเป็นธรรมชาติ ทำให้เทคโนโลยี AI ไม่เป็นเรื่องไกลตัวอีกต่อไป และเป็นครั้งแรกที่มนุษย์นำเทคโนโลยี AI จากห้องปฏิบัติการมาใช้ในชีวิตประจำวัน หลายประเทศในเอเชีย เช่น จีน เกาหลีใต้ สิงคโปร์ และญี่ปุ่น เป็นประเทศระดับแนวหน้าทางเทคโนโลยีที่มีสมรรถภาพและความพร้อมในการเผชิญกับพายุแห่งการเปลี่ยนแปลงของโลกยุค AI สำหรับประเทศไทย ถึงเวลาแล้วที่ทุกภาคส่วนของสังคมต้องหันมาให้ความสนใจกับการกำหนดหา “ที่ยืนของประเทศไทยในโลกแห่งอนาคต” โดยในช่วงรอยต่อที่สำคัญหลายปีต่อจากนี้ ประเทศไทยจะต้องเร่งปูพรมพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ เพื่อให้ประชากรไทยมี Al Literacy อีกทั้งต้องปลูกฝังระบบนิเวศการศึกษาและการวิจัยด้านเทคโนโลยี AI 

ศ.กิตติคุณ ดร.วรศักดิ์ กนกนุกุลชัย รักษาการผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมบูรณาการ จุฬาฯ ราชบัณฑิต

ศ.กิตติคุณ ดร.วรศักดิ์ กนกนุกุลชัย รักษาการผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมบูรณาการ จุฬาฯ ราชบัณฑิต กล่าวถึงการที่ประเทศไทยต้องสร้างความพร้อมในการรับมือกับ AI ว่า เนื่องจากเรากำลังเข้าสู่โลกยุค AI การนำ AI มาใช้งานนั้นเป็นประโยชน์มหาศาล และมีบทบาทต่อทุกกลุ่มวิชาชีพ ไม่ว่าจะเป็นในด้านการคำนวณ ด้านเทคโนโลยี ด้านภาษา ศิลปะ ฯลฯ ในขณะเดียวกัน AI ก็อาจมีโทษและมีข้อควรระวังในการใช้งานด้วยเช่นกัน ดังนั้นการพัฒนา AI และพัฒนาคนให้รู้เรื่อง AI และห้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงจึงเป็นโจทย์สำคัญของประเทศไทย เพราะ AI จะอยู่กับเราตลอดไป หากเราไม่มีการพัฒนาคนให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ AI เราจะตามต่างประเทศไม่ทัน ยุทธศาสตร์ชาติในการพัฒนา AI และปลูกฝังเรื่อง AI แก่ประชาชนเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องเริ่มดำเนินการตั้งแต่เวลานี้

ศ.กิตติคุณ ดร.วรศักดิ์กล่าวเพิ่มเติมว่า AI เป็นหนึ่งในสามสมรรถนะที่เยาวชนจะต้องเรียนรู้นอกเหนือจากสมรรถนะทางด้านภาษาและการคำนวณ ประเทศไทยจึงควรเตรียมความพร้อมให้แก่ประชาชนในเรื่องนี้ รวมถึงการแทรกเรื่อง AI เข้าไปในหลักสูตรการเรียนการสอน ในอนาคตหาก AI เข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมและการพัฒนาอุปกรณ์ต่างๆ AI จะสามารถสร้างงานได้อย่างมหาศาลโดยไม่ต้องใช้แรงงานคน หากเราไม่มีการเตรียมคนให้มีความรู้เรื่อง AI ในอนาคตอาจทำให้คนตกงานได้

จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม

รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า