รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
21 มีนาคม 2567
ข่าวเด่น
ผู้เขียน เมธาพร ไตรกิจวัฒนกุล
เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2567 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เผยแพร่ ข้อบังคับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่าด้วย ประมวลจริยธรรม 2567 ซึ่งเป็นข้อบังคับใหม่เกี่ยวกับประมวลจริยธรรม โดยอำนาจตามมาตรา 21 (2) ของพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2551 และมาตรา 20 ของพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 รวมถึงข้อ 7 (2) ของข้อบังคับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเรื่อง ธรรมาภิบาลของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2564 ในการประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 883 ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างความโปร่งใสและความรับผิดชอบในการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัย ระบุค่านิยมและกลไกในการปฏิบัติตามต่อมาตรฐานนี้ให้ทุกประเภทของบุคลากรในมหาวิทยาลัย เพื่อให้การบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพและมีความโปร่งใสมากยิ่งขึ้น
ซึ่งข้อบังคับใหม่นี้จะครอบคลุมทั้งการกำกับดูแลตั้งแต่นายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัย ซึ่งต้องแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตและเป็นกลาง รวมถึงการรักษาความลับและการปฏิบัติตามกฎหมายของผู้บริหาร
ขณะที่ผู้บริหารมหาวิทยาลัยจะต้องบริหารองค์กรตามนโยบายอย่างเต็มความสามารถ รักษาข้อมูลลับและปฏิบัติตามกฎหมาย และรับฟังความคิดเห็นทุกฝ่าย
ในขณะเดียวกันผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยจะต้องปฏิบัติตามจริยธรรมหลัก 9 ประการ เช่น การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบและพัฒนางานของมหาวิทยาลัยให้เจริญก้าวหน้า การเกียรติผู้ร่วมงานและละเว้นความประพฤติที่เป็นการล่วงละเมิดบุคคลอื่น การพัฒนาตนเองและพร้อมทำงานเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม ซึ่งเป็นหลักการที่สำคัญที่จะเสริมสร้างความโปร่งใสและความรับผิดชอบในมหาวิทยาลัย
ในฐานะของคณาจารย์มีหลักจริยธรรมเฉพาะ 6 ประการ เช่น การสอนและส่งเสริมการเรียนรู้อย่างรับผิดชอบ การแสดงความเห็นทางวิชาการอย่างสุจริตและไม่ถูกครอบงำจากผู้อื่น ซึ่งเป็นการส่งเสริมความเป็นมนุษย์ที่ดีและพัฒนาการเรียนรู้ของนิสิตอย่างเหมาะสม
สำหรับนิสิตก็มีหลักจริยธรรมเฉพาะอีก 4 ประการ เช่น การตั้งใจพัฒนาตนเองให้มีความรู้และทักษะการดำรงชีวิต การแสดงความเห็นที่เป็นกัลยาณมิตรและการปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่งเป็นการส่งเสริมความรับผิดชอบและความเป็นสังคมที่ดีในสังคมมหาวิทยาลัย
จะเห็นได้ว่า ข้อบังคับดังกล่าวเป็นการเน้นย้ำความสำคัญของความโปร่งใสและการปฏิบัติตามกฎหมายที่เป็นรากฐานของการบริหารจัดการที่ดีในมหาวิทยาลัย และเป็นการเสนอแนวทางในการพัฒนาการบริหารจัดการที่เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
อธิการบดีจุฬาฯ รับพระราชทานโล่ประกาศเกียรติคุณมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริฯ ในพิธีต้อนรับเรือเสว่ยหลง 2 เยือนประเทศไทย
นักวิจัยจุฬาฯ ตัวแทนไทยร่วมคณะสำรวจแอนตาร์กติกบนเรือตัดน้ำแข็ง “เสว่ยหลง 2” จากจีน ตามรอยไมโครพลาสติก ถอดรหัสผลกระทบโลกร้อน สู่จิ๊กซอว์ความรู้เพื่อโลก
คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมนักจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตในองค์กร
บริษัทจำลองจุฬาฯ 2025 เปิดโครงการฝึกงานนิสิตภาคฤดูร้อน ภายใต้ปณิธาน “ทำงานด้วยใจ คืนกำไรสู่สังคม”
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้