รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
7 พฤศจิกายน 2566
งานวิจัยและนวัตกรรม, ข่าวเด่น, ภาพข่าว
ผู้เขียน สมบูรณ์ พัฒนปรีชาเสถียร
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ และศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยมหิดล กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัดพิธีส่งมอบเท้าเทียมไดนามิกสำหรับผู้พิการขาขาดที่ยังแข็งแรง (“sPace” High-Quality Dynamic Prosthetic Feet) ให้กับโรงพยาบาลทหารผ่านศึก (รพ.ผศ.) เมื่อวันศุกร์ที่ 3 พฤศจิกายน 2566 โดยมุ่งหวังให้ทหารผ่านศึกและพลเรือนที่มีความพิการขาขาดทุกระดับได้มีโอกาสใช้นวัตกรรมเท้าเทียมไดนามิกสูง (sPace) เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ สามารถดำเนินชีวิตประจำวันและกิจกรรมอื่น ๆ ตามที่คาดหวังได้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งสามารถสร้างโอกาสในการประกอบอาชีพได้มากขึ้นตามวัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตให้คนพิการขาขาดทั่วประเทศไทยด้วยนวัตกรรมเท้าเทียมไดนามิกเอสเพส (sPace) ซึ่งได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องนับจากพิธีเปิดโครงการของขวัญปีใหม่จากรัฐบาล 2566 เมื่อวันพุธที่ 25 มกราคม 2566 โดยคาดว่าจะสามารถส่งมอบเท้าเทียมจำนวน 300 ขา ให้กับ 22 โรงพยาบาลทั่วประเทศได้ภายในปี 2566
พิธีส่งมอบเท้าเทียมไดนามิกสำหรับผู็พิการขาขาดให้โรงพยาบาลทหารผ่านศึกในครั้งนี้ ศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เป็นประธานส่งมอบเท้าเทียมไดนามิกเอสเพส แก่ พล.อ.เดชนิธิศ เหลืองงามขำ ผู้อำนวยการองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก (ผอ.อผศ.) ผู้ร่วมพิธีประกอบด้วย ดร. ศุภิชัย ตั้งใจตรง กรรมการผู้อำนวยการ ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาฯ รศ.ดร.ไพรัช ตั้งพรประเสริฐ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ หัวหน้าโครงการวิจัยฯ รศ.ดร.ชัญญาพันธ์ วิรุฬห์ศรี ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ทีมวิจัยผู้พัฒนาเท้าเทียมไดนามิกเอสเพส (sPace)
ผู้ร่วมรับมอบประกอบด้วย นพ.สง่า พินิจพิชิตกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลทหารผ่านศึก (ผอ.รพ.ผศ.) และ นพ.ไชยยศ ชัยชาญกุล ผู้อำนวยการกองออร์โธปิดิกส์และกายอุปกรณ์ (ผอ.กออ.รพ.ผศ.) โดยมี ทพ.วรกิจ ไวทยะวานิชกุล ผู้ชำนาญการ รพ.ผศ. รักษาการรองผู้อำนวยการ รพ.ผศ. (ฝ่ายบริหาร) พญ.บรินดา อุจวาที รองผู้อำนวยการ รพ.ผศ. (ฝ่ายการแพทย์) พญ.ปาจรีย์ ศรัยสวัสดิ์ รองผู้อำนวยการ รพ.ผศ. (ฝ่ายสนับสนุน) ร.ต.หญิง ธิดานุช เพียรชูชัย ร.น. รองผู้อำนวยการ รพ.ผศ. (ฝ่ายการพยาบาล) นางเกศแก้ว ทองสุขชัยชนะ ผู้อำนวยการกองกลาง รพ.ผศ. เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของ รพ.ผศ. และทีมวิจัยผู้พัฒนาเท้าเทียมไดนามิกเอสเพส ร่วมแสดงความยินดี
เท้าเทียมไดนามิกเอสเพส (sPace) เป็นนวัตกรรมที่คิดค้นโดยทีมนักวิจัยของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านกายอุปกรณ์และสิ่งปลูกฝังทางออร์โธปิดิกส์ และคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งได้รับรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2566 ระดับดีมาก และ IFIA Best Invention Award มีความสวยงาม ทันสมัย ปลอดภัย และได้รับการรับรองมาตรฐานความแข็งแกร่ง ISO 10328 จากประเทศเยอรมนี รวมทั้งได้รับการรับรองคุณภาพและการขึ้นทะเบียนเป็นเครื่องมือทางการแพทย์จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แล้ว
ในการนี้ พล.อ.เดชนิธิศ เหลืองงามขำ ผู้อำนวยการ อผศ. และคณะผู้บริหาร รพ.ผศ. นำคณะผู้บริหารและทีมวิจัยจุฬาฯ เข้าเยี่ยมชมงานกิจกรรมบำบัดเพื่อฝึกอาชีพ กองเวชศาสตร์ฟื้นฟู รพ.ผศ. ซึ่งจัดตั้งโดยกรมการแพทย์ทหารบก ตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงห่วงใยทหารที่บาดเจ็บถึงพิการทุพพลภาพ ควรได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกาย การเยียวยาทางด้านจิตใจตลอดจนเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพเพื่อหารายได้เลี้ยงชีพตนเอง ซึ่งจะส่งผลให้ทหารผ่านศึกผู้พิการเหล่านั้นได้กลับมาเห็นคุณค่าในตนเอง รวมถึงลดความเครียดจากสภาพความพิการของตนเองผ่านกิจกรรมบำบัดฝึกอาชีพต่าง ๆ ซึ่งประกอบด้วยการฝึกแกะสลักไม้วิจิตรศิลป์ ศิลปประดิษฐ์ ไทย-โอชิเอะ ศิลปะเดคูพาจ โครงการภาพวาดสีน้ำ-สีน้ำมัน โดยมีการหมุนเวียนสับเปลี่ยนกิจกรรมการฝึกอาชีพต่าง ๆ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพความพิการและความต้องการของทหารผ่านศึกพิการของ รพ.ผศ.
คณะผู้บริหารและทีมวิจัยจุฬาฯ และคณะผู้บริหาร รพ.ผศ. มุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเท้าเทียมไดนามิกเอสเพส (sPace) ที่ได้ส่งมอบในครั้งนี้จะทำประโยชน์และช่วยเหลือให้ทหารผ่านศึกและพลเรือนที่มีความพิการซึ่งต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลเป็นเวลานานได้ฟื้นฟูบำบัดทั้งร่างกายและจิตใจ สามารถดำเนินกิจกรรมที่ต้องใช้การเคลื่อนไหวได้มากขึ้น ตลอดจนมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับบริษัท ดีกรีพลัส ส่งเสริมการเรียนรู้และทักษะวิชาชีพ พัฒนานิสิตสู่ความเป็น Lifelong Leader
นิสิตบัญชี จุฬาฯ คว้ารางวัลจากการแข่งขันกรณีศึกษาทางบัญชีระดับประเทศ ครั้งที่ 8 ประจำปี 2567
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ เชิญฟังการบรรยายพิเศษ 2 หัวข้อในโครงการ “Architecture and Design for Society Lecture Series AY2024”
นวัตกรรมจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้รับรางวัลเลิศรัฐ ประจำปี 2567 สาขาบริการภาครัฐ ระดับดีเด่น ประเภทนวัตกรรมการบริการ
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดโครงการ “พุทธศิลป์ พุทธศึกษา จากพระพุทธปฏิมาสู่การอนุรักษ์”
ศศินทร์ เสริมทักษะนักลงทุนให้นิสิตด้วย TradingView
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้