ข่าวสารจุฬาฯ

อาจารย์และนักเรียนสาธิตจุฬาฯ คว้า 2 Grand Prize การประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมระดับนานาชาติ WICO 2023 ที่เกาหลีใต้

อาจารย์และนักเรียนโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ สร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทยในระดับนานาชาติ คว้าสองรางวัลใหญ่  Grand Prize และรางวัลต่างๆ รวม 22 รางวัล จากการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมระดับนานาชาติ งาน “12th  World Invention Creativity Olympic 2023” (WICO 2023) จัดโดย Korea University Invention Association (KUIA) and World Invention Intellectual Property Association (WIIPA) เมื่อวันที่ 27-29 กรกฎาคม 2566 ณ SETEC Convention Hall กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งมีผู้ส่งผลงานนวัตกรรมเข้าประกวดรวมทั้งสิ้น 311 ผลงาน จาก 22 ประเทศ

ผลงานนวัตกรรมจากอาจารย์และนักเรียนโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ที่ได้รับรางวัลมีดังนี้

  • นวัตกรรม “OxyRock” ได้รับรางวัล Grand Prize เหรียญทอง และ Special Award  ผลงานของ อ.จีระศักดิ์ จิตรโรจนรักษ์ Mr.Robert Armstrong อาจารย์โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายประถม และนายปรินทร แจ้งทวี นิสิตระดับดุษฎีบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ได้คิดค้นร่วมกับ ศ.ดร.สนอง เอกสิทธิ์ อาจารย์ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ
นวัตกรรม “OxyRock”

“OxyRock” เป็นนวัตกรรมที่นำเส้นพลาสติกที่ทำมาจากเศษพลาสติก (PLA) ที่เหลือทิ้งจากการปริ้นส์งาน 3D รวมกับทรายประกายมุกที่ผลิตจากเปลือกหอยแมลงภู่เหลือทิ้ง มาขึ้นรูปทรงตามที่ต้องการแล้วเคลือบด้วยไทเทเนี่ยมที่ผสมกับทรายประกายมุกอีกครั้ง ทำให้รูปทรงดังกล่าวมีคุณสมบัติในการดูดซับกลิ่นไม่พึงประสงค์ ช่วยในการฟอกอากาศ

นวัตกรรม “SAS Smart Alert Sensor”
  • นวัตกรรม “SAS Smart Alert Sensor” ได้รับรางวัล Grand Prize และเหรียญทอง ผลงานของ ด.ญ.รวินท์ ชูจารุกุล ด.ช.ภาสันต์ สันพนวัฒน์ ด.ญ.แทนหทัย  จิตธรรม และ ด.ช.ภาวิน รุ่งโรจน์ชัยพร

“SAS Smart Alert Sensor”เป็นนวัตกรรมช่วยชีวิตที่ออกแบบให้เป็นของตกแต่งบ้าน ภายในติดตั้งกล้องวงจรปิด และเซนเซอร์ขั้นสูงที่สามารถตรวจจับเหตุอันตราย  ได้แก่  แผ่นดินไหว เพลิงไหม้ แก๊ซรั่ว ขโมย มลพิษทางอากาศ เช่น  PM2.5 VOCs  และมลพิษทางเสียง โดยข้อมูลจะแจ้งเตือนผ่านแอพบนสมาร์ตโฟนได้อัตโนมัติ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถตอบสนองได้อย่างทันท่วงที

นอกจากนี้ผลงานนวัตกรรมจากอาจารย์และนักเรียนโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ยังสามารถคว้ารางวัลต่างๆ จากการประกวดครั้งนี้ได้แก่

  • ผลงาน “Happiness of Color” โดย อ.สุภิญญา สมทา  ด้รับรางวัลเหรียญทอง และ Special Award จาก Indonesian Invention and Innovation Promotion Association (INNOPA) 
  • ผลงาน “CuDough” โดย อ.น้ำผึ้ง ทวีพรปฐมกุล ได้รับรางวัลเหรียญทอง และ Special Award จาก Indonesian Invention and Innovation Promotion Association (INNOPA) 
  • ผลงาน “Happy Pill Dispenser”โดย ด.ช.ณธันย์ โฉลกพันธ์รัตน์ และ ด.ช.ณกันต์ โฉลกพันธ์รัตน์  ได้รับรางวัลเหรียญทอง และ Special Award จาก World Invention Intellectual Property Association (WIIPA) 
  • ผลงาน “Specialized Cleaning and Residue Unveiling Bot” โดย น.ส.วริณศยา  เสรีภาพงศ์ น.ส.พิชญ์ภณิตา เมธาสุริยะพงษ์ น.ส.พิมพ์พิศา พิศาลบุตร โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ  นายแทนธรรม จิตธรรม CATS Academy Boston (USA) ได้รับรางวัลเหรียญทอง และ Special Award จาก Research Institute of Creative Education และผลงาน “Germ Guard Goo” 
  • ผลงาน “Ice Seperated” โดย น.ส.ชมฉัน สิทธิกิจ  ได้รับรางวัลเหรียญทอง และ Special Award จาก World Invention Intellectual Property Association (WIIPA) 
  • ผลงาน “Metal Hub” โดย น.ส.ภิญญดา ธัญญวรรณ์  ได้รับรางวัลเหรียญทอง 
  • ผลงาน “Oh my back” โดย ด.ญ.พัทธวรรณ พิบูลธรรม  ด.ญ.พัทธ์ธีรา อรพิมพันธ์ ด.ช.พิชชากร อรพิมพันธ์ ได้รับรางวัลเหรียญทอง 
  • ผลงาน “O-NE CASE” โดย ด.ญ.สิรรินทร์ ประสิทธิ์ดำรง โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ด.ช.ธนินกิตติ์ ประสิทธิ์ดำรง โรงเรียนสาธิตปทุมวัน  ด.ช.ปรานต์ อุดมแสวงทรัพย์ โรงเรียนนานาชาติโชรส์เบอรี  ได้รับรางวัลเหรียญทอง  
  • ผลงาน “WAJA” โดย อ.ดร.พรศิริ สันทัดรบ ได้รับรางวัลเหรียญทอง 
  • ผลงาน “Handy Dandy Mat” โดย ด.ญ.ภัสญา ฤกษ์พิทักษ์พาณิช, ด.ญ.อรณิชชา พิบูลย์รัตนกิจ, ด.ญ.สุพิชญา พรวิลาศสิริ ได้รับรางวัลเหรียญทอง 

ผลงาน “5-in-1 Page Turner” โดย ด.ญ.ปัณณภรณ์  ทองเจริญ ด.ญ.ณิชชา  วิทูราภรณ์ โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ด.ญ.ณทักษพร อภิเกษมสันติ์ โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ ด.ญ.อลิสา ครามาเชค โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย ได้รับรางวัลเหรียญเงิน

ผลผลิตของจุฬาฯ คือ การผลิตบัณฑิต สร้างคนคุณภาพสู่สังคม

ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า