รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
18 เมษายน 2567
ข่าวเด่น
ในช่วงฤดูร้อนที่อุณหภูมิในบ้านเราสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส ภัยเงียบที่มากับอากาศร้อนก็คือโรคลมแดดหรือฮีทสโตรกซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ผู้ที่ทำกิจกรรมกลางแจ้งหรือออกกำลังกายในที่ที่มีอุณหภูมิสูงเกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะที่อากาศร้อนเพิ่มขึ้นทุกปี คาดการณ์ว่าจะมีผู้เสียชีวิตจากฮีทสโตรกสูงขึ้นเรื่อย ๆ
อ.นพ.อรรถสิทธิ์ โคมินทร์ ฝ่ายเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เปิดเผยว่า ฮีทสโตรก หรือโรคลมแดดเป็นภาวะที่เกิดจากร่างกายมีความร้อนสูงขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้ระบบประสาททำงานผิดปกติ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มีอาการฮีทสโตรกเกิดจากการทำงาน ใช้แรงงาน หรือออกกำลังกายอย่างหนักในภาวะแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูง มักเกิดขึ้นเมื่ออุณหภูมิร่างกายสูงถึง 40 องศาเซลเซียสหรือมากกว่า หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องทันท่วงที จะมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายถึงขั้นพิการและเสียชีวิตได้
ฮีทสโตรกเกิดจากสาเหตุหลักคือความร้อน การอยู่ในที่โล่งแจ้ง หรือในสถานที่ที่มีความร้อนมากเกินไปเป็นเวลานาน การถ่ายเทความร้อนที่ไม่ดี ใส่เสื้อผ้าที่หนาเกินไปทำให้ไม่สามารถระบายอากาศได้ดี การดื่มน้ำน้อย หรือดื่มเครื่องดื่มที่กระตุ้นให้เกิดความร้อนในร่างกายเพิ่มขึ้น การออกกำลังกายที่หนักและต่อเนื่อง และการปรับตัวของร่างกายไม่ทันเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนแปลง
อ.นพ.อรรถสิทธิ์เผยว่า ผู้ที่มีอาการฮีทสโตรกจะมีสัญญาณเตือนล่วงหน้า อาการที่แสดงออกมามีหลากหลายตั้งแต่อาการน้อยไปถึงอาการมาก บางรายอาจจะไม่มีอาการหรือไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ มารู้ตัวอีกทีก็หมดสติไปแล้ว อาการส่วนใหญ่ที่พบ จะเริ่มจากรู้สึกร้อนมาก เวียนศีรษะ หน้ามืด คลื่นไส้อาเจียน ต่อมเหงื่อทำงานผิดปกติ เหงื่อออกมากหรือไม่มีเหงื่อออก มีอาการชักเกร็ง และเป็นลมหมดสติ ผู้ที่มีความเสี่ยงจะเป็นฮีทสโตรกได้ง่ายๆ ก็คือผู้ที่ทำงานกลางแจ้งเป็นเวลานานๆ ใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ไม่ดี เช่น ทหาร ตำรวจ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย พนักงานทำความสะอาด นักกีฬา เป็นต้น
ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการไม่มากและยังรู้สึกตัวควรนำผู้ป่วยเข้าที่ร่ม ถอดเสื้อผ้าเพื่อระบายความร้อน ทำให้ผู้ป่วยมีอุณหภูมิเย็นลงด้วยวิธีใดก็ได้ เช่น เป่าพัดลม วางถุงน้ำแข็งหรือผ้าเย็นที่เปียกบนศีรษะ คอ รักแร้ และขาหนีบ วางผู้ป่วยในอ่างน้ำเย็นหรือฝักบัวเย็น แล้วฉีดน้ำขณะรอรถพยาบาล กรณีที่ไม่สามารถทำให้ความร้อนลดลงได้จริง ๆ อาจต้องใช้วิธีการล้างท้องหรือการสวนปัสสาวะด้วยน้ำเกลือเย็นก็ได้
อ.นพ.อรรถสิทธิ์ได้ให้คำแนะนำแก่ประชาชนในการดูแลตัวเองให้ปลอดภัยจากฮีทสโตรกหรือโรคลมแดด โดยหลีกเลี่ยงการทำงานหรือกิจกรรมในที่โล่งแจ้งที่มีอากาศร้อนเป็นเวลานาน ๆ สวมเสื้อผ้าที่หลวมหรือบางเมื่อสัมผัสกับความร้อนหรือบริเวณที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก จิบดื่มน้ำบ่อย ๆ และให้เพียงพอเพื่อรักษาอุณหภูมิร่างกายให้ปกติ สำหรับผู้ที่ออกกำลังกายหากรู้สึกว่าเกิดความผิดปกติของร่างกายขณะออกกำลังกายควรหยุดพักทันที หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ และเครื่องดื่มน้ำตาลสูง
“หากพบเห็นผู้ที่มีอาการผิดปกติทางร่างกายเนื่องจากฮีทสโตรกโดยที่ผู้ป่วยยังรู้สึกตัวอยู่ สามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นโดยพาผู้ป่วยเข้าที่ร่ม ถอดเสื้อผ้าเพื่อระบายความร้อน และเรียกรถพยาบาลฉุกเฉินที่หมายเลข 1669 เพื่อให้ความช่วยเหลืออย่างทันท่วงที” อ.นพ.อรรถสิทธิ์กล่าวทิ้งท้าย
อาจารย์และนิสิตสถาปัตย์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษา Tokyo Metropolitan University ที่ญี่ปุ่น
อาจารย์และนิสิตภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษาจาก Faculty of Urban Environmental Sciences, Tokyo Metropolitan University ประเทศญี่ปุ่น (TMU)
จุฬาฯ ร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายสักการะและจัดพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเนื่องใน “วันนวมินทรมหาราช”
ละครนิเทศจุฬาฯ 2567 “ด้ายแดงเป็นเหตุ Unfortunate Love”
24 - 26 มกราคม 2568
ณ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ ชั้น 7 อาคารสยามสแควร์
จุฬาฯ ต้อนรับคณะศึกษาดูงานด้านการบริหารความเสี่ยงจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แบ่งปันประสบการณ์การพัฒนาระบบบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัย
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมเรื่อง “กัญชาทางการแพทย์: ความรู้ที่ต้องมีสำหรับเภสัชกรยุคใหม่”
11 ธ.ค. 67 เวลา 09.00 – 12.15 น.
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ และ Zoom
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมโครงการ “Next-Gen Arts: พัฒนาศักยภาพครูศิลปะด้วย Soft Power”
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้