รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
15 กุมภาพันธ์ 2568
CU News in Pictures, ข่าวเด่น, ภาพข่าว
การแข่งขันฟุตบอลประเพณีระหว่างสองสถาบันการศึกษา “จุฬาฯ และธรรมศาสตร์” กลับมาจัดการแข่งขันอย่างยิ่งใหญ่อีกครั้งในรอบ 5 ปีเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 กับการแข่งขันฟุตบอลธรรมศาสตร์-จุฬาฯ ครั้งที่ 75 เมื่อวันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2568 ณ สนามศุภชลาศัย โดยในปีนี้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นเจ้าภาพ โดยมีนายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี ผู้แทนพระองค์ เป็นประธานการแข่งขัน นายวัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ ประธานคณะกรรมการดำเนินงานจัดการแข่งขันฯ เป็นผู้กล่าวรายงาน นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ นายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ เชิญถ้วยรางวัลพระราชทานมอบแก่ผู้แทนพระองค์
การแข่งขันฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์ – จุฬาฯ จัดขึ้นเพื่อเชื่อมความรักความสามัคคี และมิตรไมตรีระหว่างนิสิตนักศึกษา และศิษย์เก่าของทั้งสองสถาบัน รวมทั้งเป็นกิจกรรมที่แสดงออกอย่างสร้างสรรค์ ภายใต้แนวคิด “Dawn of Memory ความทรงจำในวันใหม่” เพื่อขับเคลื่อนให้ทุกคนก้าวต่อไปในอนาคตได้อย่างมั่นคงและเข้มแข็ง
งานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬาฯ ครั้งที่ 75 เป็นการรวมพลังครั้งยิ่งใหญ่ของนิสิตจุฬาฯ และนักศึกษาธรรมศาสตร์ที่ร่วมกันจัดงานอย่างสร้างสรรค์ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นไฮไลต์ของงาน ได้แก่ การแปรอักษรบนอัฒจันทร์ที่งดงามและพร้อมเพรียง ตื่นตาตื่นใจกับขบวนพาเหรดชุดต่าง ๆ ทั้งขบวนเฉลิมพระเกียรติ ขบวนผู้อัญเชิญพระเกี้ยว ขบวนผู้อัญเชิญธรรมจักร ขบวนล้อการเมืองและขบวนสะท้อนสังคม รวมถึงผู้นำเชียร์และจุฬาฯ คทากร ซึ่งสร้างสีสันความประทับใจให้กับงานครั้งนี้
ความยิ่งใหญ่งดงามตระการตาของงานฟุตบอลประเพณีในปีนี้เกิดขึ้นจากการเตรียมความพร้อมในการจัดงานฟุตบอลประเพณี โดยมีการประชุมเตรียมการจัดงานทั้งภายในมหาวิทยาลัยและการประสานงานกันระหว่างทั้งสองมหาวิทยาลัย เพื่อให้งานฟุตบอลประเพณีในปีนี้ยิ่งใหญ่และประทับใจสมการรอคอย โดยสมาคมธรรมศาสตร์ ในฐานะเจ้าภาพฟุตบอลประเพณีปีนี้ร่วมกับสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ ได้จัดงานแถลงข่าวการแข่งขันฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์ – จุฬาฯ ครั้งที่ 75 เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2568 ณ ห้องยูงทอง 1 ชั้น 2 สมาคมธรรมศาสตร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในส่วนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เตรียมความพร้อมอย่างเต็มที่ด้วยการรวมพลังนิสิตจุฬาฯ มากกว่า 1,000 คนในการเชียร์และแปรอักษรบนอัฒจันทร์ (รายละเอียดเพิ่มเติม https://www.chula.ac.th/news/215781/)
นอกจากนี้สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) และองค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาฯ (อบจ.) ได้จัดกิจกรรม “CHULA BAKA BEGINS” เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 ณ สยามสแควร์ Block K และ สยามสแควร์ Walking Street เพื่อประกาศความพร้อมการจัดงานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬาฯ ครั้งที่ 75 รวมทั้งสร้างความตื่นตัวและปลุกจิตวิญญาณแห่งการแข่งขันฟุตบอลประเพณี และประชาสัมพันธ์การกลับมาอย่างยิ่งใหญ่ของการแข่งขันฟุตบอลประเพณีอันเก่าแก่ระหว่างสองสถาบันซึ่งห่างหายไปนานกว่า 5 ปี (รายละเอียดเพิ่มเติม https://www.chula.ac.th/news/216855/)
บรรยากาศของงานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์ – จุฬาฯ ครั้งที่ 75 เป็นไปอย่างคึกคัก พรั่งพร้อมด้วยนิสิตนักศึกษาจากทั้งสองสถาบัน ผู้บริหารมหาวิทยาลัยและศิษย์เก่าจำนวนมากที่มาร่วมงานจนเต็มอัฒจันทร์ ทั้งฝั่งอัฒจันทร์ของพี่เก่าทั้งสองสถาบัน รวมทั้งสแตนด์เชียร์ของนิสิตจุฬาฯ และนักศึกษาธรรมศาสตร์ซึ่งมีนิสิตนักศึกษาขึ้นสแตนด์เชียร์และแปรอักษรจนเต็มพื้นที่อัฒจันทร์ เป็นภาพที่งดงามและตื่นตาตื่นใจเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ยังมีการถ่ายทอดสดให้ผู้ชมทั่วประเทศได้รับชมทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 MCOT HD อีกด้วย โดย น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในฐานะนิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ได้มาร่วมงานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์ – จุฬาฯ ครั้งนี้ด้วย
นิสิตนักศึกษาทั้งสองสถาบันร่วมใจกันจัดงานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์ – จุฬาฯ ครั้งนี้อย่างยิ่งใหญ่สมศักดิ์ศรี โดยในปีนี้นิสิตจุฬาฯ ได้ขึ้นสแตนด์เชียร์บนอัฒจันทร์ฝั่งจุฬาฯ จนเต็มก่อนอัฒจันทร์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นภาพที่สวยงาม และน่าชื่นชมอย่างยิ่ง นอกจากนี้ ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้สร้างปรากฏการณ์ใหม่ในการแข่งขันครั้งนี้ ด้วยการเป็นอธิการบดีท่านแรกที่มาร่วมเปิดสแตนด์เชียร์ของจุฬาฯ ด้วยตัวเองอย่างเป็นทางการ
การปรากฏตัวของอธิการบดีจุฬาฯ ไม่เพียงแค่เป็นการให้กำลังใจนิสิตเท่านั้น แต่ยังสะท้อนถึงแนวทางการบริหารที่ให้ “นิสิตเป็นศูนย์กลาง” อย่างแท้จริง อธิการบดีไม่ได้อยู่ห่างไกลในห้องประชุม แต่เลือกมาอยู่ท่ามกลางพวกเขา รับฟัง สัมผัสบรรยากาศ และร่วมเป็นส่วนหนึ่งของพลังแห่งจุฬาฯ อย่างใกล้ชิด
ภาพของ ศ.ดร.วิเลิศ บนสแตนด์เชียร์ ไม่เพียงแต่สร้างขวัญกำลังใจให้กับนิสิต ทีมงาน และผู้นำเชียร์ที่ทุ่มเทฝึกซ้อมมาหลายเดือน แต่ยังเป็นสัญลักษณ์ของจุฬาฯ ยุคใหม่ – มหาวิทยาลัยที่เปิดกว้าง รับฟัง และให้ความสำคัญกับเสียงของนิสิตอย่างแท้จริง
นายลวรณ แสงสนิท ประธานกรรมการดำเนินงานการแข่งขันฟุตบอลประเพณี ธรรมศาสตร์ – จุฬา ครั้งที่ 75 ฝั่งจุฬาฯ เปิดเผยว่า “การแข่งขันฟุตบอลประเพณีในปีนี้มีนิสิตเก่าและนิสิตปัจจุบันมาร่วมงานเป็นจำนวนมาก ภาพรวมของงานเป็นไปตามความมุ่งหมาย การแข่งขันฟุตบอลประเพณีเน้นความรักและความสามัคคีระหว่างสองสถาบัน การแปรอักษร ขบวนพาเหรด และการแข่งขันฟุตบอลเป็นเสน่ห์ของฟุตบอลประเพณี ด้วยความร่วมมือร่วมใจของพี่ ๆ น้อง ๆ ชาวจุฬาฯและธรรมศาสตร์ รู้สึกภาคภูมิใจมาก”
นายวัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ ประธานคณะกรรมการดำเนินงานฯ ฝ่ายมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า “การแข่งขันฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬาฯ เป็นเวทีที่เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างสองสถาบันมาอย่างยาวนานกว่า 90 ปี แม้ว่าจะมีบางช่วงที่เว้นว่างไป แต่ก็สามารถกลับมาจัดงานได้อย่างยิ่งใหญ่ แนวคิด “Dawn of Memory ความทรงจำในวันใหม่” ตอกย้ำความสำคัญของงานนี้ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สร้างความทรงจำอันมีค่า และพลังของคนรุ่นใหม่ที่พร้อมจะสร้างสรรค์อนาคต”
การแข่งขันฟุตบอลประเพณีในปีนี้เป็นไปอย่างสนุกสนานและตื่นเต้น ผลการแข่งขันมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ชนะจุฬาฯ ไป 2-1
ฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์ – จุฬาฯ ครั้งที่ 75 กิจกรรมที่สื่อถึงมิตรภาพ ความรัก และพลังแห่งความสามัคคีของนิสิตนักศึกษาสองสถาบัน เป็นความภาคภูมิใจของชาวจุฬาฯ และธรรมศาสตร์ที่ได้ร่วมกันบันทึกประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของการแข่งขันฟุตบอลประเพณีที่เก่าแก่ระหว่างสองสถาบันให้ทุกคนจดจำด้วยความประทับใจตลอดไป กิจกรรมในครั้งนี้ไม่ได้เป็นเพียงการแข่งขันฟุตบอลระหว่างทั้งสองมหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่ยังเป็นพื้นที่ที่เปิดโอกาสให้นิสิตและนักศึกษาจากทั้งสองสถาบันได้แสดงศักยภาพของตนเองผ่านการทำงานร่วมกัน ได้ฝึกฝนความคิดสร้างสรรค์ เสริมสร้างความสามัคคี และสรรสร้างมิตรภาพอันดีระหว่างกัน งานในครั้งนี้ยังเป็นโอกาสสำคัญสำหรับศิษย์เก่าของทั้งสองสถาบันที่จะได้กลับมาพบปะกันในบรรยากาศอันคุ้นเคยของงานฟุตบอลประเพณีฯ พร้อมย้อนภาพความทรงจำของกิจกรรมนี้ในอดีตที่เต็มไปด้วยความทรงจำอันงดงาม ซึ่งทั้งสองสถาบันจะสืบสานกิจกรรมการแข่งขันฟุตบอลประเพณีให้คงอยู่สืบไป
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ แถลงข่าวความสำเร็จ “วัคซีนไอกรน (รุ่นใหม่)” นวัตกรรมเพื่อคนไทยและตลาดโลก
นักกีฬาบุคลากรจุฬาฯ ร่วมการแข่งขัน “ตุมปังเกมส์ 2025” ร่วมพิธีสักการะพระบรมสาทิสลักษณ์รัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6
งานแถลงข่าว “จุฬาฯ-การบินไทย: ความรู้คู่ฟ้า Chula-TG: Be the Star in the Sky of Knowledge”
1 พ.ค. 65 เวลา 14.00 16.00 น.
เรือนจุฬานฤมิต
ศูนย์หนังสือ จุฬาฯ จัดเสวนา “SPEED RUN 2025 : จาก 0 สู่ 100 ล้าน โตเร็วกว่าใครในโลกออนไลน์”
2 พ.ค. 68 เวลา 15.30 -17.00 น.
ศูนย์หนังสือจุฬาฯ สยามสแควร์
เสวนา “eDNA กับความยั่งยืนของทรัพยากรทางน้ำของประเทศไทย” ภายใต้วิสัยทัศน์ยุทธศาสตร์บูรณาการ 9 สถาบันวิจัยหลักแห่งจุฬาฯ
เชิญร่วมการสัมมนาเรื่อง “ฐานข้อมูลด้านแรงงาน: ที่มีอยู่ การนำไปใช้ และแนวทางต่อไป”
2 พ.ค. 68
Zoom Meeting
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ มีลักษณะของความเป็นพี่น้อง ความอบอุ่น เป็นสังคมที่อยากอนุรักษ์ไว้
ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้