รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
29 พฤศจิกายน 2566
ข่าวเด่น
ผู้เขียน เมธาพร ไตรกิจวัฒนกุล
คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและสำนักกฎหมายเอกชน ได้แก่ กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ, สถาบันนิติวัชร์ สำนักงานอัยการสูงสุด, Chandler MHM, DLA PIPER, HERBERT SMITH FREEHILLS, KUDUN & PARTNERS, RAJAH & TANN ASIA, Thanathip & Partners, Tilleke & Gibbins, NISHIMURA & ASAHI และ WEERAWONG C&P เพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนสร้างเสริมวิชาการทางนิติศาสตร์และพัฒนาทักษะวิชาชีพสำหรับนักกฎหมาย พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ โดย ผศ.ดร.ปารีณา ศรีวนิชย์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ กับผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐและสำนักกฎหมายเอกชน เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2566 ณ คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ มีแขกผู้มีเกียรติร่วมเป็นสักขีพยานคับคั่ง
คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำงานร่วมกับหน่วยงานด้านกฎหมายชั้นนำทั้งในระดับนานาชาติ และระดับชาติมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงกว่า 6 ปีที่ผ่านมา พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความร่วมมือกันระหว่างสถาบันการศึกษากับหน่วยงานวิชาชีพที่มีอยู่ ช่วยกรุยทางให้ประเทศไทยสร้างนักกฎหมายที่ครบเครื่องสู่สังคมและยังสามารถแข่งขันได้บนเวทีโลก
ผศ.ดร.ปารีณา ศรีวนิชย์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า “คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ได้สร้างนวัตกรรมเพื่อเปลี่ยนโฉมรูปแบบการเรียนการสอนนิติศาสตร์ให้ทันสมัยมาโดยตลอด เพื่อมุ่งให้เกิดการหลอมรวม (Blended and Intergrated) ระหว่างภาควิชาการ และหน่วยงานวิชาชีพ ให้นิสิตได้เรียนรู้จากทั้งจากประสบการณ์จริงนอกห้องเรียน เช่น โครงการ Lawlab ห้องปฏิบัติการทางกฎหมายด้านทรัพย์สินทางปัญญา โครงการ Chula Legaltech และนำประสบการณ์จริงจากผู้นำในวิชาชีพเข้ามาสู่นิสิตในห้องเรียนในโครงการติดอาวุธทักษะการทำงาน Essential Skills for Legal Practice ภายใต้ความมุ่งหมายที่จะสร้างนักกฎหมายรุ่นใหม่ที่พร้อมทำงานและทันต่อสังคมยุคใหม่”
ม.ล.ศุภกิตต์ จรูญโรจน์ เลขาธิการสถาบันนิติวัชร์ สำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวถึงความต้องการนักกฎหมายสมัยใหม่ในหน่วยงานภาครัฐว่า “การได้เรียนรู้โลกแห่งความจริงก่อนที่จะเข้าไปประกอบอาชีพนักกฎหมายจะช่วยให้นิสิตได้รู้จักตนเองก่อนเลยว่าเราพร้อมจะก้าวไปทิศทางใด เช่น ใครที่อยากมาในสายอัยการก็จะได้เข้าใจบทบาทและหน้าที่ของอัยการมากขึ้น ในส่วนของหน่วยงานภาครัฐเองก็จำเป็นต้องปรับตัวด้วยเช่นกัน ต้องลงมาทำความรู้จักและเข้าใจมุมมองของคนรุ่นใหม่ว่าเขามีมุมมอง ความเข้าใจ และความคาดหวังอย่างไรต่อกระบวนการยุติธรรมไทย การสร้าง Engagement กับคนรุ่นใหม่ทำให้เราได้แนวคิดใหม่ๆ ไม่ยึดติดอยู่แต่ในกรอบเดิมในการนำข้อกฎหมายไปใช้วินิจฉัย เพื่อให้กระบวนการยุติธรรมตอบโจทย์บริบทใหม่ในสังคมที่เปิดกว้างมากขึ้น”
ทางด้าน คุณชวลรรค ศิวยาธร อาราเนตา Managing Partner บริษัท ที่ปรึกษากฎหมายธนาธิป แอนด์พาร์ทเนอร์ส จำกัด กล่าวถึงการเข้ามาร่วมขับเคลื่อนแนวทางการศึกษาวิชากฎหมายแบบใหม่ในครั้งนี้ว่า “เราเข้ามาสนับสนุนคณะตั้งแต่ช่วงที่ทำ Lawlab จึงทำให้ได้เห็นศักยภาพของน้องนิสิตยุคนี้ที่มีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อน้องเก่งขึ้นประกอบกับเมื่อเราเข้ามาทำเรื่อง Essential Skill เหมือนได้มาช่วยติดอาวุธให้น้องแข็งแรงขึ้นและพบพื้นที่ที่เขาถนัด ซึ่งทำให้น้องมีโอกาสเลือกว่าเขาชอบอะไร มีความสอดคล้องกับ Law Firm สไตล์ไหน ซึ่งในโลกการทำงานจริงบริษัทแต่ละที่จะมีความถนัดแตกแขนงแยกย่อยลึกลงไปอีกมาก ซึ่งการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ที่คณะดึงพี่ๆ นิสิตเก่าเข้ามาร่วมสนับสนุนจะช่วยพาน้องนิสิตไปสัมผัสประสบการณ์จริงหลากหลายรูปแบบจนสามารถเลือกสายงานได้อย่างมั่นใจ และนี่คือความแตกต่างสำคัญของนิติศาสตร์ จุฬาฯ วันนี้”
คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้บุกเบิกนวัตกรรมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ล่าสุด เปิดหลักสูตรนานาชาติในระดับปริญญาตรี (LLB) ที่เน้นการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง (Experiential Learning) ตลอดหลักสูตร ได้รับการตอบรับจากทั้งผู้เรียนและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเป็นอย่างดี และจากความร่วมมือใหม่ที่เกิดขึ้นนี้จะยิ่งต่อยอดเสริมสมรรถนะให้การผลิตบัณฑิตนิติศาสตร์ไทยตอบโจทย์ตรงตามความต้องการของตลาดสอดรับกับการพัฒนาประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืน
ละครนิเทศจุฬาฯ 2567 “ด้ายแดงเป็นเหตุ Unfortunate Love”
24 - 26 มกราคม 2568
ณ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ ชั้น 7 อาคารสยามสแควร์
จุฬาฯ ต้อนรับคณะศึกษาดูงานด้านการบริหารความเสี่ยงจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แบ่งปันประสบการณ์การพัฒนาระบบบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัย
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมเรื่อง “กัญชาทางการแพทย์: ความรู้ที่ต้องมีสำหรับเภสัชกรยุคใหม่”
11 ธ.ค. 67 เวลา 09.00 – 12.15 น.
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ และ Zoom
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมโครงการ “Next-Gen Arts: พัฒนาศักยภาพครูศิลปะด้วย Soft Power”
นิสิตเก่าจุฬาฯ พัฒนาโฟมล้างมือแบบเม็ดฟู่ “Fongdoo” ลดขยะพลาสติก ภายใต้การสนับสนุนของ CU Innovation Hub
วิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนา “เข้าใจน้ำท่วม แนวคิดวิศวกร” เผยแพร่องค์ความรู้ใหม่รับมืออุทกภัยในอนาคต
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ เป็นที่ที่เราได้มาพบตัวเองจริงๆ และเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
คุณรสสุคนธ์ กองเกตุ (ครูเงาะ) นิสิตเก่า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้