ข่าวสารจุฬาฯ

ชุดตรวจดีเอ็นเอ AristoScan ในสมุนไพรที่มีกรดอริสโทโลกิกทำให้เกิดโรคมะเร็งไต นวัตกรรมจุฬาฯ คว้าเหรียญเงินจากการประกวดนวัตกรรมที่สวิตเซอร์แลนด์

“ชุดตรวจดีเอ็นเอภาคสนามแบบรวดเร็วด้วยเทคโนโลยีคริสเปอร์-แคส 12 เอ สำหรับพืชพิษที่สร้างกรดอริสโทโลกิกซึ่งทำให้เกิดโรคไต“ ผลงานนวัตกรรมจากศูนย์ความเชี่ยวชาญด้านดีเอ็นเอบาร์โค้ดของสมุนไพรไทย  คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับรางวัลเหรียญเงินในงาน “The 49th  International Exhibition of Inventions Geneva” ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 17 – 21 เมษายน 2567 ณ นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

              คณาจารย์ผู้พัฒนานวัตกรรม ประกอบด้วย  ศ.ภญ. ร.ต.อ.หญิง ดร.สุชาดา สุขหร่อง คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ศ.ดร.สัญชัย พยุงภร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ อ.ดร.พัชราวลัย วงศ์ศิริ และ ภก.ชยพล ตั้งพัฒน์ทอง คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ

               “ชุดตรวจดีเอ็นเอภาคสนามแบบรวดเร็วด้วยเทคโนโลยีคริสเปอร์-แคส 12 เอ สำหรับพืชพิษที่สร้างกรดอริสโทโลกิกซึ่งทำให้เกิดโรคไต” (A Quick and field-deployable CRISPR-Cas12a diagnostic kit for the DNA detection of poisonous plants containing aristolochic acid, the compound that caused nephropathy) มีที่มาจากองค์การอนามัยโลกประกาศให้กรดอริสโทโลกิก (Aristolochic acid) เป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ โดยเฉพาะมะเร็งไต และรัฐบาลไทยประกาศห้ามใช้สมุนไพรทุกชนิดที่ประกอบด้วยกรดอริสโทโลกิก ซึ่งรวมทั้งสมุนไพรไคร้เครือที่นิยมผสมในตำรับยาไทยหลายตำรับ ศูนย์เชี่ยวชาญด้านดีเอ็นเอบาร์โค้ดของพืชสมุนไพรไทย คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ได้ทำการสำรวจและพบว่ายังมีการจำหน่ายสมุนไพรไคร้เครืออยู่และยังตรวจพบกรดอริสโทโลกิกในตำรับยาไทยหลายตำรับ ซึ่งส่งผลอันตรายต่อผู้บริโภค ทำให้เกิดอาการไตวายหรือมะเร็งไตได้ ดังนั้นจึงได้พัฒนาชุดตรวจดีเอ็นเออย่างรวดเร็วโดยใช้เทคโนโลยีคริสเปอร์-แคส 12 เอ ชื่อ “AistoScan” เพื่อตรวจการปนของสมุนไพร ซึ่งชุดตรวจนี้สามารถใช้ในภาคสนามได้

              ชุดตรวจดีเอ็นเอ AristoScan นี้เป็นชุดตรวจดีเอ็นเอของสมุนไพรที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งไตแบบรวดเร็ว โดยการใช้เทคโนโลยีคริสเปอร์-แคส 12 เอ ชุดแรกของโลก ซึ่งไม่ต้องใช้เครื่องมือที่ซับซ้อน ถูกออกแบบมาให้สามารถตรวจพืชสมุนไพรได้ครอบคลุมทุกสกุลที่เคยมีรายงานในโลกว่ามีการสร้างกรดอริสโทโลกิก ได้แก่พืชสกุล Aristolochia, Thottea, Asarum และ Saruma สามารถลดระยะเวลาการตรวจจากหลายวันเหลือเพียง 30 นาที นอกจากนี้ยังสามารถสังเกตุผลได้ด้วยตาเปล่า มีความจำเพาะ แม่นยำ และว่องไวสูง สามารถใช้ตรวจพืชพิษหรือตำรับยาที่ผสมสมุนไพรที่มีองค์ประกอบของกรดอริสโทโลกิก เป็นประโยชน์แก่หน่วยงานที่กำกับดูแลสมุนไพร ผู้ประกอบการ และประชาชนทั่วไป นอกจากนี้งานวิจัยชุดตรวจดีเอ็นเอ AristoScan ทำให้เกิดแพลตฟอร์มซึ่งสามารถนำไปประดิษฐ์เป็นชุดตรวจดีเอ็นเอชนิดอื่น ๆ ได้อีก เช่น พืชเสพติด พืชพิษ การตรวจการผสมของเนื้อสัตว์ในอาหารฮาลาล รวมทั้งการตรวจโรคติดเชื้อทั้งในมนุษย์ สัตว์ และพืช

จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้

ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

อนุญาตทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า