รู้จักจุฬาฯ
การบริหาร
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
Green University
Sustainability
ติดต่อจุฬาฯ
บริจาคให้จุฬาฯ
หลักสูตร
การสมัครเข้าศึกษา
หน่วยงานการศึกษา
บริการนิสิต
บริการวิชาการ
บริการทางการแพทย์
บริการตรวจวิเคราะห์คุณภาพ
สารสนเทศและการสื่อสาร
พื้นที่สร้างสรรค์
ข่าวสารและความเคลื่อนไหว
วารสารจุฬาฯ
สาระความรู้
ข่าวสารจุฬาฯ
26 มีนาคม 2568
ข่าวเด่น
วันพุธที่ 26 มีนาคม 2568 เวลา 07.00 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทรงร่วมงานวันครบ 9 รอบ (108 ปี) แห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เมื่อเสด็จฯ มาถึง ทรงวางพุ่มดอกไม้และทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยถวายราชสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า จากนั้นเสด็จฯ ทรงบาตรพระสงฆ์จำนวน 10 รูป ร่วมกับผู้บริหารมหาวิทยาลัย คณาจารย์ บุคลากร นิสิตเก่า นิสิตปัจจุบัน ณ บริเวณเสาธง หน้าหอประชุมจุฬาฯ
ในการนี้ คณาจารย์ บุคลากร นิสิต และนิสิตเก่าจุฬาฯ ทูลเกล้า ฯ ถวายสิ่งของ คุณศุภชัย ชุติกุศล ประธานชมรมนิสิตเก่าจุฬาฯ 18 กราบบังคมทูลรายงาน จากนั้นสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงปลูกต้นจามจุรีจำนวน 1 ต้น และทรงฉายพระฉายาลักษณ์ร่วมกับชมรมนิสิตเก่าจุฬาฯ 18
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จฯ ไปยังหน้ามุขหอประชุมจุฬาฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายกสภามหาวิทยาลัย ผู้บริหารมหาวิทยาลัย ผู้แทนคณาจารย์ บุคลากร นิสิตเก่าและนิสิตปัจจุบันเข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคลเนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 70 พรรษา ศ. (พิเศษ) ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยถวายดอกไม้ธูปเทียนแพและกราบบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 70 พรรษา ในนามสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ ถวายดอกไม้ธูปเทียนแพ และกราบบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 70 พรรษา ในนามจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงมีพระราชดำรัส ประชาคมจุฬา ฯ ร่วมขับร้องเพลงมหาจุฬาลงกรณ์
จากนั้นสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จฯ ไปยังห้องรับรอง หอประชุมจุฬาฯ ศ. (พิเศษ) ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกราบบังคมทูลประกาศราชสดุดีในฐานะที่ทรงเป็นศิษย์เก่าเกียรติภูมิดีเด่นและทูลเกล้า ฯ ถวาย “เข็มพระเกี้ยวเพชรชมพู” เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ ทูลเกล้า ฯ ถวายโล่ “ศิษย์เก่าเกียรติภูมิดีเด่น” ในฐานะที่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจ อุทิศพระองค์เพื่อจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยต่อเนื่องยาวนาน ในการนี้ รศ.ดร.ศิริเดช สุชีวะ รองอธิการบดี นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ นายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬา ฯ นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ ประธานคณะกรรมการดำเนินงานคืนเหย้าชาวจุฬาฯ 2568 รศ.ดร.ศิริธันว์ เจียมศิริเลิศ นายกสมาคมสโมสรอาจารย์จุฬาฯ ศ.พญ.ดวงพร วีระวัฒกานนท์ ประธานสหกรณ์ออมทรัพย์จุฬา ฯ ผศ.พราวพรรณ เหลืองสุวรรณ ประธานชมรมจุฬาพฤทธาจารย์ นางสาวกรกช ศิริรัตน์ ผู้จัดการทั่วไป และนางสาวภัทรนันท์ จงจิตรกาญจน์ รองผู้จัดการฝ่ายบัญชี บริษัทจำลองจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2567 ทูลเกล้า ฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย จากนั้นผู้มีอุปการคุณต่อมหาวิทยาลัยเข้ารับพระราชทานของที่ระลึก
เวลา 09.30 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จฯ ไปยังหอประชุมจุฬาฯ ทอดพระเนตรการแสดงวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ เนื่องในโอกาสฉลอง 108 ปีแห่งการสถาปนาจุฬาฯ ประกอบด้วย เพลงโหมโรงมหาจุฬาลงกรณ์ โดยวงมหาดุริยางค์ไทยเยาวชนแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การอ่านทำนองเสนาะและการบรรเลงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ การจับระบำถวายพระพร เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเจริญพระชนมพรรษา 70 พรรษา และการขับร้องและบรรเลงดนตรีไทย ชุด “ค้างคาว” บทพระราชนิพนธ์และการแสดงพระราชทานในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โดยวงสายใยจามจุรี และวงดนตรีสากล สโมสรนิสิตจุฬาฯ และการแสดงประกอบโดยคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ในโอกาสนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงซอด้วงร่วมกับวงสายใยจามจุรี และวงดนตรีสากลสโมสรนิสิตจุฬาฯ
หลังจากจบการแสดงดนตรีปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงฉายพระฉายาลักษณ์ร่วมกับผู้บริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ ห้องกระจก หอประชุมจุฬาฯ จากนั้นเสด็จ ฯ ไปยังโถงอาคารมหาจุฬาลงกรณ์ ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาฯ กราบบังคมทูลรายงานการบูรณะอาคารมหาจุฬาลงกรณ์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงกดปุ่มไฟฟ้าเปิดแพรคลุมพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงวางพวงมาลัยถวายราชสักการะพระบรมฉายาลักษณ์
“อาคารมหาจุฬาลงกรณ์” เป็นอาคารสำคัญหลังแรกที่อยู่คู่มหาวิทยาลัย นับตั้งแต่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยประดิษฐานเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2459 ได้รับการบูรณะซ่อมแซมหลายครั้งให้เหมาะสมกับการใช้งานในแต่ละสมัย ในปี 2566 มหาวิทยาลัยได้บูรณะอาคารหลังนี้ และได้อัญเชิญพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปประดิษฐานยังสถานที่อื่น เมื่อการบูรณะอาคารเสร็จสมบูรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเปิดแพรคลุมพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมหาวิทยาลัยได้อัญเชิญกลับมาประดิษฐาน ณ โถงอาคารมหาจุฬาลงกรณ์ เพื่อเป็นสิริมงคลและสง่าราศีแห่งอาคารมหาจุฬาลงกรณ์และมหาวิทยาลัยสืบไป
เวลา 12.38 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จฯ ไปยังเรือนไทยอรุณโรจนา นายพิทักษ์ ลาภปรารถนา ประธานคณะกรรมการจัดงาน “50 ปีน้องใหม่ จุฬาฯ 2516” กราบบังคมทูลรายงาน ในการนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีทรงกดปุ่มไฟฟ้าเปิดแพรคลุมป้าย “เรือนไทยอรุณโรจนา” ผศ.สรายุทธ ทรัพย์สุข คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ทูลเกล้าฯ ถวายหนังสือที่ระลึก นายพิทักษ์ ลาภปรารถนา ผู้แทนน้องใหม่ จุฬาฯ 2516 ทูลเกล้าฯ ถวายบัตรถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 70 พรรษา
นิสิตใหม่จุฬาฯ รุ่นเข้าศึกษาปีการศึกษา 2516 ได้ร่วมกันทำโครงการบ้านทรงไทย “อรุณโรจนา” โดยได้รับพระราชทานชื่อจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาส “50 ปี น้องใหม่ จุฬาฯ 2516” เพื่อตอบแทนพระคุณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำหรับใช้เป็นศูนย์เรียนรู้ด้านสถาปัตยกรรมไทย และใช้ประโยชน์ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของนิสิตปัจจุบัน นิสิตเก่า บุคลากรของจุฬาฯ และประชาชนทั่วไป
บริษัทจำลองจุฬาฯ 2025 เปิดโครงการฝึกงานนิสิตภาคฤดูร้อน ภายใต้ปณิธาน “ทำงานด้วยใจ คืนกำไรสู่สังคม”
ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาฯ ได้รับการรับรองให้เป็นผู้แทนประเทศไทยในสถาบันมาตรฐานและมาตรวิทยาแห่งประเทศอิสลาม
นักวิจัยจุฬาฯ ร่วมคณะสำรวจแอนตาร์กติกบนเรือตัดน้ำแข็ง “เสว่ยหลง 2” จากจีน ตามรอยไมโครพลาสติก ถอดรหัสผลกระทบโลกร้อน สู่จิ๊กซอว์ความรู้เพื่อโลก
ผู้บริหารจุฬาฯ ต้อนรับอธิการบดี Tohoku University ประเทศญี่ปุ่น หารือความร่วมมือทางวิชาการ
จุฬาฯ เชิญร่วมงาน President’s Distinguished Speaker ครั้งที่ 4 “From Turbulence to Triumph: การบินไทย จากฟื้นฟูสู่พุ่งทะยาน”
29 พฤษภาคม 2568 เวลา 13.00-16.00 น.
Facebook Live
ผู้แทนจาก Ohio University สหรัฐอเมริกาหารือการขยายความร่วมมือกับจุฬาฯ
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาฯ สนับสนุนให้อาจารย์ทำงานวิจัย นับว่าเป็นสิ่งที่ดีมากต่อทั้งอาจารย์ นิสิต รวมถึงภาคประชาสังคม
รองศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับท่าน และเพื่อพัฒนาคุณภาพการให้บริการเว็บไซต์ที่ตรงต่อความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น ท่านสามารถทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุกกี้ได้ที่ นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
ท่านสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ประเภทของคุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้ท่านสามารถใช้เว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ ท่านไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน โดยมีจุดประสงค์คือนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้มีคุณภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราอาจไม่สามารถวัดผลเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดคุกกี้