รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
21 พฤษภาคม 2567
งานวิจัยและนวัตกรรม, ข่าวเด่น, ความภูมิใจของจุฬาฯ
ผู้เขียน ฐนิตา หวังวณิชพันธุ์
คณะกรรมการนานาชาติจากเวทีการนำเสนอ และประกวดนวัตกรรม ระดับนานาชาติ ในงาน 35th International Innovation & Technology Exhibition 2024 (ITEX 2024) เมื่อวันที่ 16-18 พฤษภาคม 2567 ณ Kuala Lumpur Convention Centre สหพันธรัฐมาเลเซีย ได้ประกาศมอบรางวัล จำนวน 4 รางวัล แบ่งเป็น รางวัลเหรียญทอง 3 รางวัล และรางวัลพิเศษ 1 รางวัลแก่ 3 ผลงานวัตกรรมจุฬาฯ ดังนี้
นวัตกรรมชิ้นนี้เป็นผลิตภัณฑ์เจลทรานสเฟอร์โซมที่พัฒนาขึ้น สามารถนำส่งสารสำคัญกรดเอเชียติกที่พบในพืชบัวบกเข้าสู่เมมเบรนผิวหนังจำลองได้ในปริมาณสูงหลังจากใช้ 8 ชั่วโมง จากการศึกษาทางคลินิกพบว่าเจลทรานสเฟอร์โซมเก็บกักกรดเอเชียติกช่วยลดปริมาณเม็ดสีผิวเมลานินซึ่งแสดงถึงประสิทธิภาพในการลดความเข้มของสีผิวที่ผิดปกติ อีกทั้งยังเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับผิวบริเวณแผลเป็นได้ เป็นนวัตกรรมทางเลือกสำหรับการรักษาแผลเป็น
เจลทรานสเฟอร์โซมเก็บกักกรดเอเชียติกเพื่อใช้ทาลบเลือนรอยแผลเป็น ได้รับรางวัลเหรียญทอง จาก ITEX2024 และ ถ้วยรางวัลพิเศษ Special Prize for the best international invention โดย Korea Invention Promotion Association ซึ่งผลงานดังกล่าวศึกษาวิจัยโดย ผศ.ภญ.ดร.รมย์ฉัตร ชูโตประพัฒน์ จาก ภาควิชาวิทยาการเภสัชกรรมและเภสัชอุตสาหกรรม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ ภายใต้การสนับสนุนของ ชมรมจุฬาฯ สปินออฟ (Club Chula Spin-off)
นวัตกรรมการจัดการห่วงโซ่คุณค่าโกโก้ในระบบนิเวศโกโก้ใช้รูปแบบการดำเนินธุรกิจแบบ CSA (Community Support Agriculture) ซึ่งเป็นระบบตลาดสมาชิกแบบมีส่วนร่วมที่ผู้บริโภคสามารถสื่อสารความต้องการเชิงคุณภาพและปริมาณกับผู้ผลิตได้โดยตรงบนกลไกตลาดล่วงหน้าภายใต้กลไกราคาที่เป็นธรรม โดยการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตลอดห่วงโซ่คุณค่าโกโก้ที่มีพันธกิจในการพัฒนานวัตกรรมการจัดระดับคุณภาพโกโก้ผลสดและเมล็ดโกโก้ การบริการตรวจคุณภาพ การเชื่อมโยงตลาดที่เหมาะสมให้กับผลผลิตโกโก้และผลิตภัณฑ์จากโกโก้ รวมทั้งให้บริการข้อมูลและองค์ความรู้ด้านโกโก้แก่เกษตรกร ผู้ประกอบการและผู้ที่สนใจตลอดห่วงโซ่คุณค่าโกโก้
การจัดการห่วงโซ่คุณค่าโกโก้ในระบบนิเวศโกโก้ ได้รับรางวัลเหรียญทอง จาก ITEX2024 ซึ่งผลงานดังกล่าวศึกษาวิจัยโดย ผศ.ดร.ธัญศิภรณ์ ณ น่าน จาก สำนักวิชาทรัพยากรการเกษตร จุฬาฯ ภายใต้การสนับสนุนของ ศูนย์กลางนวัตกรรมทางสังคมแห่งจุฬาฯ (CU Social Innovation Hub)
นวัตกรรมเส้นโปรตีนไข่ขาว 100% ที่ใช้เทคโนโลยีการเปลี่ยนแปลงโปรตีนไข่ขาว ทำให้ไข่ขาวต้มที่เคยแข็งกระด้างและเปราะหักง่ายกลายเป็นเส้นก๋วยเตี๋ยวที่มีเนื้อสัมผัสนุ่มเด้ง มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ทำให้แตกต่างจากไข่ขาวต้มทั่วไป พลังงานต่ำ อีกทั้งยังไม่มีส่วนผสมของแป้งและกลูเตน สามารถฉีกซองแล้วทานได้ทันที สร้างประสบการณ์แปลกใหม่ที่ไม่เหมือนใครในโลกของนวัตกรรมอาหาร
เส้นโปรตีนไข่ขาว ไร้แป้ง พร้อมทาน ได้รับรางวัลเหรียญทอง จาก ITEX2024 ซึ่งผลงานดังกล่าวโดย ผศ.ดร.สถาพร งามอุโฆษ จาก ภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ ภายใต้การสนับสนุนของ ศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาฯ (CU Innovation Hub)
งาน International Innovation & Technology Exhibition (ITEX) คือ งานนิทรรศการที่จัดขึ้นโดยความร่วมมือของ Malaysian Invention and Design Society (MINDS) และ C.I.S. ภายในงานมีการจัดแสดงผลงานนวัตกรรม เทคโนโลยี และผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายจากนานาชาติ อีกทั้งยังมีการจัดประกวดแนวคิดและสิ่งประดิษฐ์ โดยมีคณะกรรมการผู้มีประสบการณ์จากแวดวงวิชาการและหน่วยงานเอกชนที่มาจากหลากหลายอุตสาหกรรม ซึ่งปีนี้ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นผู้คัดเลือกผลงานนวัตกรรมระดับอุดมศึกษา จำนวนทั้งสิ้น 54 ผลงาน เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการประกวดในเวทีดังกล่าว
อาจารย์และนิสิตสถาปัตย์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษา Tokyo Metropolitan University ที่ญี่ปุ่น
อาจารย์และนิสิตภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วม Workshop กับอาจารย์และนักศึกษาจาก Faculty of Urban Environmental Sciences, Tokyo Metropolitan University ประเทศญี่ปุ่น (TMU)
จุฬาฯ ร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายสักการะและจัดพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเนื่องใน “วันนวมินทรมหาราช”
ละครนิเทศจุฬาฯ 2567 “ด้ายแดงเป็นเหตุ Unfortunate Love”
24 - 26 มกราคม 2568
ณ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ ชั้น 7 อาคารสยามสแควร์
จุฬาฯ ต้อนรับคณะศึกษาดูงานด้านการบริหารความเสี่ยงจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แบ่งปันประสบการณ์การพัฒนาระบบบริหารความเสี่ยงของมหาวิทยาลัย
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมเรื่อง “กัญชาทางการแพทย์: ความรู้ที่ต้องมีสำหรับเภสัชกรยุคใหม่”
11 ธ.ค. 67 เวลา 09.00 – 12.15 น.
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ และ Zoom
คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดอบรมโครงการ “Next-Gen Arts: พัฒนาศักยภาพครูศิลปะด้วย Soft Power”
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้